ร้านค้าสะดวกซื้อในฐานะตัวแปรกำกับการจัดการภาพลักษณ์องค์กรปลายน้ำ (RETAILER BRAND TYPE AS MODERATOR OF CORPORATE IMAGE AT DOWNSTREAM MANAGEMENT MODEL)

Authors

  • สุนิสา ดอกไม้พุ่ม มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ Southeast Asia University.
  • นภาพร ขันธนภา มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ Southeast Asia University.
  • ระพีพรรณ พิริยะกุล มหาวิทยาลัยรามคำแหง Ramkhamhaeng University.

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับของการจัดการหน้าร้าน การจัดการฟื้นฟูเมื่อมีข้อผิดพลาด การจัดการทีมที่ส่งผ่านการมีส่วนร่วมในทีมและความสัมพันธ์ของทีม ต่อภาพลักษณ์องค์กรปลายน้ำของธุรกิจค้าปลีกร้านค้าสะดวกซื้อตรา A และตรา B และ (2) ศึกษาระดับอิทธิพลของตัวแปรที่เป็นบุพปัจจัยของธุรกิจค้าปลีกร้านค้าสะดวกซื้อตรา A และตรา B ซึ่งรูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้ข้อมูลจากแบบสอบถาม ในการสอบย้ำตัวแบบเชิงสาเหตุ และเปรียบเทียบความสามารถในการบริหารจัดการของพนักงานธุรกิจค้าปลีกร้านค้าสะดวกซื้อตรา A และตรา B ในฐานะตัวแปรกำกับ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานจากร้านค้าสะดวกซื้อจากตรา A และตรา B ที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวนกลุ่มละ 100 คน โดยแผนการสุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้สำหรับการวิจัยคือ แบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา (ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย สัมประสิทธิ์ความผันแปร) และสถิติอนุมาน ด้วยโมเดลสมการโครงสร้าง ผลการศึกษาพบว่า ในกลุ่มตัวอย่างร้านค้าสะดวกซื้อตรา A พบว่า อิทธิพลของการจัดการทีม ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในทีมและความสัมพันธ์ของทีมและอิทธิพลของการมีส่วนร่วมในทีม ส่งผลต่อภาพลักษณ์ขององค์กร อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ ในส่วนกลุ่มตัวอย่างร้านค้าสะดวกซื้อตรา B พบว่า อิทธิพลของการจัดการหน้าร้าน ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในทีมและอิทธิพลของการจัดการฟื้นฟูเมื่อมีข้อผิดพลาด ส่งผลต่อความสัมพันธ์ของทีม อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ ส่วนอิทธิพลของการจัดการหน้าร้าน ส่งผลต่อความสัมพันธ์ของทีม อิทธิพลของการจัดการทีม ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในทีมและความสัมพันธ์ของทีมและอิทธิพลของการมีส่วนร่วมในทีมและความสัมพันธ์ของทีม ส่งผลต่อภาพลักษณ์ขององค์กร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คำสำคัญ: การบริหารร้านค้า  ภาพลักษณ์องค์กร  อุตสาหกรรมค้าปลีกปลายน้ำThe objectives of this research are (1) to study the level of Storefront Management, Fault Recovery Management, and Team Management conveyed through the Team Involvement and Team Relationship on the corporate image at downstream business of retailers brand A and brand B and (2) to study the level of influence of the variables being the antecedents of the business of retailers brand A and brand B. This is the Quantitative Research using the information from the questionnaires in emphasizing the causal model and comparing the competence in the management of employees of the business of retailers brand A and brand B as the moderator. The sample group used in the research consists of the employees of the retailers brand A and brand B located in Bangkok for 100 employees each. The random plan is in several steps. The research tools are questionnaires and the data is analyzed by using the descriptive statistics (percentage, mean, coefficient of variation), inferential statistics, and Structural Equation Model (SEM). The results of the study reveal that in the sample group of convenience store brand A, the influence of team management affects team involvement and team relationships and the influence of team involvement affects the corporate image with statistical significance. In the sample group of convenience store brand B, it is found that the influence of storefront management affects the team involvement and the influence of fault recovery management affects the team relationship with statistical significance. The storefront management affects the team relationship and the team management affects team involvement and team relationship. The team involvement and team relationship affect the corporate image with statistical significance. Keywords: Store Management, Corporate Image, Downstream Retailer Industry

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

สุนิสา ดอกไม้พุ่ม, มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ Southeast Asia University.

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์Graduate School, Southeast Asia University.

นภาพร ขันธนภา, มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ Southeast Asia University.

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์Graduate School, Southeast Asia University.

ระพีพรรณ พิริยะกุล, มหาวิทยาลัยรามคำแหง Ramkhamhaeng University.

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงFaculty of Science, Ramkhamhaeng University.

Downloads

Published

2020-06-30

How to Cite

ดอกไม้พุ่ม ส., ขันธนภา น., & พิริยะกุล ร. (2020). ร้านค้าสะดวกซื้อในฐานะตัวแปรกำกับการจัดการภาพลักษณ์องค์กรปลายน้ำ (RETAILER BRAND TYPE AS MODERATOR OF CORPORATE IMAGE AT DOWNSTREAM MANAGEMENT MODEL). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(23, January-June), 86–97. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/12707