การพัฒนาแบบสอบเขียนตอบ และเกณฑ์การตรวจให้คะแนนอัตโนมัติสำหรับการเขียนสรุปความภาษาไทยในระดับประถมศึกษา (DEVELOPMENT OF THE SUPPLY TYPE TEST AND AUTOMATED SCORING RUBRIC FOR THAI SUMMARY WRITING OF PRIMARY EDUCATION LEVEL)

Authors

  • อัศนีย์ ทองศิลป์ ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • กมลวรรณ ตังธนกานนท์ ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ณภัทร ชัยมงคล ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาแบบสอบเขียนตอบการเขียนสรุปความภาษาไทยในระดับประถมศึกษา และ (2) พัฒนาเกณฑ์การตรวจให้คะแนนอัตโนมัติสำหรับแบบสอบเขียนตอบการเขียนสรุปความภาษาไทยแบบแยกองค์ประกอบในระดับประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 287 คน โรงเรียนสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานครและสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 3 โรงเรียน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบชนิดเขียนตอบการเขียนสรุปความภาษาไทย ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบสอบเขียนตอบการเขียนสรุปความภาษาไทยในระดับชั้นประถมศึกษาสร้างขึ้นตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 วัดคุณภาพผู้เรียนด้านพุทธิพิสัยในระดับสังเคราะห์ เนื้อหาจากแหล่งการเรียนรู้นอกตำราเรียน ใช้คำศัพท์จากบัญชีคำพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ คัดเลือกประเภทบทอ่านตามหนังสือเรียนภาษาไทยชุดภาษาเพื่อชีวิตของกระทรวงศึกษาธิการ ได้แก่ ด้านการเล่าเรื่อง ด้านวิทยาศาสตร์ และด้านสังคมและวัฒนธรรมเป็นแบบสอบชนิดเขียนตอบ จำนวน 3 ข้อ 60 คะแนน เวลาสอบ 60 นาที ผลการวิเคราะห์ข้อสอบและแบบสอบ พบว่า เป็นข้อสอบที่นำไปใช้ได้พิจารณาจากมีค่าความยากอยู่ในเกณฑ์นำไปใช้ได้ (p = 0.43-0.61) และสามารถจำแนกผู้สอบได้ (B-Index = 0.20-0.41) มีค่าความตรง (IOC = 0.56-1.00) และค่าความเที่ยงทั้งฉบับใช้ได้ (α = 0.60) ความเที่ยงระหว่างผู้ตรวจและความเที่ยงภายในผู้ตรวจให้คะแนนสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 2) เกณฑ์การตรวจให้คะแนนอัตโนมัติการเขียนสรุปความภาษาไทยแบบแยกองค์ประกอบ พบว่ามี 3 ด้าน 11 รายการ แบ่งเป็นด้านเนื้อหา ได้แก่ ประเด็นสำคัญ และคัดลอกบทอ่าน ด้านวิธีสรุปใจความ ได้แก่ แสดงความคิดเห็น ยกตัวอย่าง อธิบายเพิ่มเติม เครื่องหมายวรรคตอน สรุปประเด็นผิด และสรรพนามบุรุษที่ 1, 2 และด้านภาษา ได้แก่ คำสะกดผิด ประโยคความเรียง และประโยคสมบูรณ์ คำสำคัญ: แบบสอบเขียนตอบ  การเขียนสรุปความ  เกณฑ์การตรวจให้คะแนนอัตโนมัติ      The objectives of this research were (1) to develop the Thai summary writing ability test of the primary level and (2) to develop the automated scoring rubric for Thai summary writing ability test of the primary level. Sample consisted of 287 sixth graders in the primary schools in the academic year of 2020 under the Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation; The Department of Education and The Office of the Basic Education Commission, School Consisted of 3, Purposive sampling technique. The Thai summary writing ability test of the primary level was used as an instrument in this study. Results showed that 1) the Thai summary writing ability test of the primary level was built according to the standards and indicators of the Basic Education Core Curriculum, B.E. 2551 (2008), Measuring the quality of learners was the cognitive domain in the synthetic level. Content from non-textual learning sources under the Ministry of Education's basic vocabulary list. The reading types were selected by Thai language textbooks the language for life series of the Ministry of Education. Including the storytelling, science and society and culture. The test format was a supply type test consisted of 3 questions with full score of 60, and the exam time takes 60 minutes. The results also indicated the supply type test well-being inventory had good: difficulty (p = 0.43-0.61), discrimination power (B-Index = 0.20 - 0.41), validity (IOC = 0.56-1.00), Reliability (α = 0.60), intra-rater reliability and inter-rater reliability gave score correlated significance at the level of 0.01 2) The automated scoring rubric for Thai summary writing ability test of the primary level was comprised of  3 elements, 11 features consisted of the content: keyword and copying, of the summary: commenting, exampling, explanation, punctuation, wrong conclusion, and 1-2 of pronouns, of the language skills: misspellings, composition sentences and complete sentences.  Keywords: The Supply Type Test, Summary Writing, Automated Scoring Rubric

Downloads

Download data is not yet available.

