ความอยู่ดีมีสุขและระบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในชุมชน (WELLBEING AND CARE SYSTEM FOR PALLIATIVE CARE IN A COMMUNITY)

Authors

  • วรนุช จันทะบูรณ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • บัวพันธ์ พรหมพักพิง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความอยู่ดีมีสุขของผู้ป่วยระยะท้ายในชุมชน และระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยระยะท้าย เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยใช้กรณีศึกษา เลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง ดังนี้ ผู้ป่วยระยะท้าย 2 คน ครอบครัวของผู้ป่วยระยะท้าย 2 คน ครอบครัวของผู้ป่วยระยะท้ายที่เสียชีวิตไปแล้ว 3 คน ผู้บริหารและกลุ่มงานที่รับผิดชอบเรื่องการดูแลสุขภาพขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองพล 3 คน เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเมืองพล 1 คน เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลพล 1 คน เจ้าหน้าที่จากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอพล 1 คน พระ 1 รูป ผู้นำชุมชน 2 คน อสม. 2 คน รวมทั้งหมด 18 คน ทำการเก็บข้อมูลในชุมชนแห่งหนึ่งของอำเภอพล จังหวัดขอนแก่น โดยการสังเกตและการสัมภาษณ์เชิงลึก มีการตรวจสอบข้อมูลร่วมกับผู้ให้ข้อมูลหลัก และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาความอยู่ดีมีสุขของผู้ป่วยระยะท้ายพบว่า ผู้ป่วยต้องการอยู่กับครอบครัวและญาติพร้อมหน้าพร้อมตา ได้รับการบำบัดความเจ็บปวดทรมานให้พอรับได้ ส่วนครอบครัวไม่อยากเห็นผู้ป่วยเจ็บปวดทรมาน ต้องการสนับสนุนทั้งด้านความรู้และเครื่องมือที่จำเป็นในการดูแลผู้ป่วย โดยการตอบสนองต่อความต้องการเหล่านี้ เกี่ยวข้องกับองค์กรผู้ให้บริการ ได้แก่ องค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นและโรงพยาบาล ระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยระยะท้าย แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ 1) ระบบการดูแลทางกายของผู้ป่วยระยะท้ายตามเกณฑ์มาตรฐาน โดยจะได้รับการดูแลอย่างถูกต้องตามหลักการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองและเข้าถึงสิทธิต่าง ๆ ที่ควรจะได้รับ 2) การดูแลด้านจิตใจ/จิตวิญญาณ คือ ได้รับการตอบสนองในสิ่งที่ต้องการเตรียมตัวจากไปแบบไม่มีความวิตกกังวล และได้ทำพิธีตามความเชื่อของตน 3) บทบาทของครอบครัวและชุมชน คือ ครอบครัวอบอุ่น ได้รับการช่วยเหลือจากชุมชนตามความจำเป็น มีเพื่อนบ้านมาเยี่ยมถามอาการและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้ป่วยระยะท้ายอยู่ดีมีสุขก่อนจากไป คำสำคัญ: ผู้ป่วยระยะท้าย  ความอยู่ดีมีสุข  ชุมชน This research aims to investigate the provision of palliative care by family and community, and wellbeing of the end-stage patients. Qualitative research methodology, based on case-based approach, was employed. In-depth interview and observation were applied to collect data from 18 key informants that are involved in proving cares to 2 end-stage patients whose were purposively selected. These key informants are 2 family members of the present end-stage patients, 3 family members of previous end-stage patients (patients passed away), 2 health staffs of local hospital, one promoting health care and one providing care, 1 staff of District Public Health Office, 1 monk, 2 community leaders, and 2 village health volunteers. Research results revealed that end-stage patients prefer and wish to stay together with family and relatives, and they needed therapeutic treatment to reduce suffer. Family did not want to see patient’s suffering of pains so that they needed supports about caring knowledge and caring equipment to take care patients. Caring system for the end-stage patients was divided into 3 aspects, including 1) physical care, i.e. the cares in accordance with palliative care standards and pertaining to patient rights as needed. 2) mental/spiritual care; receiving responses on patient’s needs, preparing to die without anxiety, and having chance to perform ceremony under patient’s beliefs. 3) Roles of family and community; having a warmth family, receiving support from community as needed, having kind neighbors who visited to see patients, and helping each other. These conditions encouraged wellbeing of the end-stage patients and let them rest in peace. Keywords: Palliative Care, Wellbeing, Community

