แนวทางการพัฒนามัคคุเทศก์เพื่อรองรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (GUIDELINES FOR TOUR GUIDE DEVELOPMENT FOR TOURISM INDUSTRY)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว และบุคลากรภาครัฐ ที่มีต่อบุคลากรสาขาอาชีพมัคคุเทศก์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และเพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาบุคลากรสาขาอาชีพมัคคุเทศก์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยงเที่ยว กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรภาครัฐ ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว และนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศในเขตกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) โดยเขียนสรุปในลักษณะบรรยายความ ส่วนข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามผู้วิจัยได้นำมาวิเคราะห์ และนำเสนอผลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศมีความคิดเห็นว่าการพัฒนาอาชีพมัคคุเทศก์อยู่ในระดับควรพัฒนามาก โดยควรพัฒนาในด้านทัศนคติมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (X = 4.16) รองลงมา คือ ด้านบุคลิกภาพ (X = 4.15) ด้านทักษะ (X = 4.09) และด้านความรู้ (X = 4.06) ตามลำดับ ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวมีความคิดเห็นว่าการพัฒนามัคคุเทศก์อยู่ในระดับควรพัฒนามาก โดยด้านบุคลิกภาพมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (X = 4.15) รองลงมา คือ ด้านทัศนคติ(X = 4.32) ด้านความรู้ (X = 4.21) และด้านทักษะ (X = 4.14) ตามลำดับ ส่วนบุคลากรภาครัฐมีความเห็นว่าควรพัฒนาภาษาของมัคคุเทศก์และบุคลากรในส่วนอื่นๆ ควรเพิ่มประสบการณ์ในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น และส่งเสริมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมโดยเฉพาะเรื่องการเอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยว ข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนามัคคุเทศก์ควรเน้นนโยบาย “4 ด” ประกอบด้วย 1) ด้านทักษะ ควรมีทักษะการสื่อสารที่ดีโดยสามารถสื่อสารได้หลายภาษา สามารถพูดภาษาท้องถิ่นได้ การดูแลคณะทัวร์จะต้องให้ความเอาใจใส่นักท่องเที่ยวชาวไทยโดยไม่ให้แตกต่างจากนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศสามารถสร้างความสนุกสนานให้เกิดแก่หมู่คณะสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและสามารถเข้าใจความแตกต่างของนักท่องเที่ยวแต่ละชนชาติ 2) ด้านความรู้มัคคุเทศก์ ควรเป็นผู้ที่จบสาขามัคคุเทศก์โดยตรง มีความรู้เกี่ยวกับวัฒธรรมและประวัติศาสตร์ ระเบียบ ขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่สถานที่ มีความรู้รอบตัว และควรพัฒนาความรู้ให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา โดยจะต้องสามารถให้ข้อมูลที่ง่ายแก่การเข้าใจแก่นักท่องเที่ยว และควรมีความรู้ด้านปฐมพยาบาลเบื้องต้นในกรณีฉุกเฉิน 3) ด้านทัศนคติ ควรมองโลกในแง่ดี ยิ้มแย้ม แจ่มใส มีใจรักงานบริการ หวงแหนสมบัติของชาติ ภาคภูมิใจและซื่อสัตย์ในวิชาชีพ 4) ด้านบุคลิกภาพ จะต้องจริงใจต่อบริษัทธุรกิจนำเที่ยวและนักท่องเที่ยว รักษาความสะอาด มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับทุกๆ คน มีความน่ารักแบบไทยๆ โดยนอบน้อมถ่อมตน มีสัมมาคารวะ สุภาพ เรียบร้อย และแต่งกายอย่างสุภาพคำสำคัญ: มัคคุเทศก์ การท่องเที่ยวThe objectives of this research were to study the views of foreign tourists, tourism business owners and government officers, about the guides in tourism business; and to provide suggestions in developing the human resources, especially the guides, in tourism industry. The samples in this research were 5 government officers, 30 tourism business owners, and 400 foreign tourists in Bangkok. The tools measuring instruments to survey and data analysis in this study were interviews and questionnaires. The result of this research revealed that from the foreign tourists’ view, guides should definitely be improved; specially, their attitudes (X = 4.16), following by their personalities (X = 4.15), skills (X = 4.09), and knowledge (X = 4.06), respectively. The tourism business owners’ opinions were that guides should definitely be improved; and the most important thing that should be improved was the guides’ personalities (X = 4.51), following by their attitudes (X = 4.32), knowledge (X = 4.21), and skills (X = 4.14), respectively. The government officers suggested that currently, many tourism graduates work in other industries, which are unrelated with the tourism industry; and they also commented that guides and people in this tourism business should improve their foreign languages, increase their experience and their morality, especially the tourist exploitation. The guidelines for tourist guide development are “SKAP” which consist of 4 components. 1) Skill: Guides should have good communication skills. They should be able to speak at least 2 languages including local language, and have no bias in taking care of Thai and foreign tourists. Good guides can entertain tourists, solve problems, have many and understand the cultural differences of people from various nationalities. 2) Knowledge: Guides should graduate in tourism science and have knowledge in culture, history tradition and common practice in the areas. They should provide understandable information to foreign tourists and also be capable to do first aid in case of emergency. 3) Attitude: Guides should be optimistic, have provide good services and be proud of their nationality and profession and 4) Personality: They should be sincere to the tourism business owners and tourists, keep the area clean, be nice to everyone, be polite in Thai style, and dress properly.Keywords: Tour guide, TourismDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2012-09-29
How to Cite
อรรถสาสน์ ช., เลิศธีรดา ส., & พู่พิทยาสถาพร ก. (2012). แนวทางการพัฒนามัคคุเทศก์เพื่อรองรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (GUIDELINES FOR TOUR GUIDE DEVELOPMENT FOR TOURISM INDUSTRY). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(supplement 1, January), 52–63. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/2687
Issue
Section
บทความวิจัย