การท่องเที่ยวเชิงแสวงบุญทางพระพุทธศาสนา อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี(THE BUDDHIST PILGRIMAGE TOURISM IN CHAIYA DISTRICT, SURAT THANI PROVINCE)

Authors

  • วนิดา ขำเขียว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Abstract

ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “การท่องเที่ยวเชิงแสวงบุญทางพระพุทธศาสนา อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาของพุทธสถานเพื่อการท่องเที่ยวเชิงแสวงบุญ อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของพุทธสถานเพื่อการท่องเที่ยวเชิงแสวงบุญทางพระพุทธศาสนา อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี 3) เพื่อศึกษาการท่องเที่ยวเชิงแสวงบุญทางพระพุทธศาสนา อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยเก็บข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview)ผลการวิจัยพบว่า เมืองไชยาเคยเป็นอาณาจักรเก่าแก่ที่มีกษัตริย์ปกครอง นับถือพระพุทธศาสนาแบบเถรวาท ต่อมาประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-16 อาณาจักรศรีวิชัยได้เกิดขึ้นภายใต้การปกครองของราชวงศ์ไศเลนทร์ ซึ่งนับถือพระพุทธศาสนาแบบมหายาน หลักฐานที่เป็นเครื่องยืนยันความเคารพศรัทธาในคติแบบมหายาน คือ รูปเคารพพระโพธิสัตว์ ซึ่งมีทั้งทำด้วยสำริดและแกะสลักด้วยศิลา อีกทั้งมีการสร้างพุทธสถานแบบมหายาน มีหลักฐานปรากฏร่องรอยให้ศึกษาได้ 4 แห่ง คือ 1) วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร 2) วัดรัตนาราม (วัดแก้ว) 3) วัดหลง 4) วัดธารน้ำไหล (สวนโมกขพลาราม)สภาพปัญหาและอุปสรรคของพุทธสถานเพื่อการท่องเที่ยวเชิงแสวงบุญทางพระพุทธศาสนา อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีอยู่ 3 ด้าน คือ 1) ปัญหาด้านบุคลากร คือการขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในการประยุกต์ประวัติศาสตร์และพระพุทธศาสนา โดยทำ 2 เรื่องให้เป็นเรื่องเดียวกัน และการขาดแคลนวิทยากรหรือผู้บรรยายพระพุทธศาสนาที่มีความรู้ทางประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในท้องถิ่น 2) ปัญหาด้านงบประมาณ คือการขาดงบประมาณในการอบรมวิทยากร มัคคุเทศก์ และเยาวชน ให้มีความรู้ทั้งพระพุทธศาสนาและประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในท้องถิ่น การขาดงบประมาณในการดูแลรักษาโบราณสถานและการขาดงบประมาณในการจัดการให้โบราณสถานเป็นแหล่งเรียนรู้ 3) ปัญหาด้านการบริหารและการจัดการ คือ ปัญหาในการจัดทำป้ายอธิบายข้อมูลและป้ายบอกทางภายในวัด ซึ่งแต่ละแห่งมีการจัดการที่แตกต่างกัน ปัญหาการจัดการที่มาจากภาครัฐโดยขาดการสนับสนุนประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่เกี่ยวโยงกับชาติและพระพุทธศาสนาการท่องเที่ยวเชิงแสวงบุญทางพระพุทธศาสนา อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีลักษณะการท่องเที่ยวที่สรุปได้เป็น 3 รูปแบบคือ 1) รูปแบบการท่องเที่ยวแบบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทางพระพุทธศาสนา 2) รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา 3) รูปแบบการท่องเที่ยวแบบปฏิบัติธรรม ทั้ง 3 รูปแบบนี้นักท่องเที่ยวได้หลักธรรมสำคัญ คือ ทาน ศีล ภาวนาและปัญญา แต่ระดับความเข้มข้นของหลักธรรมในแต่ละรูปแบบนั้นความเด่นชัดแตกต่างกันไป ถึงกระนั้นรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงแสวงบุญทางพระพุทธศาสนาทั้ง 3 รูปแบบนี้ แสดงออกถึงการบูชาพระรัตนตรัยทั้ง 2 ประการ คือ อามิสบูชาและปฏิบัติบูชา การท่องเที่ยวแบบนี้จึงเป็นการท่องเที่ยวที่ใช้พระพุทธศาสนาเป็นหลัก และเสริมด้วยวิชาการประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในท้องถิ่นคำสำคัญ: การท่องเที่ยวเชิงแสวงบุญ  การท่องเที่ยวเชิงแสวงบุญทางพระพุทธศาสนา  การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมThis dissertation entitled ‘The Buddhist Pilgrimage Tourism in Chaiya District, Surat Thani Province’ has 3 objectives: 1) to study the history of Buddhist sites for pilgrimage tourism, Chaiya district, Surat Thani, 2) to study the problems and difficulties of Buddhist sites for pilgrimage tourism, Chaiya district, Surat Thani province, and 3) to study the Buddhist pilgrimage tourism in Chaiya district, Surat Thani province. This is a qualitative research done by studying documentaries and in-depth interview.In the research, it was found that Chaiya was an ancient kingdom following Theravada Buddhism and later approximately 13-16 B.E. the Kingdom of Srivijaya had been established under the power of Shailendra dynasty wherein Mahayana Buddhism was highly practiced. In this respect, ample evidence of Mahayana Buddhism discovered, such as Mahayana Bodhisattva idolatry images made of bronze and stone and Mahayana Buddhist sites. In these sites, there are four places as follows: 1) Wat Phraparamadhãtuchaiyãrãjavaravihãra, 2) Wat Rattanãrãma (Wat Kaew), 3) Wat Long and 4) Wat Thannamlai (Saunmokkha).As regards the states of problems and obstacles faced by Buddhist sites concerning  Buddhist pilgrimage tourism, Chaiya district, Surat Thani province, three kinds of problems were found as follows: 1) a problem of staff; they lack competent staff who can understand and apply the history and Buddhism into one aspect and they also do not have Buddhist lecturers who can effectively communicate history and Buddhism in region to audiences, 2) a problem of budget; they do not have sufficient budget in training lecturers, guides and youths through Buddhism and Buddhist history in region; since they do not have proper budget, the ancient sites cannot be properly maintained. This gives rise to improper location for learning ancient sites, and 3) a problem of management and administration; they do not have sign boards giving necessary information or notice boards; in various places different problems were found. Some of the problems were caused due to not having government support for the regional history where its links were unavoidably concerned with nation and Buddhism.As far as Buddhist pilgrimage tourism in Chaiya district, Surat Thani province, is concerned, it can be characterized by the following three models 1) the model of paying homage to holy places and other sacrosanct objects, 2) the historical Buddhist tourist model, and 3) Dhamma practice model. Out of these models, tourists come to understand the essential Buddhist principles, giving, precept, cultivation and wisdom but the degree in each model varies. However, the mentioned three models have been exhibiting the paying due respect to Triple Gems, the worship with material things and practical worship. This kind of tourism can be regarded as the Buddhist tourism supported by regional historical Buddhist subjects.Keywords: The Pilgrimage Tourism, The Buddhist Pilgrimage Tourism, The Cultural Tourism

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

วนิดา ขำเขียว, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยBuddhist Studies, Graduate School, Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Downloads

Published

2019-06-21

How to Cite

ขำเขียว ว. (2019). การท่องเที่ยวเชิงแสวงบุญทางพระพุทธศาสนา อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี(THE BUDDHIST PILGRIMAGE TOURISM IN CHAIYA DISTRICT, SURAT THANI PROVINCE). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(21, January-June), 123–134. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/11393