บทเรียนจากการพัฒนาสื่อกลางนวัตกรรมส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (LESSONS FROM THE DEVELOPMENT OF PLATFORM FOR INNOVATIONS IN BREASTFEEDING PROMOTION)

Authors

  • ภัทรพรรณ ทำดี ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Abstract

เมื่อผู้หญิงต้องเป็นทั้ง “แม่” และ “แรงงาน” จึงจำเป็นต้องอาศัย “นวัตกรรม” เป็น “เพื่อนคู่คิด” เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ทั้งสองอย่างได้อย่างสมดุล การวิจัยเชิงคุณภาพในรูปแบบการวิจัยและพัฒนาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อกลางนวัตกรรมส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และ 2) ถอดบทเรียนจากกระบวนการพัฒนาสื่อกลางนวัตกรรมส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพื่อใช้เป็นช่องทางในการสืบค้นนวัตกรรม เผยแพร่ใน 2 ช่องทาง ได้แก่ เว็บไซต์ และช่องยูทูบ ซึ่งได้รวบรวมและเผยแพร่นวัตกรรมในรูปแบบสื่อออนไลน์ 3 ประเภท ได้แก่ คลิปวิดีโอ อินโฟกราฟิก และคู่มือในรูปแบบดิจิทัลไฟล์ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายทั้งแม่ที่เตรียมความพร้อมสำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ บุคคลใกล้ชิด ผู้สนใจทั่วไป ตลอดจนผู้ปฏิบัติงานในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ โดยการนำรูปแบบการประเมินแบบซิปป์ซึ่งพัฒนาโดย แดเนียล สตัฟเฟิลบีม มาใช้ในการประเมินความก้าวหน้าของโครงการเป็นระยะ ทั้งในระหว่างดำเนินโครงการจนกระทั่งสิ้นสุดโครงการโดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างนักวิจัย ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่าง ๆ และผู้ใช้ประโยชน์ ทั้งนี้ ได้มีการติดตามการใช้ประโยชน์จากสื่อออนไลน์ 2 ช่องทาง ในระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม 2563 ซึ่งมีผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวน 109 คน และเข้าชมช่องยูทูบ จำนวน 107 คน และประเมินความคิดเห็นต่อการใช้สื่อด้วยแบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลจากการถอดบทเรียน พบว่า เงื่อนไขสำคัญที่ส่งผลต่อการดำเนินงานโครงการ ได้แก่ การคำนึงถึงความหลากหลายของผู้ใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะแม่ที่กำลังเลี้ยงลูก ซึ่งอาจมีข้อจำกัดและเงื่อนไขในการใช้ชีวิตและการทำงานแตกต่างกัน และกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและการใช้ประโยชน์ นอกจากนั้น ควรมีการส่งเสริมผู้ที่ปฏิบัติงานเชิงรุกด้านการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ซึ่งทำงานใกล้ชิดและเข้าใจในบริบทความต้องการของแม่เพื่อให้สามารถพัฒนานวัตกรรมที่ใช้กับบริบทการทำงานด้วยตนเองได้ คำสำคัญ: นวัตกรรม  การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  สื่อออนไลน์ When a woman has to be both “mother” and “labor”, “innovation” is necessary to be “partner” for supporting labor-mother to perform both functions in a balanced manner. The objectives of this qualitative research and development are 1) to develop an innovative medium to promote breastfeeding and 2) to extract lessons from the process of developing platform for innovations in breastfeeding promotion by creating 2 platforms including website and YouTube channel, which has gathered and disseminated innovations in 3 form of online media such as video clips, infographics, and digital printed files media. These medias were made to the target groups of mothers who are preparing for breastfeeding, their close people, general public, as well as those who work in breastfeeding promotion sectors. The CIPP Evaluation Model, developed by Daniel Stufflebeam, was used to evaluate project progress in form of formative evaluation in during project execution through to end of the project with an emphasis on the participation process between researchers. experts in various fields, and users. Online questionnaires was used to evaluate utilization of 2 platforms during January to March 2019 with 109 website visitors and 107 viewers of Youtube channel. Frequency, percentage, and mean were used to analyze data. As a result of the lessons learned, it was found that the key conditions affecting the implementation of the project were consideration of diversity of users, especially mothers who are raising children who have limitations and conditions for living and working differently. Moreover, the processes for the involvement of stakeholders in the development of innovations in accordance with their needs and uses are also significant condition. In addition, proactive breastfeeding practitioners, who work closely with and understand the practice of breastfeeding and the context of the mother's needs, should be encouraged to develop their own innovations which can be applied to their work context. Keywords: Innovation, Breastfeeding, Online Media

