ผลกระทบจากการเปิดซูเปอร์เซ็นเตอร์ที่มีต่อร้านค้าปลีกขนาดเล็กในจังหวัดบุรีรัมย์ (THE EFFECT OF OPENING SUPERCENTER STORE TO SMALL RETAIL STORES IN BURIRAM PROVINCE)

Authors

  • วิมลรัตน์ เทียนวรรณ Srinakharinwirot University.
  • วรางคณา อดิศรประเสริฐ Srinakharinwirot University.
  • ศุภิณญา ญาณสมบูรณ์ Srinakharinwirot University.

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาผลกระทบจากการเปิดซูเปอร์เซ็นเตอร์ที่มีต่อร้านค้าปลีกขนาดเล็กในจังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้ประกอบการร้านค้าปลีกขนาดเล็กในจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 382 ราย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่าง ใช้การหาค่าที การวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันผลจากการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของคนเดียว จำหน่ายสินค้าประเภทอาหารสด มีประสบการณ์การดำเนินธุรกิจระหว่าง 3-5 ปี มีสถานที่ตั้งของร้านค้าอยู่ในชุมชน เช่น ตลาดสด โรงเรียน โรงพยาบาล และมีที่ตั้งของร้านค้าในอำเภอเมืองบุรีรัมย์ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีการปรับปรุงร้านค้าให้มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางการตลาด ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าการเข้ามาดำเนินกิจการของร้านค้าปลีกแบบซูเปอร์เซ็นเตอร์ในจังหวัดบุรีรัมย์ทำให้ผลการดำเนินงานของร้านค้าปลีกขนาดเล็กลดลง ร้านค้าปลีกขนาดเล็กที่มีลักษณะการมีกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของ ประเภทของร้านค้า ประสบการณ์ การดำเนินธุรกิจ และสถานที่ตั้งแตกต่างกันมีผลกระทบอันเนื่องมาจากการเข้ามาดำเนินกิจการของร้านค้าปลีกแบบซูเปอร์เซ็นเตอร์ในจังหวัดบุรีรัมย์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สภาพแวดล้อมทางการตลาดของร้านค้าปลีกมีความสัมพันธ์กับผลกระทบอันเนื่องมาจากการเข้ามาดำเนินกิจการของร้านค้าปลีกแบบซูเปอร์เซ็นเตอร์ในจังหวัดบุรีรัมย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คำสำคัญ: ผลกระทบ ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ร้านค้าปลีกขนาดเล็ก สภาพแวดล้อมทางการตลาดThe purpose of this study aims to study on the effect of opening supercenter store to small retail stores in Buriram province. The samples of this study are 328 retail store owners in Buriram province. The instrument of conducting the research is questionnaire. Descriptive statistics including frequencies, percentages, means, and standard deviations are used for data analysis. Inferential statistics used are Independent Sample t-Test, One-Way Analysis of Variance and Pearson Product Moment Correlation Coefficient.The research results are revealed that most of respondents are sole proprietary who sell fresh food with 3-5 years working experience as retailer. Most of their stores locate in Muang district, community areas such as market, school and hospital. Most of them improve their stores suitable for marketing environment. The influence of supercenter store have decreasing in small retail stores in Buriram province. The small retail stores with different in ownership, commercial experience and location have different effect of opening supercenter store in Buriram province at statistically significant level of 0.05 The marketing environment of the retail stores have relationship with effect of opening supercenter store in Buriram province at statistically significant level of 0.05. Keywords: The Effect, Supercenter Store, Small Retail Stores, Marketing Environment

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

วิมลรัตน์ เทียนวรรณ, Srinakharinwirot University.

สาขาวิชาการตลาด ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

วรางคณา อดิศรประเสริฐ, Srinakharinwirot University.

ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ศุภิณญา ญาณสมบูรณ์, Srinakharinwirot University.

ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2011-04-28

How to Cite

เทียนวรรณ ว., อดิศรประเสริฐ ว., & ญาณสมบูรณ์ ศ. (2011). ผลกระทบจากการเปิดซูเปอร์เซ็นเตอร์ที่มีต่อร้านค้าปลีกขนาดเล็กในจังหวัดบุรีรัมย์ (THE EFFECT OF OPENING SUPERCENTER STORE TO SMALL RETAIL STORES IN BURIRAM PROVINCE). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(4, July-December), 88–99. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/1417