การส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของเด็กวัยเรียน (AN ENHANCEMENT OF A CHANGE IN CONSUMPTION BEHAVIOR OF SCHOOL-CHILDREN)
Abstract
ในปัจจุบันปัญหาโภชนาการของเด็กวัยเรียนมีเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่ส่งผลให้เด็กวัยเรียนมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม งานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาถึงพฤติกรรมการบริโภคของเด็กวัยเรียนในการเลือกรับประทานอาหาร และสร้างแนวทางในการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กในวัยเรียน เพื่อให้เด็กวัยเรียนเลือกรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ โดยจะศึกษาถึงพฤติกรรมการบริโภคของนักเรียนระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 4-6 และมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 1,192 คน จาก 4 โรงเรียน เครื่องมือวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS ด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ร้อยละ และค่าไคสแควส์ (Chi-Square test) และนำผลการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลมาใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของเด็กวัยเรียน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 66 คน จาก 2 โรงเรียน เป็นต้นแบบในการศึกษาทดลอง ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมหลายอย่างด้วยกัน ได้แก่ การรับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ การไม่รับประทานผัก ผลไม้ การรับประทานอาหารที่มีรสจัด อาหารสำเร็จรูป การรับประทานขนมที่ไม่มีประโยชน์ และเลือกดื่มเครื่องดื่มที่ไม่มีประโยชน์ เช่น น้ำอัดลม ชา กาแฟ โออิชิ โอเลี้ยง เป็นต้นการทดสอบความสัมพันธ์พบว่า เด็กวัยเรียนทุกระดับชั้นมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารลอกเลียนแบบกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 0.05 รายได้ของครอบครัวมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารประเภทหมูไก่ ปลา หรือเนื้อ และการดื่มนม ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 0.05 และมีความสัมพันธ์กับการรับประทานอาหาร 5 หมู่ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 0.10 การได้รับการอบรมเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดจากผู้ปกครองมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารครบ 5 หมู่ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 0.10 เจตคติมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารประเภทผัก การบริโภคอาหารที่สะอาด อาหารครบ 5 หมู่ และการดื่มนม ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 0.001 เท่ากัน และมีความสัมพันธ์กับการบริโภคอาหารครบ 3 มื้อ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 0.05 เด็กวัยเรียนมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารหลังเข้าร่วมโครงการถูกสุขลักษณะกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ คือ ระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 มีพฤติกรรมการบริโภคหลังเข้าร่วมโครงการถูกสุขลักษณะกว่าในการรับประทานผักเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.00 การรับประทานผลไม้เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.19 การรับประทานอาหารครบ 5 หมู่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.19 การรับประทานอาหารสำเร็จรูปบรรจุถุงพลาสติกลดลงร้อยละ 0.81 การรับประทานอาหารที่มีรสจัดลดลงร้อยละ 0.78 และการรับประทานลูกอม ลูกกวาดลดลงร้อยละ 0.39 และระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1–6 มีพฤติกรรมการบริโภคหลังเข้าร่วมโครงการถูกสุขลักษณะกว่าในการรับประทานอาหารสำเร็จรูปบรรจุถุงพลาสติก ลดลงร้อยละ 0.77 การรับประทานลูกอม ลูกกวาด ลดลงร้อยละ 2.26 การดื่มเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ โออิชิ โอเลี้ยง ลดลงร้อยละ 1.44 และดื่มน้ำอัดลม ลดลงร้อยละ 0.71คำสำคัญ: การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การบริโภค เด็กวัยเรียนProblem concerning child and adolescence nutrition are growing at present due to many factors that lead to improper eating habits among school-children. This research, thus, aimed to examine the consumption behavior in terms of food choices among school-children and then develop the guidelines to encourage their behavioral change proper and healthy diets for their age. The study covered 1,192 samples of 4th-12th grade school-children from four schools in Chiang Mai City. The research quantitative analysis was preformed upon the result of descriptive statistics and Chi-square Test .The results of this ex ante study were used as background for the design of a pilot project on generating changes in eating habits among school-children, 66 samples of two sample groups, 5th graders and 10th graders of two schools in Chiang Mai City. The ex-ante study found most school-children had many improper eating behavior such as negligence of balanced diets, refusal to eat vegetables and fruits, preference for spicy and ready-made foods, eating junk snacks, and drinking no-health-benefit beverage like soda pop, tea, coffee, Oishi drinks and iced black coffee.Hypothesis testing using Chi-square test revealed the following results: The school-children in all grades have a demonstration effect in eating behavior with the level of significance 0.05. There exist the relationship between household income and a good eating behavior such as pork or chicken or fish or meat and milk drinking at the level of significance 0.05 and has a relationship with a balanced diet food at the level of significance 0.10, respectively. A good care from parents can be explained the eating behavior of balanced diet food at 0.10 level of significance. A good attitude in health has a relationship with eating behavior of vegetable, clean food, balanced diet food, and drinking milk at 0.001 level of significance and has a relationship with three meals eating a day at 0.05 level of significance. The test comparing the school-children before and after attending the program to change consumption behavior revealed that the 4th–6th grade school-children had changed their eating behavior after attended the program in term of greater consumption of vegetable by 4% and of fruits by 2.19%, better nutritional balance by 2.19%, cutting down on ready-made take-home food in plastic bags by 0.81%, cutting down spicy food by 0.78% and candy by 0.39. The 1st-6th grade school-children cutting down on ready-made take-home food in plastic bags by 0.77%, cutting down candy by 2.26%, less consumption of tea, coffee, Oishi drinks and iced black coffee by 1.44%, and frizzy soft drink by 0.71%.Keywords: A change in behavior, Consumption, School-childrenDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2011-05-01
How to Cite
พันธุ์ณรงค์ ส., & บุญยะเสนา พ. (2011). การส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของเด็กวัยเรียน (AN ENHANCEMENT OF A CHANGE IN CONSUMPTION BEHAVIOR OF SCHOOL-CHILDREN). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(5, January-June), 159–171. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/1442
Issue
Section
บทความวิจัย