ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งออกในอุตสาหกรรมรถยนต์และการพยากรณ์ (DETERMINANTS OF EXPORT FOR AMTOMOTIVE INDUSTRY AND FORCASTING)
Abstract
การวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อการส่งออกในอุตสาหกรรมรถยนต์และการพยากรณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างตลาดของอุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศไทย ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการส่งออกในอุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศไทย และการพยากรณ์แนวโน้มการส่งออกในอุตสาหกรรมรถยนต์ในช่วงปี พ.ศ. 2553 ถึง พ.ศ. 2557 ทำการศึกษาตลาดต่างประเทศ 5 ตลาด ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ญี่ปุ่น และซาอุดิอาระเบีย และนำมาวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยวิธีการถดถอยเชิงซ้อน พร้อมทั้งพยากรณ์แนวโน้มการส่งออกในอีก 5 ปีผลการศึกษาโครงสร้างตลาดอุตสาหกรรมรถยนต์พบว่า อุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศมีสัดส่วนการใช้วัตถุดิบในประเทศมากกว่าการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ ด้านการจำหน่ายอุตสาหกรรมรถยนต์มีสัดส่วนการจำหน่ายในประเทศมากกว่าในต่างประเทศ ด้านการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปพบว่า ประเทศไทยมีการส่งออก รถกระบะมากที่สุด รองลงมาคือ รถยนต์นั่ง ด้านการส่งออกส่วนประกอบยานยนต์ ประเทศไทยมีการส่งออก OEM Part (Original Equipment Manufacture Part) มากที่สุด รองลงมาคือ Space Part ประเทศที่ประเทศไทยมีการส่งออกสูงที่สุด ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย รองลงมาคือ ประเทศอินโดนีเซียจากการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อมูลค่าการส่งออกรถยนต์และส่วนประกอบไปประเทศออสเตรเลีย คือ ราคาน้ำมันดิบ อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงินดอลล่าร์สหรัฐ ปริมาณการผลิตรถยนต์ และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (อุตสาหกรรมรถยนต์และส่วนประกอบ) สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อมูลค่าการส่งออกรถยนต์และส่วนประกอบไปประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซียคือ ราคาน้ำมันดิบเพียงปัจจัยเดียว ส่วนประเทศซาอุดิอาระเบียปัจจัยที่มีผลต่อมูลค่าการส่งออกบคือ ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้นต่อคนของประเทศซาอุดิอาระเบีย ปริมาณการผลิตรถยนต์ และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (อุตสาหกรรมรถยนต์และส่วนประกอบ) และปัจจัยที่มีผลต่อมูลค่าการส่งออกรถยนต์และส่วนประกอบไปประเทศญี่ปุ่นคือ ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้นต่อคนของประเทศญี่ปุ่น อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงินเยน และราคาน้ำมันดิบ นอกจากนี้จากการวิจัยพบว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้นต่อคน อัตราแลกเปลี่ยน ราคาน้ำมันดิบ ปริมาณการผลิต มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับมูลค่าการส่งออกไปประเทศต่างๆ ส่วนดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (อุตสาหกรรมรถยนต์และส่วนประกอบ) มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามซึ่งตรงตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ยกเว้นผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้นต่อคนของประเทศญี่ปุ่นที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับมูลค่าการส่งออกซึ่งไม่ตรงตามสมมติฐานแนวโน้มมูลค่าการส่งออกรถยนต์และส่วนประกอบรถยนต์ในอุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2553 ถึงปี พ.ศ. 2557 มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 6.86คำสำคัญ: อุตสาหกรรมรถยนต์ การพยากรณ์รถยนต์The purpose of research was to study market structure of Thailand Automotive industry, study determinants on export in Thailand, and forecasted in Automotive Industry during year 2010 to 2014. The five country markets were studied such as Australia, Indonesia, Malaysia, Japan and Saudi Arabia. After that, the results would be analyzed to find relationship among variable by using Multiple Regression method. Simultaneously, the tendency of export in next 5 years would be forecasted.The structural Thailand Automotive industry result showed raw material of in-house used higher than imported from abroad. Also sales ratio in-house was more than exported portion. Besides, our Thailand export pick-up car mostly, next was passenger car. OEM Part (Original Equipment Manufacture Part) was number 1, while Space Part was number 2 for Automotive exported component. Australia and Indonesia were main exported countries as maximum and second one, respectively.The research was found that, Determinants of export for Automotive industry to Australia were crude oil price, baht/dollar Exchange Rate, production quantity of Automotive car and Manufacturing Production Index (Automotive industry and component). For the case that Indonesia and Malaysia were trading partner, there were only one variable. It was crude oil price. Saudi Arabia resulting that export value were Gross Domestic Product per capita of Saudi Arabia, production quantity of Automotive car and Manufacturing Production Index (Automotive industry and component). Furthermore, the exported value car and component to Japan was also related with Gross Domestic Production per capita of Japan, baht/yen Exchange Rate and crude oil price. In addition, Gross Domestic Product per capita, Exchange Rated, crude oil price, production quantity of Automotive car had positive relationship and Manufacturing Product Index (Automotive and component) had negative relationship with exported value to trading partners which they have been theoretically verified while Gross Domestic Production per capita of Japan result has not.Finally, the export value of car and component in Thailand increased by having growth rate at 6.86%.Keywords: Automotive Industry, Forecasting of AutomotiveDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2012-09-21
How to Cite
Kasornbua, T. (2012). ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งออกในอุตสาหกรรมรถยนต์และการพยากรณ์ (DETERMINANTS OF EXPORT FOR AMTOMOTIVE INDUSTRY AND FORCASTING). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(8, July-December), 53–66. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/2499
Issue
Section
บทความวิจัย