วัจนกรรมที่ปรากฏในจดหมายของคนฆ่าตัวตาย (SPEECH ACTS USED IN SUICIDE NOTES)
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัจนกรรมที่ปรากฏในจดหมายของคนฆ่าตัวตาย เก็บข้อมูลจากจดหมายของคนฆ่าตัวตายที่มีการเผยแพร่และนำเสนอในเว็บไซต์ข่าวออนไลน์ ได้แก่ https://www.thairath.co.th, https://www.khaosod.co.th และ https://www.dailynews.co.th ตั้งแต่ พ.ศ. 2560-2563 รวมจำนวนทั้งสิ้น 48 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลตามแนวคิดวัจนกรรมของจอห์น อาร์ เซอร์ล ผลการศึกษาพบว่า ในจดหมายของคนฆ่าตัวตายมีการใช้วัจนกรรม 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) วัจนกรรมกลุ่มบอกกล่าว ประกอบด้วย วัจนกรรมการบอกเล่า 2) วัจนกรรมกลุ่มชี้นำ ประกอบด้วย วัจนกรรมการขอร้อง วัจนกรรมการสั่งสอน วัจนกรรมการปรารถนา 3) วัจนกรรมกลุ่มแสดงความรู้สึก ประกอบด้วย วัจนกรรมการขอโทษ วัจนกรรมการขอบคุณ วัจนกรรมการตำหนิ วัจนกรรมการอำลา วัจนกรรมการให้กำลังใจ วัจนกรรมการอวยพร วัจนกรรมการแสดงความสิ้นหวังและท้อแท้ วัจนกรรมการแสดงความรัก เมื่อพิจารณาการใช้วัจนกรรมในภาพรวมพบว่า มีการปรากฏวัจนกรรมในจดหมายฆ่าตัวตายทั้งสิ้น 133 ถ้อยคำ ซึ่งปรากฏวัจนกรรมกลุ่มแสดงความรู้สึกมากที่สุด 65 ถ้อยคำ คิดเป็นร้อยละ 48.87 รองลงมาคือ วัจนกรรมกลุ่มชี้นำ 37 ถ้อยคำ คิดเป็นร้อยละ 27.82 และวัจนกรรมกลุ่มบอกกล่าวปรากฏน้อยที่สุด 31 ถ้อยคำ คิดเป็นร้อยละ 23.31 คำสำคัญ: วัจนกรรม จดหมาย การฆ่าตัวตาย This research aims to study speech acts found in suicide notes. The data has been compiled from suicide notes reported by online news website, namely https://www.thairath.co.th, https://www.khaosod.co.th, https://www.dailynews.co.th between 2017 and 2020, totaling 48 items. The data analysis is conducted based on speech acts theory of Searle (1976). The results prove that speech acts in suicide notes can be divided into three groups as follows: 1) assertives, for example, informing; 2) directives, for instance, requesting, instructing and desiring; 3)expressives, for example, apologizing, thanking, complaining, expressing condolences, encouraging, wishing, depressing, and caring. In overall, 133 phrases of speech acts are used in suicide notes. of those, expressives are mostly found at 65 phrases, accounting for 48.87%, followed by 37 phrases of directives, accounting for 27.82% and 31 phrases of representatives, accounting for 23.31%. Keywords: Speech Acts, Notes, SuicideDownloads
References
World Health Organization. (2019). World Report on Violence and Health. Retrieved November 14, 2020, from https://www.who.int/
violence_injury_prevention/violence/world_report/chapters/en/
กรมสุขภาพจิต. (2563). รายงานจำนวนฆ่าตัวตายของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.dmh.go.th/report/suicide/
stat_prov.asp
Durkheim, E. (1897). Suicide, a Study in Sociology. London: Routledge.
Searle, J. R. (1969). Speech Acts: An Essay in The Philosophy of Language. Cambridge University Press.
ทรงธรรม อินทจักร. (2550). แนวคิดพื้นฐานด้านวัจนปฏิบัติศาสตร์ (Fundamental Concept of Pragmatics). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2545). ภาษาในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์. (2563). รายงานสถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์ข่าวออนไลน์ในประเทศไทยของสมาชิกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ โดยทรูฮิตส์ (truehits). สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2563, จาก https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2794699237425406&id=1449592935269383
Cavanagh J. T., Carson A. J., Sharpe M., Lawrie S. M. (2003). Psychological Autopsy Studies of Suicide: A Systematic Review. Psychological Medicine, 33(3), 395-405.
อนุพงศ์ คำมา. (2556). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายสำเร็จ : กรณีศึกษาจังหวัดสุโขทัย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 58(1), 3-16.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Copyright (c) 2022 วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.