ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้ากับค่าไฟฟ้าของครัวเรือนในประเทศไทย (THE RELATIONSHIP BETWEEN APPLIANCE FACTOR AND HOUSEHOLD ELECTRICITY EXPENDITURE IN THAILAND)
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้ากับค่าไฟฟ้าของครัวเรือน โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมครัวเรือนของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี พ.ศ. 2560 ตัวแปรตามที่ใช้ในการศึกษา คือ ค่าไฟฟ้าต่อเดือนของครัวเรือน ส่วนตัวแปรอิสระหลักในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ จำนวนอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ ที่ครัวเรือนครอบครองซึ่งจำแนกออกเป็น 9 ประเภท ตามนิยามของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ส่วนตัวแปรอิสระอื่น ๆ ประกอบด้วย ตัวแปรอิสระด้านประชากร เศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ได้แก่ ตัวแปรด้านเพศของหัวหน้าครัวเรือน อายุของหัวหน้าครัวเรือน รวมทั้งระดับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือน จำนวนสมาชิกในครัวเรือน รายได้ของครัวเรือน เขตที่อยู่อาศัย จำนวนห้องในที่อยู่อาศัย และประเภทที่อยู่อาศัยของครัวเรือน สำหรับการประมาณความสัมพันธ์ใช้การประมาณค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยด้วยวิธี Generalized Least Square (GLS) จากผลการวิจัยพบว่า เมื่อปัจจัยอื่น ๆ คงที่ จำนวนอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ครัวเรือนครอบครองมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับค่าไฟฟ้าต่อเดือนของครัวเรือน ยกเว้นเพียงเครื่องใช้ไฟฟ้าในกลุ่มอุปกรณ์ซักรีด ประกอบด้วย เครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้า และเตารีดไฟฟ้าที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับค่าไฟฟ้าของครัวเรือน นอกจากนั้นผลการวิจัยยังพบว่า เมื่อกำหนดให้ปัจจัยอื่น ๆ คงที่ หากครัวเรือนมีการครอบครองเครื่องปรับอากาศเพิ่มขึ้นจำนวน 1 เครื่อง จะทำให้ครัวเรือนมีภาระค่าไฟฟ้าส่วนเพิ่มสูงขึ้นมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ เครื่องทำน้ำอุ่น ปั๊มน้ำ และเครื่องคอมพิวเตอร์คำสำคัญ: เครื่องใช้ไฟฟ้า ค่าไฟฟ้าของครัวเรือน ปัจจัยด้านเครื่องใช้ไฟฟ้าIn this study, the main objective was to find out the relationship between the appliance factor and the household electricity expenditure. Secondary data from the “2017 Household Socio-Economic Survey” complied by the National Statistical Office were employed to this study. Regarding this work, the dependent variable was the monthly household electricity expenditure and the independent variables were appliance factor, including 9 categories of the electricity appliances and the household socio-economic factors, which were gender age-groups and level of education of household head. In addition, other household characteristics were also applied to this study, including number of household member, household income, area of residences, number of room, and types of residence. Generalized Least Square (GLS) method was adopted to this study to estimate the relationship between the dependent variable and the independent variables. From obtained results showed that, when other thing being equal, there was a positive relationship between number of the electricity appliances that household occupied and the household monthly electricity expenditure, the more electricity that household occupied, the more monthly electricity expenditure. Except, household whose occupied to the laundry appliances, there was a negative relationship between number of laundry appliances and the household monthly electricity expenditure. Furthermore, the results also showed that, when other thing being equal, an increase of the air-conditioner appliance, household had a highest marginal cost of electricity, followed by the water heater, the electricity water pump, and the computer devices.Keywords: Appliances, Household Electricity Expenditure, Appliance FactorsDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2021-06-24
How to Cite
เชยจิตร ร., & สุ่มอิ่ม ธ. (2021). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้ากับค่าไฟฟ้าของครัวเรือนในประเทศไทย (THE RELATIONSHIP BETWEEN APPLIANCE FACTOR AND HOUSEHOLD ELECTRICITY EXPENDITURE IN THAILAND). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(24, July-December), 50–65. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/13654
Issue
Section
บทความวิจัย