พระพุทธรูปสำริดศิลปะล้านนาสกุลช่างแพร่ (LANNA BRONZE BUDDHA IMAGE IN PHRAE SCHOOL)

Authors

  • ปริญญา นาควัชระ มหาวิทยาลัยศิลปากร Silpakorn University.

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบวิวัฒนาการ และเพื่อกำหนดอายุของพระพุทธรูปสำริดกลุ่มที่มีลักษณะเฉพาะในพื้นที่จังหวัดแพร่ โดยผู้วิจัยดำเนินการสำรวจพระพุทธรูปกลุ่มดังกล่าวซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในท้องที่อำเภอเมืองแพร่ อำเภอสูงเม่น อำเภอลอง จังหวัดแพร่ รวมถึงในเขตอำเภอเวียงสา และอำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน อีกจำนวนหนึ่ง จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์เพื่อหาลักษณะเฉพาะ วิวัฒนาการ รวมถึงหลักฐานที่ใช้ในการกำหนดอายุ ผลการศึกษาพบว่า พระพุทธรูปสำริดกลุ่มดังกล่าวมีลักษณะเฉพาะ แตกต่างจากพระพุทธรูปในสกุลช่างอื่นที่พบในภาคเหนือ เช่น พระขนงมีลักษณะเป็นเส้นโค้ง ชายสังฆาฏิมีทั้งยาวจรดพระนาภี ปลายแยกออกเป็นเขี้ยวตะขาบและยาวจรดพระเพลา ไม่เห็นปลาย และประทับนั่งขัดสมาธิราบ แสดงปางมารวิชัย โดยพระกรขวากางออกมากกว่าปกติ ซึ่งจากพุทธลักษณะที่ปรากฏสันนิษฐานได้ว่าน่าจะมีวิวัฒนาการมาจากพระพุทธรูปแบบสุโขทัย เนื่องจากได้พบตัวอย่างพระพุทธรูปแบบสุโขทัยที่วัดศรีดอนคำ อำเภอลอง และในตัวอย่างพระพุทธรูปที่วัดใหม่พม่า อำเภอลอง ยังปรากฏลักษณะพระพักตร์ที่มีความใกล้เคียงกับพระพุทธรูปแบบสุโขทัยด้วย ก่อนที่ในระยะต่อมาพระพุทธรูปกลุ่มนี้จะมีวิวัฒนาการจนเป็นลักษณะเฉพาะของตนเอง สามารถกำหนดอายุได้ว่าอยู่ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 20 ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 21 โดยสิ้นสุดลงเมื่ออาณาจักรล้านนาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าคำสำคัญ: พระพุทธรูป  จังหวัดแพร่  อาณาจักรล้านนาThis research aims to study a style, an evolution for date Bronze Buddha Images in Phrae School. The data were collected by surveying Bronze Buddha Images in Amphoe Muang Phrae, Amphoe Sung Men, Amphoe Long in Phrae Province and Amphoe Wiang Sa, Amphoe Tha Wang Pha, Nan Province. Then, the data were analysed for search characteristics, evolution and age evidences. The result of the study showed that those Bronze Buddha Images have characteristics, not the same as other Buddha Image Schools in Northern Thailand, such as curving eyebrows, two centipede outer robe or a shawl has long until paunch, All Buddha Images are in the posture of subduing demon (Maravijaya) with Virasana, right arm is more outstretched than other Schools. That characteristics showed that Bronze Buddha Image in Phrae Schools was developed from Sukhodaya Style because the Buddha Images in Sukhodaya Style are appear in Museum of Wat Sri Don Kham, Amphoe Long, and Bronze Buddha Image at Wat Mai Burma has some characteristics similar to Buddha Image in Sukhodaya Style. After that, the Bronza Buddha Images in Phrae School are developed. There were built between late 15th century A.D. to late 16th century A.D. and ended when the Lan Na Kingdom fell and combined with Burma.Keywords: Buddha Image, Phrae Province, Lan Na Kingdom

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

ปริญญา นาควัชระ, มหาวิทยาลัยศิลปากร Silpakorn University.

ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรDepartment of Art History, Faculty of Archaeology, Silpakorn University.

Downloads

Published

2021-06-30

How to Cite

นาควัชระ ป. (2021). พระพุทธรูปสำริดศิลปะล้านนาสกุลช่างแพร่ (LANNA BRONZE BUDDHA IMAGE IN PHRAE SCHOOL). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(25, January-June), 73–83. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/13710