การวิเคราะห์ความยากจนของผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงราย (AN ANALYSIS OF THE POVERTY IN ELDERLY IN CHIANG RAI PROVINCE)

Authors

  • ปวีณา ลี้ตระกูล มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย Chiang Rai Rajabhat University.

Abstract

การวิเคราะห์ความยากจนของผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ได้แก่ 1) เพื่อวิเคราะห์รายได้ ฐานะทางเศรษฐกิจ และสถานการณ์ความยากจน ของผู้สูงอายุของจังหวัดเชียงราย และ 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความยากจนของผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงราย การศึกษาในครั้งนี้การวิจัยแบบผสมทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ของผู้สูงอายุ จำนวน 526 ตัวอย่าง และมีสนทนากลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับนโยบายผู้สูงอายุของท้องถิ่น ผลการศึกษาพบว่า รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของผู้สูงอายุรวม เท่ากับ 5,670.25 บาทต่อเดือน รายได้หลักของผู้สูงอายุมาจากการทำงานมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่มีเงินออมและไม่มีการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยเกษียณ สำหรับสถานการณ์ความยากจนของผู้สูงอายุ พบว่า สัดส่วนของผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงรายที่ตกอยู่ในความยากจน คิดเป็นร้อยละ 29.47 ช่องว่างความยากจน คิดเป็นร้อยละ 14.57 และความรุนแรงของความยากจน คิดเป็นร้อยละ 8.76 เมื่อจำแนกตามลักษณะต่าง ๆ พบว่า ผู้สูงอายุในพื้นที่เมืองมีสัดส่วนความยากจนน้อยกว่าผู้สูงอายุในพื้นที่ชนบท กลุ่มผู้สูงอายุตอนต้นมีสัดส่วนความยากจนน้อยกว่าผู้สูงอายุตอนกลางและผู้สูงอายุตอนปลาย ผู้สูงอายุเพศชายมีสัดส่วนความยากจนมากกว่าผู้สูงอายุเพศหญิง ในขณะที่ผู้สูงอายุที่อยู่ลำพังกับหลานมีสัดส่วนความยากจน มากกว่าผู้สูงอายุกลุ่มอื่น ๆ นอกจากนี้ผู้สูงอายุที่มีการศึกษาน้อยมีสัดส่วนความยากจนมากกว่ากลุ่มผู้สูงอายุที่มีการศึกษาสูงเมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความยากจนโดยใช้แบบจำลองโพรบิต พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้ความยากจนของผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ ระดับการศึกษาต่ำ และการขาดเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุ ในขณะที่ปัจจัยที่ส่งผลให้ความยากจนของผู้สูงอายุลดลง คือ การทำงานหลังเกษียณอายุ จำนวนบุตรที่มีชีวิตอยู่เพิ่มขึ้น การมีเงินออมในครัวเรือน และการอาศัยในพื้นที่เมืองดังนั้นแนวทางลดความยากจนของผู้สูงอายุและครัวเรือน ได้แก่ การส่งเสริมการทำงานของผู้สูงอายุ การสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต (Lifelong Education) กับคนทุกวัย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุให้เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพและมีทักษะเพื่อรองรับความต้องการของนายจ้างหรือสถานประกอบการได้ การเตรียมความพร้อมก่อนวัยเกษียณ และการส่งเสริมการระบบการออมในครัวเรือนเป็นการลดความเสี่ยงในสถานการณ์ที่คาดไม่ถึงของครัวเรือนที่มีผู้สูงอายุ นอกจากนี้การสร้างระบบเพื่อการแบ่งเบาภาระของสมาชิกที่มีภาระพึ่งพา โดยรัฐจำเป็นต้องคัดกรองครัวเรือนดังกล่าวและเฝ้าระวังกลุ่มนี้เป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นครัวเรือนที่เปราะบางที่ตกอยู่ในภาวะยากจนโดยง่ายคำสำคัญ: ความยากจน  ผู้สูงอายุ  เมืองและชนบทThe objectives of this study were:1) to analyze an income and economic status and also the poverty situation of the elderly in Chiang Rai province and 2) to examine the factors affecting the poverty of the elderly in Chiang Rai province. This mixed method study recruited 526 observations for the sample group in responding to the questionnaire. The focus group discussion was conducted with the stakeholders involving in the policy and projects for the elderly in the local community. The results showed that average income per month was 5,670.25 baths and income from working was the primary source of income. However, the major of the elderly do not have saving and also not prepare before entering retirement. The situation of poverty in the elderly indicated that the ratio of the elderly fell into poverty scale 29.47%, poverty gap 14.57%, and severe poverty 8.76%. The results also showed that the elderly in the urban area held a lower poverty level than those in a rural area. The initial elderly (60-69 yrs.) held lower poverty ratio than those in intermediate elderly (70-79 yrs.) and terminal elderly (80 yrs. and above). The male elderly held higher poverty ratio than those female elderly. The elderly living alone with grandchildren showed higher poverty ratio than the other groups. The elderly with lower education showed higher poverty ratio than those having higher education.The analysis of factors affecting poverty by using Probit Model showed that the influential factors for poverty in the elderly were low education and lack of preparedness before retirement. The factors reducing poverty in the elderly were jobs after retirement, a number of living children, household saving, and living in urban area. The influential factors for economic inequality among the elderly were age, education, jobs after retirement, and household saving.The guidelines reducing poverty for the elderly were jobs promotion for the elderly; lifelong education for preparedness into qualified and skilled elderhood for employability readiness to employers and entrepreneurs; preparation before entering retirement, promoting household saving, and reducing unexpected circumstances for household having the elderly. Also, the system by the government in reducing the dependent household members needs to be set up for carefully monitoring and filtering these households which are considered vulnerable to poverty.Keywords: Poverty, Elderly, Urban and Rural

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

ปวีณา ลี้ตระกูล, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย Chiang Rai Rajabhat University.

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายFaculty of Management Science, Chiang Rai Rajabhat University.

Downloads

Published

2019-12-27

How to Cite

ลี้ตระกูล ป. (2019). การวิเคราะห์ความยากจนของผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงราย (AN ANALYSIS OF THE POVERTY IN ELDERLY IN CHIANG RAI PROVINCE). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(22, July-December), 95–110. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/12099