ผลการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สะเต็มศึกษากับการแก้ปัญหาโดยใช้รูปแบบกิจกรรม 4 WP สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สะเต็มศึกษากับการแก้ปัญหาโดยใช้รูปแบบกิจกรรม 4 WP สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 49 คน จากนักเรียนทั้งหมด 402 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือกิจกรรมวิทยาศาสตร์สะเต็มศึกษากับการแก้ปัญหาโดยใช้รูปแบบกิจกรรม 4 WP มีทั้งหมด 5 กิจกรรม ดำเนินการสอนโดยใช้เวลา 12 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 คาบ ทั้งหมด 24 คาบ คาบละ 50 นาที สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีผลการวิจัยพบว่า1. กิจกรรมวิทยาศาสตร์สะเต็มศึกษากับการแก้ปัญหาโดยใช้รูปแบบกิจกรรม 4 WP มีประสิทธิภาพ 76.04/73.21 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 70/70 เมื่อพิจารณาค่าร้อยละของคะแนนเฉลี่ยจากคะแนนทดสอบระหว่างเรียนในแต่ละกิจกรรม พบว่ากิจกรรมที่ 1 กิจกรรม Spaghetti Bridge กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมไข่ไก่ตกไม่แตก กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมหอคอยไม้เสียบลูกชิ้น กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมรถไฟรางกระดาษ และกิจกรรมที่ 5 กิจกรรม Spaghetti Tower มีค่าร้อยละของคะแนนเฉลี่ย 70.92, 82.86, 75.92, 86.53 และ 70.00 ตามลำดับ2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนกิจกรรมวิทยาศาสตร์สะเต็มศึกษากับการแก้ปัญหาโดยใช้รูปแบบกิจกรรม 4 WP ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 คิดเป็นร้อยละ 73.21 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .053. ผลการประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่มหลังเรียนกิจกรรมวิทยาศาสตร์สะเต็มศึกษากับการแก้ปัญหาโดยใช้รูปแบบกิจกรรม 4 WP พบว่าพฤติกรรมการทำงานกลุ่มหลังเรียนกิจกรรม Spaghetti Bridge และกิจกรรมไข่ไก่ตกไม่แตก ผลการประเมินอยู่ในระดับดี ส่วนพฤติกรรมการทำงานกลุ่มหลังเรียนกิจกรรมหอคอยไม้เสียบลูกชิ้นและกิจกรรมรถไฟรางกระดาษ ผลการประเมินอยู่ในระดับดีมากคำสำคัญ: สะเต็มศึกษา รูปแบบกิจกรรม 4 WPThe purposes of this study were to study STEM learning approach and problem solving using The 4WP format for mathayomsuksa III students, Patumwan Demonstration School, Srinakharinwirot University. The target group of this research were 402 mathayom suksa III students, academic year 2017. Forty-nine students of the specific selection were used as the sample for the STEM learning approach and problem solving using the 4WP format. There were 5 activities, taught in 12 weeks, with 2 periods of 24 periods of 50 minutes each. The data was analyzed by the percentage, mean, standard divation and t-test.The research findings were as follows:1. The results of the study indicated that the STEM learning approach and problem solving using the 4WP format attained their efficiency as 76.04/73.21. When considering the percentage of average scores from the test scores during each activity, it was found that Activity 1 Spaghetti Bridge, Activity 2 Dropping Eggs Without Breaking, Activity 3 Tower Wood Sticks, Activity 4 Paper Railroad Tracks, Activity 5 Spaghetti Tower had a mean percentage of 70.92, 82.86, 75.92, 86.53 and 70.00, respectively.2. The students' learning achievement after using the STEM learning approach and problem solving using the 4WP format were 73.21% higher than the criterion 70% at the .05 level.3. The results of the behavioral evaluation of the group after using the STEM learning approach and problem solving using the 4WP format showed that the working behavior after learning Spaghetti Bridge and Dropping Eggs Without Breaking Activity was good. The working behavior after learning Tower Wood Sticks and Paper Railroad Tracks Activity was very good.Keywords: STEM Learning Approach, 4WP FormatDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2019-12-27
How to Cite
รัศมีมารีย์ ค., ชื่นชมคุณาธร น., คงมนต์ ศ., นันทธเนศ พ., ธรรมบุศย์ พ., รอดมณี อ., & มุลอามาตย์ เ. (2019). ผลการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สะเต็มศึกษากับการแก้ปัญหาโดยใช้รูปแบบกิจกรรม 4 WP สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(22, July-December), 32–44. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/12086
Issue
Section
บทความวิจัย