ความฉลาดทางอารมณ์ การตระหนักในคุณค่าตนเอง และการรับรู้องค์การแห่งการเรียนรู้ของบุคลากร กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการรับรู้องค์การแห่งการเรียนรู้ 2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการรับรู้องค์การแห่งการเรียนรู้ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์และการตระหนักในคุณค่าตนเองกับการรับรู้องค์การแห่งการเรียนรู้ และ 4) ศึกษาตัวแปรพยากรณ์ที่สามารถทำนายการรับรู้องค์การแห่งการเรียนรู้ของบุคลากร กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นบุคลากรกรมสุขภาพจิตที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานส่วนกลางกรมสุขภาพจิต จำนวน 181 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามซึ่งประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ แบบสอบถามเกี่ยวกับการตระหนักในคุณค่าตนเอง และแบบประเมินการรับรู้องค์การแห่งการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า F-test ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า 1) การรับรู้องค์การแห่งการเรียนรู้โดยรวมของบุคลากรกรมสุขภาพจิตอยู่ในระดับสูง 2) บุคลากรกรมสุขภาพจิตที่มี อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง อายุการทำงาน และรายได้แตกต่างกัน มีการรับรู้องค์การแห่งการเรียนรู้แตกต่างกัน 3) ความฉลาดทางอารมณ์และการตระหนักในคุณค่าตนเองของบุคลากรกรมสุขภาพจิตมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้องค์การแห่งการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 4) ความฉลาดทางอารมณ์ด้านดี ความฉลาดทางอารมณ์ด้านเก่ง และการตระหนักในคุณค่าตนเอง สามารถร่วมกันพยากรณ์การรับรู้องค์การแห่งการเรียนรู้ของบุคลากรกรมสุขภาพจิต ได้ร้อยละ 53.3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01คำสำคัญ: ความฉลาดทางอารมณ์ การตระหนักในคุณค่าตนเอง การรับรู้องค์การThe purposes of this thesis were to analyze: 1) the level of the perceived learning organization; 2) the comparison of personal data with the perceived learning organization; 3) the relationship between emotional intelligence, self esteem, and the perceived learning organization; and 4) the variables that could predict the perceived learning organization of the Staff of the Mental Health Department. The sample size consisted of 181 staff members of the Department of Mental Health. Data was collected from a set of questionnaires as to acquire: personal data, emotional intelligence, self esteem and perceived learning organization. Percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test, Pearson’s product moment correlation coefficient, and stepwise multiple regression analysis were used to analyze the data. Results showed that; 1) the perceived learning organization of the Staff of the Mental Health Department was at a high level; 2) there were significant differences of age, education, personnel’s position, duration of employment and income which influence the perceived learning organization; 3) emotional intelligence and self esteem were positively correlated with the perceived learning organization at a statistical level of 0.01; and 4) section good and skillfullness of emotional intelligence and self esteem could together be used to predict the perceived learning organization of the Staff of the Mental Health Department 53.3% at a statistical level of 0.01.Keywords: Emotional intelligence, Self esteem, Perceived learning organizationDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2011-05-01
How to Cite
รุจิระชาคร ส., & สมุทรานนท์ ท. (2011). ความฉลาดทางอารมณ์ การตระหนักในคุณค่าตนเอง และการรับรู้องค์การแห่งการเรียนรู้ของบุคลากร กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(5, January-June), 113–127. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/1439
Issue
Section
บทความวิจัย