การพัฒนาแบบวัดสุขภาวะทางจิตสำหรับผู้สูงอายุไทย (DEVELOPMENT OF PSYCHOLOGICAL WELL-BEING FOR THAI ELDERLY)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ (1) พัฒนาแบบวัดสุขภาวะทางจิตสำหรับผู้สูงอายุไทยที่มีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ และ (2) ตรวจสอบโครงสร้างของสุขภาวะทางจิต กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ผู้สูงอายุ จำนวน 300 คน ในเขตกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดสุขภาวะทางจิตสำหรับผู้สูงอายุไทย มีจำนวน 24 ข้อ แต่ละข้อประกอบด้วยมาตราประเมินค่า 5 ระดับ (1) ไม่จริงเลย ถึง (5) จริงที่สุด การตรวจสอบโครงสร้างของสุขภาวะทางจิต ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่ 1 สนับสนุนว่าสุขภาวะทางจิตประกอบด้วย 5 องค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กัน ได้แก่ (1) สภาวะทางอารมณ์จิตใจทางบวก (2) การพึ่งพาตนเอง (3) สัมพันธภาพทางสังคม (4) มีที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ และ (5) ความยืดหยุ่น นอกจากนี้ผลจากโมเดลองค์ประกอบเชิงยืนอันดับที่สองพบว่าสุขภาวะทางจิตได้มาจากการรวมกันของ 5 องค์ประกอบ ผลจากตรวจสอบคุณสมบัติการวัดของแบบวัดสุขภาวะทางจิตสำหรับผู้สูงอายุไทยพบว่า มีคุณภาพที่ดีทั้งความเชื่อถือได้ชนิดความสอดคล้องภายใน ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง และความเที่ยงตรงเชิงเอกนัย แบบวัดสุขภาวะทางจิตสำหรับผู้สูงอายุไทยมีหลายมิติ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ รวมทั้งใช้ทดสอบทฤษฎีและพัฒนาองค์ความรู้สุขภาวะทางจิต คำสำคัญ: แบบวัดสุขภาวะทางจิต ผู้สูงอายุไทย คุณสมบัติการวัดทางจิตวิทยา The purposes of this study were (1) to develop valid and reliable psychological well-being for Thai elderly people and (2) to examine the factor structure of psychological well-being. The sample consisted of 300 elderly people in Bangkok. The instrument was the Elderly Psychological Well-Being Scale which contained 24 items. Each item was rated on a five-point Likert scale, from (1) never true of me to (5) always true of me. The data were analyzed using confirmatory analysis. The results from confirmatory factor analysis confirmed the first order factor structure model which consisted of 5 correlated factors such as (1) positive emotion (2) self-reliance (3) social relationship (4) having mind anchor and (5) resilience. Results from the second order confirmatory factor analysis also indicated that psychological well-being included the combination of 5 factors. The results also indicated the psychological well-being inventory had good psychometric properties: internal consistency reliability, construct validity, and convergent validity. The measure of psychological well-being scale is a multidimensional scale that has the potential for significant usage in the development and testing of theory, as well as practical application. Keywords: Psychological Well-Being Scale, Thai Elderly People, Psychometric PropertiesDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2020-06-30
How to Cite
ชูชม อ., บุญประกอบ พ., บุญประกอบ ม., ศรีจินดารัตน์ อ., & สุธรรมรักษ์ ส. (2020). การพัฒนาแบบวัดสุขภาวะทางจิตสำหรับผู้สูงอายุไทย (DEVELOPMENT OF PSYCHOLOGICAL WELL-BEING FOR THAI ELDERLY). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(23, January-June), 112–124. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/12709
Issue
Section
บทความวิจัย