การจัดการเรียนการสอนดนตรีของเตรียมอุดมดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล (TEACHING AND LEARNING MANAGEMENT OF PRE-COLLEGE, COLLEGE OF MUSIC, MAHIDOL UNIVERSITY)

Authors

  • ธัญญ์รภัสร์ ดิตถ์ดำรงสกุล มหาวิทยาลัยมหิดล Mahidol University.
  • ปรีญานันท์ พร้อมสุขกุล มหาวิทยาลัยมหิดล Mahidol University.
  • อำไพ บูรณประพฤกษ์ มหาวิทยาลัยมหิดล Mahidol University.

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการจัดการเรียนการสอนดนตรีของเตรียมอุดมดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ 2) แนวทางการจัดการเรียนการสอนดนตรีของเตรียมอุดมดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ด้วยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักคือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการเรียนการสอนดนตรีวิชาทักษะวิชาชีพพื้นฐานของเตรียมอุดมดนตรี จำนวน 13 คน ประกอบด้วย 1) ครูใหญ่ 1 คน และอาจารย์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตร 1 คน 2) อาจารย์ผู้สอนกลุ่มวิชาทักษะวิชาชีพพื้นฐาน 11 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและแบบสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผลการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยพบว่า ส่วนแรก สภาพการจัดการเรียนการสอนดนตรี แบ่งออกเป็น 5 ด้าน 1) ด้านหลักสูตรและเนื้อหามีการจัดวางเนื้อหาและเป้าหมายของแต่ละวิชาที่แตกต่างกันออกไป โดยครูผู้สอนคำนึงถึงความเหมาะสมกับผู้เรียนทั้งด้านเนื้อหาในรายวิชาและด้านการนำไปประยุกต์ใช้ 2) ด้านครูผู้สอน จะมีการวางแผนการจัดการเรียนการสอนและปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนให้เข้ากับผู้เรียนอยู่เสมอ และมีเทคนิคในการจัดการเรียนการสอนในแต่ละวิชาแตกต่างกันออกไป 3) ด้านกิจกรรม ในกลุ่มวิชาทฤษฎีมีการใช้กิจกรรมเสริมเพื่อเพิ่มความเข้าใจในการเรียน ส่วนกลุ่มวิชาปฏิบัติ ใช้กิจกรรมการลงมือทำจริง ปฏิบัติเสริมความเข้าใจในการเรียน 4) ด้านสื่ออุปกรณ์และสถานที่ มีการประยุกต์ใช้สื่อและอุปกรณ์อย่างหลากหลาย ซึ่งทางเตรียมอุดมดนตรี มีการจัดการและเตรียมความพร้อมให้อย่างครบถ้วน นอกจากนี้ครูผู้สอนยังนำสื่อออนไลน์ต่าง ๆ มาใช้ในการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 5) ด้านการวัดและประเมินผล ครูผู้สอนส่วนมากจะประเมินผู้เรียนแบบรายบุคคลตามพัฒนาการการเรียนรู้ ส่วนที่สอง แนวทางการจัดการเรียนการสอนดนตรี ส่วนมากเห็นว่ามีการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนและเนื้อหาการเรียนการสอนโดยการใช้เทคโนโลยีประกอบการเรียนการสอนให้มากขึ้น จัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะต่าง ๆ ของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้และทักษะในแต่ละรายวิชาไปพัฒนาต่อยอดการเรียนในอนาคตเองได้คำสำคัญ: การจัดการเรียนการสอนดนตรี  เตรียมอุดมดนตรี  ทักษะวิชาชีพพื้นฐานThis research aimed to study 1) the state of teaching and learning management of Pre-college, College of music, Mahidol University and 2) the guideline of teaching and learning management of Pre-college, College of music, Mahidol University. This research collected data through a semi-structured interview and non-participatory observation. The key informants are 13 persons involved in the management of music teaching consisting of 1) the principal 1 person and teachers involving in curriculum development 1 person, and 2) teachers teaching basic vocational skills 11 persons. A semi-structured interview forms and non-participatory observation form were used as research tools. The results were divided into two parts that, the first part, the music instructional management conditions were divided into 5 areas: 1) Curriculum and contents - The content and goals of each subject are laid out differently. The teachers select the content that is suitable for the learners in both course content and their application, 2) Teachers - Teachers will have a plan for teaching and learning to adapt to the students at all times and have different techniques in each subject, 3) Activities - Theoretical subjects use activities to enhance understanding of learning. Practical subjects use activities as a practice to enhance learning and understanding through the hands-on practice, 4) Media, equipment and location - There is a wide range of media and equipment applications which the facility of the Pre-college is fully organized and prepared. In addition, teachers also use various online media for maximum efficiency, and 5) Measurement and evaluation - Most teachers assess learners individually based on their learning development. For second part, guideline for teaching and learning music - Most of them saw that the teaching and learning models were developed by using technology for teaching and learning, thus resulting in teaching and learning that promote skills of the learners so that the learners can apply the knowledge and the skills in each course for further development in the future.Keywords: Teaching learning management, Pre-college, Basic vocational skills

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

ธัญญ์รภัสร์ ดิตถ์ดำรงสกุล, มหาวิทยาลัยมหิดล Mahidol University.

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดลCollege of Music, Mahidol University.

ปรีญานันท์ พร้อมสุขกุล, มหาวิทยาลัยมหิดล Mahidol University.

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดลCollege of Music, Mahidol University.

อำไพ บูรณประพฤกษ์, มหาวิทยาลัยมหิดล Mahidol University.

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดลCollege of Music, Mahidol University.

Downloads

Published

2021-12-30

How to Cite

ดิตถ์ดำรงสกุล ธ., พร้อมสุขกุล ป., & บูรณประพฤกษ์ อ. (2021). การจัดการเรียนการสอนดนตรีของเตรียมอุดมดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล (TEACHING AND LEARNING MANAGEMENT OF PRE-COLLEGE, COLLEGE OF MUSIC, MAHIDOL UNIVERSITY). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(26, July-December), 46–56. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/14092