หน้าที่ของรูปเบี่ยงบังที่ปรากฏในสื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมผิวขาวบนเฟซบุ๊กแฟนเพจ (THE FUNCTIONS OF HEDGES APPEARING IN SKIN WHITENING SUPPLEMENT ADVERTISEMENTS ON FACEBOOK FANPAGES)

Authors

  • สุภาภรณ์ คงทน สาขาภาษาไทยและภาษาไทยประยุกต์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
  • ณฐ อังศุวิริยะ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหน้าที่ของรูปเบี่ยงบังที่ปรากฏในสื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมผิวขาวบนเฟซบุ๊กแฟนเพจที่มีจำนวนผู้กดไลก์และผู้กดติดตามมากกว่า 50,000 คนขึ้นไป รวมทั้งหมด 31 แฟนเพจ 266 โฆษณา ซึ่งรูปเบี่ยงบังดังกล่าวผ่านการทดสอบการทำหน้าที่เบี่ยงบังตามแนวคิดของ Crompton [1] และจำแนกชนิดของคำตามแนวคิดไวยากรณ์โครงสร้างของวิจินตน์ ภานุพงศ์ [2] ทั้งนี้ผู้วิจัยวิเคราะห์หน้าที่ของรูปเบี่ยงบังโดยใช้บริบทแวดล้อม (Context) ของถ้อยคำโฆษณา พิจารณาการสื่อความหมายเพื่อดูหน้าที่ของรูปเบี่ยงบังที่ปรากฏในข้อความโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมผิวขาว ผลการวิจัยพบว่า หน้าที่ของรูปเบี่ยงบังที่ปรากฏในสื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมผิวขาวทั้งหมด 3 ประการ ได้แก่ หน้าที่ลดระดับความชัดเจน และลดการผูกมัดต่อถ้อยคำ ปรากฏทั้งหมด 264 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 66.33 หน้าที่แสดงการคาดการณ์หรือแสดงความเป็นไปได้ของถ้อยคำที่กล่าว ปรากฏทั้งหมด 122 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 30.65 และหน้าที่ลดระดับความรุนแรงของถ้อยคำ หลีกเลี่ยงความขัดแย้งจากผู้บริโภคและคู่แข่งขัน ปรากฏทั้งหมด 12 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 3.02 ผู้โฆษณาใช้รูปเบี่ยงบังในการนำเสนอข้อมูลเพื่อสร้างผลประโยชน์ในเชิงธุรกิจให้กับตนเอง บทความวิจัยนี้จะทำให้เห็นหน้าที่ของรูปเบี่ยงบังที่ปรากฏในสื่อโฆษณาที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น นำไปสู่การรู้เท่าทันข้อมูลข่าวสารโฆษณาในยุคปัจจุบันได้อีกทางหนึ่ง ทำให้ผู้บริโภคได้ตระหนักคิด พิจารณาก่อนจะเลือกซื้อสินค้าผ่านสื่อออนไลน์ คำสำคัญ: หน้าที่รูปเบี่ยงบัง  โฆษณา  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมผิวขาว  เฟซบุ๊กแฟนเพจ The objective of this research was to study the functions of hedges appearing in the skin whitening supplement advertisements on Facebook Fanpages which have the numbers of likes and followers more than 50,000 users, in a total of 31 fan pages, including 266 advertisements. The hedges were tested to identify language forms according to the concept of the Crompton [1] and classify types of the hedges according to the concept of grammatical structure of Vijin Panupong [2]. At any rate, the researcher analyzed the functions of the hedges by using the context of advertising messages of white skin food supplement to communicate mainly to see the fuctions of hedges appearing in the advertising texts. The results of the research indicated 3 functions of the hedges appeared in the advertising context of white skin food supplements including 1) The function of reducing intelligibility and commitment to messages, appeared 264 times (66.33%) 2) The function of indicating prediction or possibility of messages, appears 122 times (30.65%) 3) The function of reducing violence of messages and avoiding conflicts from consumers and competitors, appears 12 times (3.02%). Advertisers used hedges in presenting information to generate business benefits for themselves. This research would like to represent a variety of functions of hedges appeared in the advertising context that tends to be increasingly diverse. This leads to being capable of knowing the facts and tricks of advertising contents and news in the present age. Moreover, it helps consumers realize and consider before you want to buy via social media. Keywords: Functions of Hedges, Advertisements, Skin Whitening Supplement, Facebook Fanpages

Downloads

Download data is not yet available.

References

Crompton, P. (1997). Hedging in Academic Writing: Some Theoretical Problems. English for Specific Purposes, 16(4), 271-287.

