การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT กับการจัดการเรียนรู้แบบหมวกคิด 6 ใบ
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 80 คน ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เป็นกลุ่มทดลอง 2 กลุ่มๆ ละ 40 คน โดยกลุ่มทดลองที่ 1 ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT และกลุ่มทดลองที่ 2 ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบหมวกคิด 6 ใบ ใช้เวลาในการทดลองกลุ่มละ 20 คาบ ใช้แบบแผนการวิจัยแบบสุ่มกลุ่ม-สอบก่อน-หลัง (Randomized Control Group Pretest-Posttest Design) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test Independent sample และ t-test for dependent sampleผลการวิเคราะห์พบว่า1. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT กับการจัดการเรียนรู้แบบหมวกคิด 6 ใบ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ไม่แตกต่างกัน2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.013. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบหมวกคิด 6 ใบ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.014. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT กับการจัดการเรียนรู้แบบหมวกคิด 6 ใบ มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณไม่แตกต่างกัน5. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.016. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบหมวกคิด 6 ใบ มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01คำสำคัญ: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT การจัดการเรียนรู้แบบหมวกคิด 6 ใบThe purpose of this was to find the studying mathayomsuksa II students achievement in social studies, religion and culture and critical thinking ability through the instructional methods based on 4 Mat and 6 thinking hats The sample of the study were 80 students of Mathayomsuksa II of Srinakharinwirot University Laboratory School during the second semester of the 2010 academic year. They were randomly selected by using cluster random sampling method and assigned into two groups, with 40 students in each. The first experimental group was taught through learning using 4 Mat where as the second was taught through learning using 6 thinking hats. It took 20 teaching periods for each group. The research design of this study was Randomized group Pretest-Posttest. The t-test Independent sample and t-test for dependent sample (Different score) was used for data analysis. The results of this study indicated that.1. The students approached by 4 Mat methods with 6 thinking hats model had achievement on social studies, religion and culture was not different.2. The students approached by 4 Mat methods had their higher Post-Test achievement on social studies, religion and culture than pre-test criterion at the 0.01 level of significance.3. The students approached by 6 thinking hats model had their higher Post-Test achievement on social studies, religion and culture than pre-test criterion at the 0.01 level of significance.4. The students approached by 4 Mat methods with 6 thinking hats model had critical thinking ability was not different.5. The students approached by 4 Mat methods had critical thinking ability higher Post-Test than pre-test criterion at the 0.01 level of significance.6. The students approached by 6 thinking hats model had critical thinking ability higher Post-Test than pre-test criterion at the 0.01 level of significance.Keywords: Achievement, Critical thinking, 4 Mat, 6 thinking hatsDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2012-09-13
How to Cite
Phinla, W., Vatanakhiri, C., & Rungruang, K. (2012). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT กับการจัดการเรียนรู้แบบหมวกคิด 6 ใบ. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(7, January-June), 103–114. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/2372
Issue
Section
บทความวิจัย