การศึกษาแนวทางการพัฒนาการอ่านโน้ตแรกเห็นของนักเรียนไวโอลินขั้นพื้นฐาน กรณีศึกษา: ศูนย์ศึกษาดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไป วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Authors

  • สลิลทิพย์ ลิขิตวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล Mahidol University.
  • ปรีญานันท์ พร้อมสุขกุล มหาวิทยาลัยมหิดล Mahidol University.
  • อำไพ บูรณประพฤกษ์ มหาวิทยาลัยมหิดล Mahidol University.

Abstract

งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์การจัดการเรียนการสอนการอ่านโน้ตแรกเห็นของนักเรียนไวโอลินระดับพื้นฐานในศูนย์ศึกษาดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไป วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดลทั้งหมด 3 สาขา 2) สังเคราะห์แนวทางการพัฒนาการอ่านโน้ตแรกเห็นของนักเรียนไวโอลินขั้นพื้นฐาน ผู้ให้ข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ ครูสอนไวโอลินจำนวน 10 ท่าน และนักเรียนไวโอลินขั้นพื้นฐาน จำนวน 8 คน เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับครูผู้สอนและนักเรียนไวโอลิน หลังจากนั้นจึงจัดทำการสนทนากลุ่มกับครูผู้สอนทั้งหมด 10 ท่านเพื่อสังเคราะห์แนวทางการพัฒนาการอ่านโน้ตแรกเห็น  ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแบบพรรณนาวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด ผลการวิจัยพบว่า ส่วนแรก การจัดการเรียนการสอนการอ่านโน้ตแรกเห็นสามารถแบ่งออกเป็น 7 ด้าน 1) ด้านหลักสูตรและเนื้อหา โรงเรียนได้มีการจัดหลักสูตรวิชารวมวงและการสอบที่มีความเกี่ยวข้องกับการอ่านโน้ตแรกเห็น ซึ่งในแต่ละสาขาจะมีการจัดการหลักสูตรและครูแต่ละท่านมีการจัดเนื้อหาการสอนการอ่านโน้ตแรกเห็นที่ต่างกัน 2) ด้านครูผู้สอน ครูมีการปฏิบัติตนที่เหมาะสมและการจัดวางกิจกรรมอย่างเป็นระบบ โดยพบเจอปัญหาต่าง ๆ ระหว่างการสอนการอ่านโน้ตแรกเห็น 3) ด้านผู้เรียน ผู้เรียนส่วนมากมีความชื่นชอบและให้ความร่วมมือในคาบเรียนการอ่านโน้ตแรกเห็น 4) ด้านวิธีการสอน ครูมีวิธีการสอนซึ่งคำนึงถึงสภาพของผู้เรียนเป็นหลัก โดยมีวิธีการสอนที่หลากหลาย 5) ด้านวัตถุประสงค์ ครูส่วนมากเน้นการตั้งวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะด้านการอ่านโน้ตแรกเห็นและด้านอื่น 6) ด้านสื่อการสอน ครูทุกท่านมีการใช้สื่อการสอนอื่นนอกเหนือจากหนังสือเรียน เช่น สื่อเทคโนโลยี แบบฝึกหัดเสริม และการ์ดเกมเป็นต้น 7) ด้านการประเมินผล ครูส่วนมากจะประเมินผู้เรียนเป็นแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งมีครูบางกลุ่มจะประเมินในรูปแบบอื่น โดยมีเครื่องมือที่หลากหลายแต่มีเกณฑ์การประเมินที่คล้ายกันเป็นส่วนมาก ในส่วนที่สอง แนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนการอ่านโน้ตแรกเห็น ครูยึดหลักการอิงผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีการนำสื่อเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการสอนเพื่อปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย และพัฒนาผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถมีระบบการเรียนรู้ที่ดีขึ้นในด้านสมอง จิตใจ และร่างกายนอกจากการทักษะอ่านโน้ตแรกเห็น แนวทางการพัฒนานั้นต้องเน้นในเรื่องของการพัฒนาผู้เรียนเพื่อไปสู่อนาคตคำสำคัญ: การอ่านโน้ตแรกเห็น  แนวทางการพัฒนา  ไวโอลิน  นักเรียนขั้นพื้นฐานThe purposes of this qualitative research paper are 1) To study and analyze the teaching and learning management of sight-reading skills for beginner violin students in 3 branches of Mahidol University’s College of Music MCGP facilities. 2) To synthesize a guideline for enhancing the sight-reading skills of beginner violin students.  Key informants were divided into 2 groups: 10 violin teachers and 8 beginner violin students. Data were collected through in-depth interviews and focus groups discussion with 10 violin teachers. Data were analyzed using content analysis method. The results of the research show that sight-reading teaching and learning management can be divided into 7 aspects. 1) Curriculum and content: the school has organized a series of courses and examinations that involve sight-reading. In each branch, the curriculum is organized and each teacher has different sight-reading teaching content. 2) Teacher: teachers have proper behavior and systematic arrangements of activities, and they encountered problems in various fields. 3) Student: most of the students enjoy and cooperate in sight-reading class. 4) Teaching methods: they have a variety of teaching methods, and the state of the student is considered by adapting different methods of teaching. 5) Objectives: most teachers focus on setting objectives for developing sight-reading skills and other aspects. 6) Teaching materials: all teachers have used different media besides textbooks, technology media, card games and others that they consider the appropriate with each student’s suitability. 7) Evaluation: most teachers rate the students on child-centered basis, while some teachers evaluate in other ways and use of various tools with similar criteria. In the second part, the guidelines for the development of sight-reading teaching and learning recommend the teachers focus on the child-centered aspects.  Media technology should be used in teaching according to the era, so that students can have a better learning system to develop their brain, mind and body besides doing sight-reading. The development approach must focus on the development of students in terms of “be self-reliant.”keywords: Sight-reading, Enhancement, Violin, Beginner violin students

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

สลิลทิพย์ ลิขิตวิทยา, มหาวิทยาลัยมหิดล Mahidol University.

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดลCollege of Music, Mahidol University.

ปรีญานันท์ พร้อมสุขกุล, มหาวิทยาลัยมหิดล Mahidol University.

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดลCollege of Music, Mahidol University.

อำไพ บูรณประพฤกษ์, มหาวิทยาลัยมหิดล Mahidol University.

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดลCollege of Music, Mahidol University.

Downloads

Published

2021-12-31

How to Cite

ลิขิตวิทยา ส., พร้อมสุขกุล ป., & บูรณประพฤกษ์ อ. (2021). การศึกษาแนวทางการพัฒนาการอ่านโน้ตแรกเห็นของนักเรียนไวโอลินขั้นพื้นฐาน กรณีศึกษา: ศูนย์ศึกษาดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไป วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(26, July-December), 147–158. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/14106