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2557). แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2557. สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2562, จาก http://www.dms.moph.go.th/

dmsweb/cpgcorner/แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย.pdf

Sepúlveda C, Marlin A, Yoshida T, and Ullrich A. (2002). Palliative care: The World Health Organization's global perspective. J Pain Symptom Manage, 24(2), 91-96.

Sawatzky R, Porterfield P, Roberts D, Lee J, Liang L, Reimer-Kirkham S, Pesut B, Schalkwyk T, Stajduhar K, Tayler C, Baumbusch J, and Thorne S. (2017). Embedding a palliative approach in nursingcare delivery: an integrated knowledge synthesis. Advances in Nursing Science, 40(3), 261-277.

Chaiviboontham, S. (2016). Palliative Care Model in Thailand. Retrieved May 1, 2019, from https://med.mahidol.ac.th/nursing/

Chronic/Document/Feb13/Feb13_PalliativeCare.pdf

World Health Organization (WHO). (2018). Integrating palliative care and symptom relief into primary health care: A WHO guide for planners, implementers and managers. Geneva: Switzerland.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2557). แผนยุทธศาสตร์ระดับชาติว่าด้วยการเสริมสร้างสุขภาวะในระยะท้ายของชีวิต พ.ศ. 2557-2559. พิมพ์ครั้งที่ 1. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

บัวพันธ์ พรหมพักพิง. (2556). แนวคิดและทฤษฏีการพัฒนา : จากความมั่งคั่งทางวัตถุสู่ความอยู่ดีมีสุขประชาชาติ. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Sen, A. (1985). Well-being, agency and freedom: The Dewey Lectures 1984. The Journal of Philosophy, 82(4), 169-221.

ชวาลา ละวาทิน. (2561). ความต้องการและความอยู่ดีมีสุขของพนักงานโรงงาน. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมถ์, 12(1), 38-49.

รุ่งรัตน์ สุขะเดชะ, และดารุณี จงอุดมการณ์. (2560). ความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวเด็กวัยเรียนที่เจ็บป่วยวิกฤต : การวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 40(2), 22-31.

พรเพ็ญ โสมาบุตร. (2560). ความอยู่ดีมีสุขของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฏีบัณฑิต (สาขาวิชาพัฒนศาสตร์บัณฑิต) มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ภัทรพร วีระนาคินทร์, และบัวพันธ์ พรหมพักพิง. (2561). การพัฒนาตัวชี้วัดความอยู่ดีมีสุขของชุมชนชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย : กรณีศึกษา ชุมชนชนบทในจังหวัดขอนแก่น. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 13(3), 463-472.

บัวพันธ์ พรหมพักพิง, นิลวดี พรหมพักพิง, พรเพ็ญ โสมาบุตร, ภัทรพร วีระนาคินทร์, และนพรัตน์ รัตนประทุม. (2561). การเปลี่ยนแปลงความอยู่ดีมีสุขของชนบทอีสานในรอบ 10 ปี พ.ศ. 2548-2559. ขอนแก่น: กลุ่มวิจัยความอยู่ดีมีสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Doyal, L., and Gough, I. (1991). A Theory of Human Need. Basingstoke and London: Macmillan.

กนิษฐา จันทรคณา, และฉัฐวีณ์ สิทธิ์ศิรอรรถ. (2560). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการดูแลตนเองและความสุขของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะท้าย. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(17), 1-12.

Downloads

Published

2022-12-29

How to Cite

จันทะบูรณ์ ว., & พรหมพักพิง บ. (2022). ความอยู่ดีมีสุขและระบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในชุมชน (WELLBEING AND CARE SYSTEM FOR PALLIATIVE CARE IN A COMMUNITY). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 14(28, July-December), 151–165. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/15051