คุณภาพชีวิตของนักศึกษาแพทย์ในระดับชั้นคลินิก (THE QUALITY OF LIFE OF CLINICAL MEDICAL STUDENTS)

Authors

  • วิรงรอง สิตไทย มหาวิทยาลัยมหิดล Mahidol University.
  • ณิสา แจ้งบุญ มหาวิทยาลัยมหิดล Mahidol University.

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของนักศึกษาแพทย์ในระดับชั้นคลินิกตามองค์การอนามัยโลก ได้พัฒนาเครื่องมือในการประเมินแบบสอบถามทั้งฉบับยาวและฉบับย่อ ประเทศไทยได้นำพัฒนาแบบประเมินคุณภาพชีวิตฉบับย่อเป็นภาษาไทย มีจำนวน 26 ข้อ ประเมินจาก 4 ด้าน คือ ด้านสุขภาพกาย ด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม จำแนกตาม เพศ ชั้นปี เกรดเฉลี่ยสะสม และภาควิชาที่กำลังศึกษาอยู่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย นักศึกษาแพทย์ในระดับชั้นคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ที่กำลังศึกษาชั้นปี 4 - 6 ปีการศึกษา 2561 รวมทั้งสิ้น 260 คน ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาแพทย์ในระดับชั้นคลินิก มีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับดี (X = 84.87, S.D. = 10.167) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านสิ่งแวดล้อม (X = 26.57, S.D. = 1.715) ด้านสุขภาพกาย (X = 21.31, S.D. = 2.842) ด้านจิตใจ (X = 19.80, S.D. = 2.590) และด้านสัมพันธภาพทางสังคม (X = 10.97, S.D. = 1.1716) ตามลำดับ อยู่ในเกณฑ์คุณภาพชีวิตระดับปานกลาง โดยมีความสัมพันธ์กันทั้ง 4 ด้าน ผลการวิจัยในการจำแนกตามเพศ ชั้นปี เกรดเฉลี่ยสะสม และตามภาควิชาที่กำลังศึกษาอยู่ของการประเมินคุณภาพชีวิต ดังนั้นหากจะต้องพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ควรที่จะพัฒนาไปพร้อมกันทุกด้าน คำสำคัญ: คุณภาพชีวิต  นักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก  สัมพันธภาพทางสังคม This research aims to study and compare the quality of life of medical students at the clinical year by using questionnaires that develop life quality assessment forms for both long and short sets of WHO The Thai quality of life assessment questionnaire, which consists of 4 aspects, namely physical health, mental, social relationships, and environment, classified by gender, grade point average, year of study and the departments being studied. The sample consisted of medical students at the clinical year of faculty of Medicine Siriraj Hospital Mahidol University who are studying in year 4th - 6th, academic year 2018, a total of 260 people The research found that clinical year student have a good quality of life at a good level. When considering each aspect, it was found that the environmental aspect (X = 26.57, S.D. = 1.715) on physical health (X = 21.31, S.D. = 2.842), psychological aspects (X = 19.80, S.D. = 2.590) and social relations (X = 10.97, S.D. = 1.1716) respectively, in the middle quality of life, the relationship between the four aspects and according to the department that is studying the quality of quality of life assessment. Therefore, if we need to improve the quality of life, we need to develop simultaneously in all aspects. Keywords: Quality of Life, Clinical Medical Students, Social Relationships

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

วิรงรอง สิตไทย, มหาวิทยาลัยมหิดล Mahidol University.

งานบริการการศึกษา ฝ่ายการศึกษา คณะแพทยศาสตรศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลDivision of Education Affairs, Education Department, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University.

ณิสา แจ้งบุญ, มหาวิทยาลัยมหิดล Mahidol University.

งานบริการการศึกษา ฝ่ายการศึกษา คณะแพทยศาสตรศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลDivision of Education Affairs, Education Department, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University.

Downloads

Published

2020-06-30

How to Cite

สิตไทย ว., & แจ้งบุญ ณ. (2020). คุณภาพชีวิตของนักศึกษาแพทย์ในระดับชั้นคลินิก (THE QUALITY OF LIFE OF CLINICAL MEDICAL STUDENTS). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(23, January-June), 73–85. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/12706