Downloads

Download data is not yet available.

References

เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์. (2553). Breastfeeding: ความสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. ใน นิพรรณพร วรมงคล (บรรณาธิการ). คู่มือการอบรมผู้เชี่ยวชาญการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. พิมพ์ครั้งที่ 2. (หน้า 20-30.) กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

Hannula, L.S., Kaunonen, M.E., & Puukka, P.J. (2014). A Study to Promote Breast Feeding in The Helsinki Metropolitan Area in Finland. Midwifery, 30(6), 696-704.

ชัยวัฒน์ อภิวันทนา, ศศิชล หงษ์ไทย, จันทิรา สุโพธิ์, สุจิตรา บางสมบุญ, เยาวลักษณ์ กาญจนะ, บุษรา ใจแสน, และมลิ บวบทอง. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน. ใน รายงานการวิจัย. อุดรธานี: ศูนย์อนามัยที่ 8.

สุกัญญา แสงตุ่น. (2543). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลี้ยงทารกด้วยนมมารดาของมารดาทารกน้ำหนักน้อยในโรงพยาบาลของรัฐ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ วท.ม. (สุขศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จิราพร หอมชะเอม. (2552). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จนถึงอายุ 6 เดือนของแม่ที่มารับบริการที่คลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วิทยานิพนธ์ วท.ม. (สุขศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ยุพยง แห่งเขาวนิช. (2558). สร้างงานดี ชีวีมีสุขด้วยนมแม่. ใน ศิริพัฒนา ศิริธนารัตนกุล (บรรณาธิการ). เอกสารประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติ ครั้งที่ 5 ภาคีร่วมใจ ช่วยแม่ไทยให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่. (หน้า 74-76.). วันที่ 2-4 กันยายน 2558 โรงแรมมณเฑียรริเวอร์ไซด์ กรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ: ปริ้นท์แอนด์มอร์ จำกัด.

ภัทรพรรณ ทำดี. (2562). เมื่อแม่ต้องกลับไปทำงาน: ภาวะยากลำบากสำหรับแม่ทำงานในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. วารสารพัฒนาสังคม, 21(1), 77-94.

รัตนะ บัวสนธ์. (2556). รูปแบบการประเมิน CIPP และ CIPPIEST มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและถูกต้องในการใช้ CIPP and CIPPIEST Evaluation Models: Mistaken and Precise Concepts of Applications. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(2), 7-24.

Giddens, A. (1991). Modernity and Self-Identity: Self and Society in The Late Modern Age. Cambridge: Polity Press.

Ritzer, G. (2007). Contemporary Sociological Theory and Its Classical Roots, The Basics. 2nd ed. New York: McGraw-Hill.

Jones, P. (2003). Introducing Social Theory. Cambridge: Polity Press.

Downloads

Published

2022-06-29

How to Cite

ทำดี ภ. (2022). บทเรียนจากการพัฒนาสื่อกลางนวัตกรรมส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (LESSONS FROM THE DEVELOPMENT OF PLATFORM FOR INNOVATIONS IN BREASTFEEDING PROMOTION). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 14(27, January-June), 102–118. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/14490