ผลของวิธีการกระตุ้นให้ทบทวนบทเรียนต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในหัวข้อรีโอโลยี ของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต (EFFECT OF ENCOURAGEMENT METHODS FOR LESSON REVIEW ON LEARNING ACHIEVEMENT IN TOPIC OF RHEOLOGY OF PHARMACY STUDENT AT RANGSIT UNIVERSITY)

Authors

  • รัฐพล อาษาสุจริต Srinakharinwirot University.
  • กุสาวดี เมลืองนนท์ Rangsit University.

Abstract

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในหัวข้อรีโอโลยีของนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ได้รับวิธีกระตุ้นการทบทวนบทเรียนที่แตกต่างกัน 3) เพื่อทราบถึงเจตคติต่อการเรียนในหัวข้อรีโอโลยีของนักศึกษาที่ได้รับวิธีกระตุ้นการทบทวนบทเรียนที่แตกต่างกัน โดยในการศึกษาครั้งนี้ มีประชากรเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม 2 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 209 คน ซึ่งประชากรได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ประกอบไปด้วย กลุ่มศึกษา 1 ได้รับการกระตุ้นการทบทวนบทเรียนด้วยการทำแบบทดสอบย่อยหลังเรียน และกลุ่มศึกษา 2 ได้รับการกระตุ้นการทบทวนบทเรียนด้วยการทำสรุปเนื้อหาบทเรียน และถูกสุ่มให้ออกมารายงานปากเปล่าหน้าชั้นเรียน จากผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ไม่ใช่ปัจจัยด้านสติปัญญาได้แก่ เพศ ปีการศึกษาที่เข้าเรียนในคณะเภสัชศาสตร์ ความตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียน การเข้าเรียนจนครบเนื้อหา การเตรียมตัวของนักศึกษาก่อนเข้าเรียน และพื้นความรู้เดิมของนักศึกษา 2) นักศึกษาที่ได้รับการกระตุ้นการทบทวนบทเรียนด้วยการทำสรุปเนื้อหาบทเรียน และถูกสุ่มให้ออกมารายงานปากเปล่าหน้าชั้นเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักศึกษาที่ได้รับการกระตุ้นการทบทวนบทเรียน ด้วยการทำแบบทดสอบย่อยหลังเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) นักศึกษาที่ได้รับการกระตุ้นการทบทวนบทเรียนด้วยวิธีการที่แตกต่างกันทั้ง 2 กลุ่ม มีเจตคติต่อการเรียนในหัวข้อรีโอโลยีไม่แตกต่างกันทางสถิติคำสำคัญ: การทบทวนบทเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักศึกษาเภสัชศาสตร์The aims of this study were 1) to study the factors influencing learning achievement in the topic of rheology of pharmacy students at Rangsit University, 2) to compare the learning achievement of students who had been encouraged to review the lesson previously learned by using different methods, i.e. Method 1: giving a quiz after the class and Method 2: assigning the students to summarize the lessons previously learned and selecting them randomly for the oral presentation, 3) to study the attitude of students towards the rheology class. The sample group of this study was 209 pharmacy students of Rangsit University who registered in Pharmaceutical Technology 2 in the second semester of the academic year 2007. These students were divided into two groups for the two different encouragement methods to review the lessons following their study group. They were then estimated their learning achievement by using a learning achievement test in the topic of rheology and their attitude to rheology class by using a questionnaire. It was found that the non-intelligent factors influencing the learning achievement in rheology topic were 1) gender, 2) the year of admission for being a pharmacy student, 3) punctual behavior of students for class attendance, 4) completion of class attention, 5) self-preparation before the lessons, and 6) grades obtained from taking fundamental classes of the topic of rheology. Moreover, the students who had been encouraged to review the lessons by method 2 got significantly higher scores in the learning achievement test than that of the students who had been encouraged to review the lessons by method 1. The attitude towards the rheology class test showed that there was insignificant difference between the students who had been encouraged by the two different methods.Keywords: Lesson review, Learning achievement, Pharmacy students 

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

รัฐพล อาษาสุจริต, Srinakharinwirot University.

สาขาวิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

กุสาวดี เมลืองนนท์, Rangsit University.

กลุ่มวิชาบริหารเภสัชกิจ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

Downloads

Published

2012-09-30

How to Cite

อาษาสุจริต ร., & เมลืองนนท์ ก. (2012). ผลของวิธีการกระตุ้นให้ทบทวนบทเรียนต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในหัวข้อรีโอโลยี ของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต (EFFECT OF ENCOURAGEMENT METHODS FOR LESSON REVIEW ON LEARNING ACHIEVEMENT IN TOPIC OF RHEOLOGY OF PHARMACY STUDENT AT RANGSIT UNIVERSITY). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(supplement 1, January), 157–166. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/2697