วิจินตน์ ภาณุพงศ์. (2524). โครงสร้างของภาษาไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2557). ลักษณะสองหน้าของภาษาวิชาการ: ความแจ่มชัดกับการเบี่ยงบังในการเขียนภาษาวิชาการไทย. ใน ภาษากับอำนาจ: บทความประชุมวิชาการ. (หน้า 78-107). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรวรรณา เพ็ชรกิจ, เพ็ญศิริ รัศมี, สุวคนธ์ พิญญาณ และ Yuji Furuhashi. (2559). รูปเบี่ยงบังระดับคำและหน้าที่ในบทความวิจัยภาษาไทยด้านวิทยาศาสตร์และมนุษยศาสตร์. วารสารศิลปศาสตร์, 16(2), 173-198.

วรวรรณา เพ็ชรกิจ. (2558). รูปเบี่ยงบังในบทความวิจัยภาษาอังกฤษ และปัญหาของผู้เขียนที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา. วารสารมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 12(3), 27-48.

พรนภัส ทองพูล. (2559). รูปเบี่ยงบังและหน้าที่ในแผ่นพับโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ำหนัก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (สาขาวิชาภาษาไทย) คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรนภัส ทองพูล. (2560). รูปเบี่ยงบังในการโฆษณาสรรพคุณและการออกฤทธิ์ของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ำหนัก. วารสารมนุษยศาสตร์, 14(3), 63-78.

จันทกานต์ หาญศรี. (2561). การใช้รูปเบี่ยงบังในฉากการพิจารณาคดีในชั้นศาลที่ปรากฏในภาพยนตร์อเมริกัน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุภาภรณ์ คงทน, และณฐ อังศุวิริยะ. (2564). รูปภาษาเบี่ยงบังในข้อความโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมผิวขาว: กรณีศึกษาเฟซบุ๊กแฟนเพจไทย. วารสารไทยคดีศึกษาแห่งเกาหลี, 27(2), 129-160.

สิทธิธรรม อ่องวุฒิวัฒน์. (2553). กลวิธีทางภาษาที่ใช้ในการตอบคำถามของดารานักแสดงไทยในการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน. วรรณวิทัศน์, 10, 54-91.

วราภรณ์ สุขประเสริฐ. (2533). กลวิธีทางภาษาในการกลบเกลื่อนความคิดทางลบต่อมารดาในทัศนปริจเฉทของวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภธิดา เทียมสมบูรณ์. (2541). กลไกทางภาษาในการตอบคำถามของนักการเมืองไทยในการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนันทา คงประโคน. (2544). กลวิธีการกลบเกลื่อนในการสนทนาเรื่องเพศของคนไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (สาขาวิชาภาษาศาสตร์) คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โศภิษฐา ไชยถาวร. (2557). กลวิธีการตอบคำถามสื่อมวลชนของดารานักแสดงชาย-หญิงไทย: กรณีศึกษารายการ “ทีวีพูลไลฟ์”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรวี บุนนาค, และสมชาย สำเนียงงาม. (2561). กลวิธีกลบเกลื่อนในการสื่อสารในภาวะวิกฤตผ่านเฟซบุ๊กองค์กรธุรกิจ. วารสารวรรณวิทัศน์, 18, 138-165.

จันทิมา อังคพณิชกิจ. (2557). การวิเคราะห์ข้อความ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ยุพาภรณ์ ศรีตระการ. (2560). การศึกษารูปแบบภาษาที่ใช้ในการแสดงระดับความมั่นใจในการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษของนักศึกษา. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 9(2), 144-157.

Hyland, K. (1998). Hedging in Scientific Research Articles. Philadelphia: John Benjamins Publishing.

กรมพัฒนาการค้า. (2564). ซื้อสินค้า “ของดีออนไลน์ by DBD”. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.dbd.go.th

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2548). คำชี้แจงประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 293) พ.ศ. 2548 เรื่อง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร. สืบค้นจาก http://food.fda.moph.go.th

พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522. (2522, 13 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 96 ตอนที่ 79. หน้า 1-28.

Fraser, B. (2010). Pragmatic Competence: The Case of Hedging. In G. Kaltenbock, W. Mihatsch and S. Schneider (Eds.), New Approaches to Hedging. (Vol. 9, pp. 15-34). Emerald Group Publishing Limited.

นววรรณ พันธุเมธา. (2527). ไวยากรณ์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์.

พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560. (2560, 7 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนที่ 70 ก. หน้า 22-45.

Downloads

Published

2022-06-29

How to Cite

คงทน ส., & อังศุวิริยะ ณ. (2022). หน้าที่ของรูปเบี่ยงบังที่ปรากฏในสื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมผิวขาวบนเฟซบุ๊กแฟนเพจ (THE FUNCTIONS OF HEDGES APPEARING IN SKIN WHITENING SUPPLEMENT ADVERTISEMENTS ON FACEBOOK FANPAGES). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 14(27, January-June), 160–176. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/14494