References

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2555). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ออฟเซ็ท พลัส จำกัด.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2562). ค่าสถิติพื้นฐานผลการทดสอบ O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2564, จาก https://www.niets.or.th/th/catalog/view/3865

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Rezaei, A. R., and Lovorn, M. (2010). Reliability and Validity of Rubrics for Assessment Through Writing. Assessing Writing, 15(1), 18-39. Retrieved January 15, 2020, from https://eric.ed.gov/?id=EJ881105

เดลินิวส์. (2561, 3 กุมภาพันธ์). สทศ.มั่นใจโปรแกรมตรวจข้อสอบอัตนัยถูกต้อง-แม่นยำ. เดลินิวส์ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2561, จาก https://www.dailynews.co.th/education/625229

บุญเสริม กิจศิริกุล. (2546). โครงการการทำเหมืองเว็บไทยโดยเทคนิคการเรียนรู้ของเครื่องและการโปรแกรมตรรกะเชิงอุปนัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Ghosh, S. (2010). Online Automated Essay Grading System as a Web Based Learning (WBL) Tool in Engineering Education. In D. Russell and A. Haghi (Eds.), Web-Based Engineering Education: Critical Design and Effective Tools (pp. 53-62). IGI Global. https://doi.org/10.4018/978-1-61520-659-9.ch005

Jang, E.-S., Kang, S.-S., Noh, E.-H., Kim, M.-H., Sung, K.-H., and Seong, T.-J. (2014). KASS: Korean Automatic Scoring System for Short-answer Questions. CSEDU 2014 - Proceedings of the 6th International Conference on Computer Supported Education, 2(1), 226-230. Retrieved December 22, 2021, from https://www.scitepress.org/Papers/2014/48643/48643.pdf

Ke, X., Zeng, Y., and Luo, H. (2016). Autoscoring Essays Based on Complex Networks. Journal of Educational Measurement, 53(4), 478-497. Retrieved December 5, 2021, from https://onlinelibrary.wiley.com/doi/abs/10.1111/jedm.12127

Yamamoto, M., Umemura, N., and Kawano, H. (2018). Automated Essay Scoring System Based on Rubric. Applied Computing & Information Technology. Retrieved October 12, 2021, from https://www.springerprofessional.de/en/automated-essay-scoring-system-based-on-rubric/13305202

Dikli, S. (2006). An Overview of Automated Scoring of Essays. Journal of Technology, Learning, and Assessment, 5(1), Retrieved October 22, 2021, from https://ejournals.bc.edu/index.php/jtla/article/view/1640/1489

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., and Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis. 7th ed. New Jersey: Pearson Prentice Hall. Retrieved October 22, 2021, from https://www.scirp.org

Rovinelli, R. J., and Hambleton, R. K. (1977). On The Use of Content Specialists in The Assessment of Criterion-Referenced Test Item Validity. Dutch Journal of Educational Research, 1(2), 49-60. Retrieved October 22, 2021, from https://eric.ed.gov/?id=ED121845

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2564, จาก http://www.sp2.go.th/sp2/images/nitedtidtamandpramenpon/3/1/1.pdf

อัศนีย์ ก่อตระกูล, กมลา นาคะศิริ, วิสมัย มโนมัยพิบูลย์, ศิริพร แดงเที่ยง, วิภากร วงศ์ไทย, และทัศนาลัย บูรพาชีพ. (2541). การตรวจสอบไวยากรณ์และรูปแบบประโยคภาษาไทยโดยอัตโนมัติ. ใน รายงานฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สภาวิจัยแห่งชาติ.

Association of American Colleges and Universities. (2018). Inquiry and Analysis VALUE Rubric. Retrieved October 4, 2021, from http://www.aacu.org/value/rubrics/inquiry-analysis

Matsushita, K. (2012). Assessment of the Quality of Learning Through Performance Assessment: Based on The Analysis of Types of Learning Assessment. Kyoto Univ, Japanse, 18(1), 75-114. Retrieved October 14, 2021, from http://link-springer-com-443.webvpn.fjmu.edu.cn/chapter/10.1007%2F978-981-10-5660-4_10

Downloads

Published

2022-06-29

How to Cite

ทองศิลป์ อ., ตังธนกานนท์ ก., & ชัยมงคล ณ. (2022). การพัฒนาแบบสอบเขียนตอบ และเกณฑ์การตรวจให้คะแนนอัตโนมัติสำหรับการเขียนสรุปความภาษาไทยในระดับประถมศึกษา (DEVELOPMENT OF THE SUPPLY TYPE TEST AND AUTOMATED SCORING RUBRIC FOR THAI SUMMARY WRITING OF PRIMARY EDUCATION LEVEL). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 14(27, January-June), 206–218. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/14499