การเปรียบเทียบผลของละครจิตบำบัดและการบำบัดความคิดและพฤติกรรมของผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า (A COMPARISON OF THE EFFECTS OF PSYCHODRAMA AND COGNITIVE BEHAVIOR THERAPY ON DEPRESSIVE PATIENTS)

Authors

  • Pornpimon Pechkul Srinakharinwirot University.
  • Nanta Sooraksa Srinakharinwirot University.
  • Jitra Dudsadeemaytha Srinakharinwirot University.

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาการเปรียบเทียบผลของละครจิตบำบัดและการบำบัดความคิดและพฤติกรรมของผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า ที่มารับบริการที่กลุ่มงานจิตเวชแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพะเยา จังหวัดพะเยา ประชากรและกลุ่มตัวอย่างการศึกษาครั้งนี้ เป็นผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า ที่มารับบริการรักษาที่กลุ่มงานจิตเวช แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลพะเยา จังหวัดพะเยา และใช้แบบสอบถามเพื่อประเมินความรุนแรงของภาวะซึมเศร้า (Thai Depression Inventory) เพื่อจำแนกผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าในระดับอ่อนและระดับปานกลางได้ จำนวน 14 คน และสอบถามความสมัครใจในการเข้าร่วมการทดลอง หลังจากนั้นจึงสุ่มเข้ากลุ่มอย่างง่ายโดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ใช้ละครจิตบำบัด จำนวน 8 คน เป็นผู้มีภาวะซึมเศร้าระดับอ่อน จำนวน 2 คน มีภาวะซึมเศร้าระดับปานกลาง จำนวน 6 คน ใช้เวลาประมาณ 60 นาทีต่อครั้ง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง จำนวน 10 ครั้ง (5 สัปดาห์) กลุ่มที่ 2 ให้การบำบัดความคิดและพฤติกรรมเป็นรายบุคคล จำนวน 6 คน เป็นผู้มีภาวะซึมเศร้าระดับอ่อน จำนวน 2 คน มีภาวะซึมเศร้าระดับปานกลาง จำนวน 4 คน ใช้เวลาประมาณ 60 นาที ต่อคนต่อครั้ง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง จำนวน 10 ครั้ง (5 สัปดาห์) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบสอบถามเพื่อประเมินระดับความรุนแรงของภาวะซึมเศร้า (TDI: Thai Depression Inventory) โปรแกรมละครจิตบำบัด และ โปรแกรมการบำบัดความคิดและพฤติกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ The Wilcoxon Matched Pairs Signed Ranks Test เพื่อเปรียบเทียบระดับคะแนนภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยก่อนและหลังได้รับโปรแกรมละครจิตบำบัด และเปรียบเทียบระดับคะแนนภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการบำบัดความคิดและพฤติกรรม และใช้ The Mann Whitney U Test เพื่อเปรียบเทียบผลต่างของระดับคะแนนภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยที่ได้รับละครจิตบำบัดและได้รับการบำบัดความคิดและพฤติกรรม ผลการวิจัยพบว่า 1) ภายหลังการเข้าร่วมละครจิตบำบัด ผู้ป่วยมีภาวะซึมเศร้าลดลงกว่าก่อนได้รับการรักษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ภายหลังการเข้าร่วมการบำบัดความคิดและพฤติกรรม ผู้ป่วยมีภาวะซึมเศร้าลดลงกว่าก่อนได้รับการรักษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ภายหลังการเข้าร่วมละครจิตบำบัด และการบำบัดความคิดและพฤติกรรม ผู้ป่วยมีภาวะซึมเศร้าลดลงไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคำสำคัญ: ละครจิตบำบัด การบำบัดความคิดและพฤติกรรม ผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าThe purpose of this research is to compare the effects of psychodrama and Cognitive Behavior Therapy on depressive patients. The sample group consisted of 14 depressive patients of the Psychiatric Services Group, part of the Outpatient Department of Phayao Hospital in Phayao Province. The patients were volunteer participants. They were randomly divided into two groups of 8 and 6 patients, respectively. The first group of 8 patients underwent 10 psychodrama treatments (2 per week for 5 weeks). Each session was approximately 60 minutes in duration. The second group of 6 patients underwent 10 Cognitive Behavior Therapy sessions (2 per week for 5 weeks), each of approximately 60 minute duration. The experiment instruments used were the Thai Depression Inventory as well as the selected methods of treatment, psychodrama and Cognitive Behavior Therapy. The statistics used for data analysis were The Wilcoxon Matched Pairs Signed Ranks Test and The Mann Whitney U Test both of which were used to compare the differences in the scale of depression in patients before and after treatment by the two selected methods, psychodrama and Cognitive Behavior Therapy The results showed that 1) After participating in psychodrama therapy, patients had lower levels of depression than before receiving treatment at the 0.05 of significance 2) After participating in Cognitive Behavior Therapy, patients had lower levels of depression than before receiving treatment at the 0.05 level of significance 3) After participating in psychodrama and Cognitive Behavior therapy, patients had lower levels of depression than before receiving treatment not different at the 0.05 level of significance.Keywords: Psychodrama, Cognitive Behavior Therapy, Depressive Patients.

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

Pornpimon Pechkul, Srinakharinwirot University.

สาขาจิตวิทยาการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Nanta Sooraksa, Srinakharinwirot University.

สาขาจิตวิทยาการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Jitra Dudsadeemaytha, Srinakharinwirot University.

สาขาจิตวิทยาการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2012-09-13

How to Cite

Pechkul, P., Sooraksa, N., & Dudsadeemaytha, J. (2012). การเปรียบเทียบผลของละครจิตบำบัดและการบำบัดความคิดและพฤติกรรมของผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า (A COMPARISON OF THE EFFECTS OF PSYCHODRAMA AND COGNITIVE BEHAVIOR THERAPY ON DEPRESSIVE PATIENTS). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(7, January-June), 71–80. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/2369