การศึกษาสภาพการณ์ปัจจุบันของผู้สูงอายุด้านความสุขในยุคไทยแลนด์ 4.0 ในกลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล (A STUDY OF THE CURRENT SITUATION OF HAPPINESS IN ELDERLY IN THAILAND 4.0 PERIOD IN THE CENTRAL PROVICES OF THAILAND)

Authors

  • วริศรา อินทรแสน มหาวิทยาลัยศิลปากร Silpakorn University.
  • วรรณวีร์ บุญคุ้ม มหาวิทยาลัยศิลปากร Silpakorn University.
  • คณิต เขียววิชัย มหาวิทยาลัยศิลปากร Silpakorn University.

Abstract

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์ปัจจุบันของผู้สูงอายุด้านความสุข ในกลุ่มจังหวัดปริมณฑล 2) วิเคราะห์องค์ประกอบของสังคมผู้สูงอายุด้านความสุขในยุคไทยแลนด์ 4.0 ในกลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล คือ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครปฐม และจังหวัดสมุทรปราการ ระหว่างเดือนกันยายน - พฤศจิกายน 2562 จากผู้สูงอายุ จำนวน 384 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม ผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาแบบวิธีการผสมผสานเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ศึกษาใน 5 มิติสำคัญ คือ มิติด้านร่างกาย มิติด้านอารมณ์และจิตใจ มิติด้านสังคม มิติด้านวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงในยุคไทยแลนด์ 4.0 และมิติด้านเศรษฐกิจ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามสภาพการณ์ปัจจุบันของผู้สูงอายุด้านความสุขที่สร้างขึ้นใหม่ตามนิยามวรรณกรรม ประกอบด้วย 2 ส่วน จำนวนข้อคำถาม 45 ข้อ 5 ระดับการประเมิน ร่วมกับประเด็นการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 4 ข้อ ซึ่งผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน โดยแบบสอบถามมีค่า IOC 0.67 และ 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์อัลฟ่า 0.979 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และตรวจสอบความตรงตามโครงสร้าง โดยสถิติวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA)ผลการศึกษาสภาพการณ์ปัจจุบันของผู้สูงอายุของผู้สูงอายุ ในกลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มิติที่มีความสำคัญมากที่สุดเรียงตามลำดับ คือ มิติด้านอารมณ์และจิตใจ มิติด้านสังคม มิติด้านร่างกาย มิติด้านวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงในยุคไทยแลนด์ 4.0 และมิติด้านเศรษฐกิจ และยังพบตัวแปรที่สำคัญในระดับมากที่สุด ได้แก่ 1) สามารถทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง 2) สามารถทำงานอดิเรกหรือกิจกรรมที่ชอบได้ด้วยตนเอง 3) สามารถรับเป็นความจริงของชีวิต เช่น การเกิด แก่ เจ็บ ตาย 4) สามารถมีความสุขใจจากการช่วยเหลือผู้อื่น 5) ความภาคภูมิใจและรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง 6) สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงและความเสื่อมถอยของร่างกาย 7) ความสัมพันธ์กับสังคมเพื่อนฝูง และผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของสังคมผู้สูงอายุด้านความสุขในยุคไทยแลนด์ 4.0 ในกลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ กลุ่มที่ 1 การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายและจิตใจ กลุ่มที่ 2 การมีส่วนร่วมกับสังคม/ชุมชน กลุ่มที่ 3 ความรู้ในการเข้าสู่สังคมออนไลน์ กลุ่มที่ 4 การวางแผนด้านการเงิน กลุ่มที่ 5 การดูแลสุขภาพร่างกายที่เหมาะสม และกลุ่มที่ 6 กิจกรรมทางศาสนาและความเชื่อคำสำคัญ: ความสุขของผู้สูงอายุ  สังคมผู้สูงอายุ  ไทยแลนด์ 4.0This study aimed to: 1) study the current situation of happiness in elderly in the central provinces of Thailand; 2) analyze the components of happiness in elderly in Thailand 4.0 society in the central provinces of Thailand (Nonthaburi, PathumThani, Nakhon Pathom, and Samut Prakan Province). The data were collected during February - October 2019 from 384 elderly people selected by cluster random sampling. Mix methods technique was used to conduct quantitative and qualitative data. Five important dimensions, namely physical dimensions, emotional and psychological dimensions, social dimension, cultural and changes in Thailand 4.0 dimensions, and economic dimensions were studied. A questionnaire of current situation of happiness in elderly according to literary definitions was created and used. It was consisted of two sections and 45 questions with five-tier Likert rating scale. Four in-depth interviews issues were also used and evaluated by three experts. The questionnaire showed IOC values ​​at 0.67, and 1.00, with Alpha coefficient 0.979. The collected data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, and structural validity check by the Exploratory Factor Analysis: EFA.The result of the current situation of happiness in elderly in the central provinces of Thailand, in over all, was found at a high level. When each aspect was individually considered it was found that the most important dimensions were: 1) emotional and psychological dimensions 2) social dimension 3) physical dimensions 4) cultural and changes in Thailand 4.0 dimensions, and 5) economic dimensions respectively. The findings also revealed the most important factors, found at the highest level: 1) able to do daily activities by oneself, 2) able to do hobbies or favorite activities by yourself, 3) able to accept as the truth of life, such as, born, getting old, death, 4) can be happy from helping others, 5) being proud and feeling self-worth, 6) can accept changes and deterioration of the body, 7) relations with friends' society. The analysis of the components of happiness of the elderly in Thailand 4.0 society era was consisted of six components, which were: Group 1 related to dealing with physical and mental changes, Group 2 Social / community participation, Group 3 online social knowledge, Group 4 financial planning, Group 5 appropriate health care, and Group 6 religious and beliefs activities.Keywords: Happiness of the Elderly, Elderly Society, Thailand 4.0

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

วริศรา อินทรแสน, มหาวิทยาลัยศิลปากร Silpakorn University.

ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรDepartment of Education Foundations, Faculty of Education, Silpakorn University.

วรรณวีร์ บุญคุ้ม, มหาวิทยาลัยศิลปากร Silpakorn University.

ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรDepartment of Education Foundations, Faculty of Education, Silpakorn University.

คณิต เขียววิชัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร Silpakorn University.

ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรDepartment of Education Foundations, Faculty of Education, Silpakorn University.

Downloads

Published

2021-06-29

How to Cite

อินทรแสน ว., บุญคุ้ม ว., & เขียววิชัย ค. (2021). การศึกษาสภาพการณ์ปัจจุบันของผู้สูงอายุด้านความสุขในยุคไทยแลนด์ 4.0 ในกลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล (A STUDY OF THE CURRENT SITUATION OF HAPPINESS IN ELDERLY IN THAILAND 4.0 PERIOD IN THE CENTRAL PROVICES OF THAILAND). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(24, July-December), 78–90. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/13675