ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพและการเลี้ยงดูของครอบครัวกับการติดสมาร์ทโฟนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 (THE CORRELATION BETWEEN FAMILY RELATIONSHIP, PARENTING STYLE, AND SMARTPHONE ADDICTION AMONG 7th TO 12th GRADERS)
Abstract
การวิจัยเชิงปริมาณนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพและการเลี้ยงดูของครอบครัวกับการติดสมาร์ทโฟนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามในปี พ.ศ. 2562 จำนวนผู้ตอบแบบสอมถาม 419 คน ในโรงเรียนแห่งหนึ่งในตำบลพยุหะ จังหวัดนครสวรรค์ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติกแบบทวิภาค (Binary Logistic Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า สัมพันธภาพและการเลี้ยงดูของครอบครัวมีความสัมพันธ์กับการติดสมาร์ทโฟนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 โดยนักเรียนที่มีสัมพันธภาพแบบธรรมดาและไม่ดีต่อครอบครัวมีสัดส่วนความเสี่ยงที่จะคลั่งไคล้และน่าจะติดสมาร์ทโฟนมากกว่านักเรียนที่มีสัมพันธภาพที่ดีต่อครอบครัวเป็น 2.2 เท่า (OR = 2.277, p = 0.011) และนักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบตามใจหรือถูกปล่อยปละละเลยหรือเข้มงวดมากเกินไปมีสัดส่วนความเสี่ยงที่จะคลั่งไคล้และน่าจะติดสมาร์ทโฟนมากกว่านักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบให้อิสระอย่างมีขอบเขตและไม่เข้มงวดจนเกินไปเป็น 1.9 เท่า (OR = 1.887, p = 0.031) นอกจากนี้ยังพบว่า ตัวแปรเพศ กิจกรรมที่ใช้บนสมาร์ทโฟน ระยะเวลาการใช้ และทัศนคติในการใช้สมาร์ทโฟน มีความสัมพันธ์กับการติดสมาร์ทโฟนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนว่า การสร้างสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว การอบรมเลี้ยงดูบุตรหลานแบบให้มีอิสระอย่างมีขอบเขตและไม่เข้มงวดจนเกินไป จะช่วยให้นักเรียนมีโอกาสติดสมาร์ทโฟนน้อยลงคำสำคัญ: การติดสมาร์ทโฟน สัมพันธภาพ การเลี้ยงดูของครอบครัว นักเรียนThis quantitative research aimed to study the correlation between family relationship, parenting style, and smartphone addiction among 7th to 12th graders. Data were collected in 2019 from 419 secondary of students in Nakhonsawan province. A binary logistic regression analysis was used to interpret the correlation. The study discovered that family relationship and parenting style correlated with smartphone addiction among students. The odds ratio for smartphone addiction of students with normal and poor family relationship compared to students with good family relationship was 2.2 times higher (OR = 2.23, P = 0.011). In addition, an indulgent, neglectful or authoritarian parenting style was revealed to have increased the odds ratio of smartphone addiction among students by 1.9 times (OR = 1.89, P = 0.031) when compared with an authoritative parenting style. Similarly, other factors such as sex, the type of activities and the time spent on smartphone, and attitudes toward smartphone use were noted to associate with smartphone addiction among secondary school students at a significance level of 0.05. The result from the research revealed that smartphone addiction proneness can be decreased by encouraging parents toward building good family relationships and an authoritative parenting style.Keywords: Smartphone Addiction, Relationship, Parenting Style, StudentDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2021-06-30
How to Cite
สังข์นาค ธ., & คำเรืองฤทธิ์ ส. (2021). ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพและการเลี้ยงดูของครอบครัวกับการติดสมาร์ทโฟนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 (THE CORRELATION BETWEEN FAMILY RELATIONSHIP, PARENTING STYLE, AND SMARTPHONE ADDICTION AMONG 7th TO 12th GRADERS). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(25, January-June), 49–60. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/13708
Issue
Section
บทความวิจัย