ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติ: ศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด

Authors

  • Matee Thoogbab Srinakharinwirot University.
  • Suchart Piew-ngam Srinakharinwirot University.
  • Prapee Apichartsakon Srinakharinwirot University.

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติ: โดยศึกษาในพื้นที่อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เป็นประชาคมระดับหมู่บ้านและระดับท้องถิ่น จำนวน 236 คน และผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพในเขตอำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 226 คน มีการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ และผลสำเร็จของการนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และวิเคราะห์สมการถดถอยแบบพหุคูณ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 2 ข้อ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ (เบี้ยยังชีพ) ไปปฏิบัติ และ 2. เพื่อศึกษาผลความสำเร็จของการนำนโยบายการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ (เบี้ยยังชีพ) ไปปฏิบัติผลการศึกษาพบว่า1. ผลของการนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติค่อนข้างประสบความสำเร็จ2. ในกลุ่มผู้สูงอายุพบว่า มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านการสนับสนุนจากผู้นำชุมชนที่ผู้สูงอายุอาศัยอยู่ รองลงมาคือ ความต้องการของผู้สูงอายุ และท่าทีผู้สูงอายุต่อผู้ดำเนินการ ซึ่งปัจจัยทั้ง 3 นี้ สามารถร่วมกันพยากรณ์ผลของการนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.053. ในกลุ่มประชาคมระดับหมู่บ้านและระดับท้องถิ่นพบว่า มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านมาตรฐานและวัตถุประสงค์ของนโยบาย รองลงมาคือ ลักษณะองค์การในการนำนโยบายไปปฏิบัติ เงื่อนไขเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง การสื่อสารระหว่างองค์การและกิจกรรมในการนำนโยบายไปปฏิบัติ และทรัพยากร ซึ่งปัจจัยทั้ง 5 นี้ สามารถร่วมกันพยากรณ์ผลของการนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05คำสำคัญ: การนำนโยบายไปปฏิบัติ เบี้ยยังชีพ ผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนตำบลThe research aimed to study factors influencing the implementation of cash allowance for the elderly: A case study of subdistrict administration organizations in phanom phrai district, Roi-Et Province.Community 236 and village committee 226 elderly persons in phanom phrai district, Roi-Et Province. Selected by simple random sampling, were samples to be studied. Data were collected by reliability-tested questionnaires and analyzed through descriptive statistics (percentage, arithmetic mean and standard deviation) and inferential statistics (t-test, one way analysis of variance and multiple regressions).The research findings were as follows:1. The performance on the implementation of cash allowance program for the elderly was rather success.2. For the elderly groups, support of the community leaders was the most influential factor to the success of the program. While the elderly is needs were the second and the elderly is disposition toward authorities, the third. The three factors could predict the success of program performance at the 0.05 level of statistically significance.3. For the community and village committee, the standard and objective of policy measures were the most influential factors to the success of the program while organization structure, socioeconomic and political conditions, inter-organizational communication and enforcement activities and policy resources were subsequent important factors, respectively. The five factors could predict the success of program performance at the 0.05 level of statistically significance.Keywords: The Implementation, Cash Allowance, Elderly, Subdistrict Administration Organizations

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

Matee Thoogbab, Srinakharinwirot University.

สาขาวิชานโยบายสาธารณะ ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Suchart Piew-ngam, Srinakharinwirot University.

สาขาวิชานโยบายสาธารณะ ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Prapee Apichartsakon, Srinakharinwirot University.

สาขาวิชานโยบายสาธารณะ ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2012-09-13

How to Cite

Thoogbab, M., Piew-ngam, S., & Apichartsakon, P. (2012). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติ: ศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(7, January-June), 89–102. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/2371