การศึกษาและสร้างสรรค์ศิลปะจากเรื่องเล่าเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 พื้นที่วัดเขาทุเรียน (STUDY AND ART CREATION BASED ON THE STORIES OF WORLD WAR 2, WAT KHAO DURIAN AREA)

Authors

  • สาธิต ทิมวัฒนบรรเทิง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและสร้างสรรค์ศิลปะ ผู้วิจัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมข้อมูลจากเรื่องเล่าสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะจากเรื่องเล่าและทำให้วัดเขาทุเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ โดยศึกษาและวิเคราะห์ด้วยการใช้เกณฑ์ 1) แนวความคิด 2) หลักการทางศิลปะ การจัดองค์ประกอบภาพ รูปทรง พื้นผิว รูปและพื้น และสี และนำเรื่องเล่ามาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ศิลปะของผู้วิจัย จากผลการศึกษาและสร้างสรรค์ศิลปะ พบว่าทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่ประเทศไทยภายใต้ชื่อว่า “สงครามมหาเอเชียบูรพา” โดยทางบกมาทางจังหวัดเสียมราฐ ทางน้ำมาทางอ่าวไทย ทหารญี่ปุ่นตั้งค่ายขนาดใหญ่ที่เขาชะโงกและเขาทุเรียน ซึ่งชาวบ้านไม่ได้ให้ความช่วยเหลือหรือต่อต้าน แต่คนไทยเน้นการค้าขายเป็นหลัก ลักษณะของเชลยศึกไม่สวมเสื้อ นุ่งผ้าเตี่ยว ชาวบ้านสงสารนำอาหารมาให้แต่ญี่ปุ่นจะขัดขวาง มีการเผยแพร่วัฒนธรรมญี่ปุ่น อาทิ มีการเล่นละครภายในค่ายด้วยการแต่งกายเป็นหญิง ทหารญี่ปุ่นนิยมแก้ผ้าอาบน้ำ การทำขนมโมจิ ชาวบ้านไม่รู้จักขบวนการเสรีไทย ภายหลังจากญี่ปุ่นแพ้สงคราม ได้นำม้า ลา จำนวน 1,000 ตัว มาฆ่าให้ตาย ทหารญี่ปุ่นอดอยากมากต้องขุดมันกินหรือนำอุปกรณ์เครื่องใช้ เสื้อผ้า นาฬิกา และอาวุธมาแลกกับอาหาร มีทหารบางนายถึงกับใช้ปืนยิงตัวตาย ผลของสงครามทำให้เศรษฐกิจไทยตกต่ำเกิดภาวะเงินเฟ้อ มีการพิมพ์ธนบัตรออกใช้ในปริมาณเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว เป็นจุดเปลี่ยน ด้านศิลปวัฒนธรรม กรณี “ศิลป์ พีระศรี” และ “เหม เวชกร” และศิลปะแนวทาง “Abstract Expressionism” ในระยะเวลาต่อมา โดยการสร้างวัดเขาทุเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้คำสำคัญ: การสร้างสรรค์  สงครามโลกครั้งที่ 2  เขาทุเรียนThe purpose of this research is to study and to create work of art. The researcher aims to collect data from the stories told about World War 2 and create art work as a means to promote Wat Khao Durian as a learning center. The methodology applied in the study based on the following criteria 1) the concept of work and 2) principles of composition, shape and form, texture, background and colour. The stories told are applied to inspire the art creation. According to the researcher’s study and art creation, the work portrays the Japanese troops landing in Thailand during the period of “Greater East Asia War.” The troops travelled by the Gulf of Thailand and entered Thailand via Siam Riap. They built a big soldier camp at Khao Cha Ngok and Khao Durian. The villagers neither assisted nor resisted them. They focused only on trading with them. The war prisoners presented in the work were bare chested; they wore only pants. The villagers showed their sympathy by giving food to the prisoners but they were stopped by the Japanese soldiers. Inside the camp, there was a play. The soldiers all dressed as women. The Japanese soldiers enjoyed naked-bathing. The villagers did not know the Free Thai Movement. After the defeat of Japan in World War II, they brought out 1000 of horses and donkeys to kill. The Japanese soldiers were starved. They had to go out in the jungle to dig taros and potatoes for food. They even brought out appliances, clothes, watches, and weapons to trade for food. Some officers used guns to committed suicide. The war had a significant impact on the economy in Thailand: poor economy and inflation. The banknotes were issued more. It was the turning point of arts and culture as can be seen in the works of Silpa Bhirasri’s and Hem Wechakorn’s abstract expressionism in later time and the building of Wat Khao Durian as learning center.Keywords: Art Creation, World Warz 2, Wat Khao Durian Area

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

สาธิต ทิมวัฒนบรรเทิง, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒFaculty of Fine Arts, Srinakharinwirot University.

Downloads

Published

2021-12-21

How to Cite

ทิมวัฒนบรรเทิง ส. (2021). การศึกษาและสร้างสรรค์ศิลปะจากเรื่องเล่าเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 พื้นที่วัดเขาทุเรียน (STUDY AND ART CREATION BASED ON THE STORIES OF WORLD WAR 2, WAT KHAO DURIAN AREA). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(26, July-December), 159–174. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/14062