การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการคิดเชิงออกแบบร่วมกับกระบวนการละครประยุกต์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม

Authors

  • ภัทรนันท์ ไวทยะสิน สาขาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • นัทธีรัตน์ พีระพันธุ์ สาขาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • รัฐพล ประดับเวทย์ สาขาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Abstract

การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการคิดเชิงออกแบบร่วมกับกระบวนการละครประยุกต์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1. เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการคิดเชิงออกแบบร่วมกับกระบวนการละครประยุกต์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม และ 2. เพื่อศึกษาความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการคิดเชิงออกแบบร่วมกับกระบวนการละครประยุกต์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม โดยที่ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับแนวคิด หลักการ กระบวนการและวิธีการของการคิดเชิงออกแบบ และละครประยุกต์ รวมทั้งองค์ประกอบและคุณลักษณะของความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม ตลอดจนการนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ กำหนดเป็นร่างต้นแบบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการคิดเชิงออกแบบร่วมกับกระบวนการละครประยุกต์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม ผลการวิจัยจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการศึกษา การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ เทคโนโลยีการศึกษา การคิดเชิงออกแบบ ละครประยุกต์ และความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม จำนวน 7 คน พบว่า ความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการคิดเชิงออกแบบร่วมกับกระบวนการละครประยุกต์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมแบบองค์รวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.30 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.61 และมีข้อเสนอแนะ ความคิดเห็น จากผู้ทรงคุณวุฒิในเชิงคุณภาพโดยสรุป คือ 1. แนวคิดทั้ง 2 ประการ คือ การคิดเชิงออกแบบ และละครประยุกต์ มีกระบวนการและวิธีการที่ทั้งสอดคล้องนำไปสู่การจัดการเรียนรู้ในลำดับต่อเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอน 2. กระบวนการของละครประยุกต์สามารถช่วยให้เกิดสถานการณ์จำลอง หรือสถานการณ์สมมติ ตลอดจนการเลียนแบบพฤติกรรม ซึ่งสามารถช่วยให้ผู้เรียนทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น และ 3. ผู้วิจัยสามารถศึกษาเรื่องสถานการณ์ปัจจุบันทางด้านสังคมศาสตร์เพิ่มเติม เพื่อนำเข้าไปใช้ในการจัดกิจกรรม หรือแผนการจัดการเรียนรู้ในขั้นตอนต่อไป คำสำคัญ: การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้  การคิดเชิงออกแบบ  ละครประยุกต์  ความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม The research, Development of a Learning Management Model in collaboration with Design Thinking and Applied Drama to enhance Innovative Creation Competency, aims to 1) develop a learning management model with design thinking in combination with applied drama process to promote innovation ability and 2) study the results of a learning management model with design thinking and applied drama process to promote innovation ability. The researcher studies documents related to the concepts, principles, processes, and methods of design thinking and applied drama, as well as the components and characteristics of innovative ability, and uses data to analyze and define a prototype of a design-thinking learning-management model. The research results gathered from seven experts in the fields of education, the development of learning management models, education technology, design thinking, applied drama, and creative innovation show that the suitability of a learning-management model with design thinking and applied drama promoting holistic innovation has the most suitable level at 4.30, and the standard deviation is 0.61. The experts have made these crucial recommendations: 1) Both design thinking and applied drama have consistent and different processes and methods, but they can be integrated to create to a learning-management method that focuses on promoting innovation. 2) The key concept of design thinking is to enable the target audiences to understand the various elements in which the process of applied drama can help to simulate scenarios and to imitate behavior to foster an exchange of ideas and experiences, to listen to others’ problems and needs, and to understand the feelings of the target audience. These things are essential to developing innovation. 3) To develop an effective learning-management model, the process or method of presentation related to design thinking and applied drama can make the learning-management plan much clearer, and 4) The researcher can further study the current situation in the social sciences and then use that information to formulate the next step of activities or learning-management plans. This will enable the students to better understand themselves and others, and thus lead to a combination of both designs thinking and an applied drama process. Keywords: Development of a Learning Management Model, Design Thinking, Applied Drama, Innovative Creation Competency

Downloads

Download data is not yet available.

References

The Jobs Reset summit. (2020). The Future Jobs Report 2020. Retrieved December 20, 2020, from http://www3.weforum.org/docs/

WEF_Future_of_Jobs_2020.pdf

OECD. (2018). The Future of Education and Skills Education 2030. Retrieved November 10, 2019, from https://www.oecd.org/

education/2030/E2030%20Position%20Paper%20(05.04.2018).pdf

วิจารณ์ พานิช. (2557). การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

โทนี วากเนอร์. (2561). Creating innovators: คู่มือสร้างนักนวัตกรรมเปลี่ยนโลก. พิมพ์ครั้งที่ 1. (ดลพร รุจิรวงศ์, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: บุ๊คสเป็ค.

ดนชนก เบื่อน้อย. (2559). นวัตกรรมกับความคิดสร้างสรรค์. วารสารวิชาการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี, 3(1), 1-12.

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ. (2560). การคิดเชิงออกแบบ: เรียนรู้ด้วยการลงมือทำ. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2563, จาก http://resource.tcdc.or.th/

ebook/Design.Thingking.Learning.by.Doing.pdf

พัทธนันท์ บุตรฉุย. (2559). การพัฒนารูปแบบการแบ่งปันความรู้ออนไลน์โดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบร่วมกับเทคนิคการวิเคราะห์อนาคตเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์เชิงธุรกิจของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตสาขาการจัดการ. วิทยานิพนธ์ ค.ด. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชลลดา ทองทวี. (2557). ละคร เครื่องมือเพื่อการเรียนรู้เปลี่ยนแปลงภายใน แนวจิตตปัญญาศึกษา. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(1), 112-129.

Anthony, J. C., Vine. (2013). Learning Through Theatre The Changing Face of Theatre in Education. New York Routledge.

พรรัตน์ ดำรุง. (2557). ละครประยุกต์ : การใช้ละครเพื่อการพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิดานันท์ มลิทอง. (2540). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชวนชม.

รัชนีวรรณ ตั้งภักดี. (2562, มกราคม-เมษายน). การพัฒนารูปแบบการสอนที่ส่งเสริมสมรรถนะการออกแบบการเรียนการสอนเพื่อการผลิตสื่อของนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(1), 107-125.

อุทยานการเรียนรู้. (2561). กล่องโลกห้องสมุด โลกการเรียนรู้ โลกประสบการณ์. กรุงเทพฯ: สำนักอุทยานการเรียนรู้ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน).

Giebert, S. (2014). Theatre et enseignement des langues de specialite. Recherche et pedagogiques en langues de specialite, 33(1), 138-150.

Downloads

Published

2022-12-29

How to Cite

ไวทยะสิน ภ., พีระพันธุ์ น., & ประดับเวทย์ ร. (2022). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการคิดเชิงออกแบบร่วมกับกระบวนการละครประยุกต์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 14(28, July-December), 109–120. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/15048