การวิเคราะห์วรรณกรรมลายลักษณ์ เรื่อง ท้าวชมพูฉบับภาคใต้(AN ANALYSIS OF THE BUDDHIST LITERARY WORK ENTITLED ‘THAW JAMBU’ SOUTHERN VERSION)

Authors

  • พระมหาขนบ สหายปญฺโญ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
  • พระมหาสุขสันติ์ สุขวฑฺฒโน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
  • พระราช ปริยัติมุนี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
  • สมิทธิพล เนตรนิมิตร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติและพัฒนาการของวรรณกรรมลายลักษณ์ภาคใต้เรื่องท้าวชมพู 2) เพื่อวิเคราะห์วรรณกรรมลายลักษณ์เรื่องท้าวชมพูฉบับภาคใต้ 3) เพื่อวิเคราะห์หลักธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรมลายลักษณ์เรื่องท้าวชมพูฉบับภาคใต้ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงเอกสาร และการสัมภาษณ์การวิจัยพบว่า วรรณกรรมเรื่องนี้เป็นวรรณกรรมพระพุทธศาสนาประเภทหนังสือบุด เขียนด้วยตัวอักษรไทยแบบโบราณสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 2) ซึ่งเรียกว่าอักษร ไทยย่อ วรรณกรรมเรื่องนี้มีพัฒนาการมาจากพระสูตรเรื่อง ชมฺพูปติสุตฺต หรือชมพูบดีสูตร พระสูตรนี้เผยแผ่เข้าสู่ประเทศไทยโดยพระภิกษุชาวทิเบต และจากประเทศไทยได้เผยแผ่เข้าไปยังประเทศศรีลังกาในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศประมาณปี พ.ศ. 2298-2299 และหลังจากนั้นได้กระจายไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย วรรณกรรมเรื่องนี้เขียนด้วยคำประพันธ์ชนิดต่างๆ เช่น กาพย์ยานี กาพย์ฉบัง และกาพย์สุรางคนางค์ ซึ่งเป็นที่นิยมในภาคใต้ ด้านหลักธรรม ผู้แต่งได้นำหลักธรรม เช่น อกุศลมูล ไตรลักษณ์ และโลกุตรธรรม เสนอผ่านทางพฤติกรรมของตัวละครเอกคือท้าวชมพู ถึงแม้ว่าวรรณกรรมนี้จะไม่ได้อธิบายหลักธรรมดังกล่าวโดยตรง แต่ผู้อ่านก็สามารถเข้าใจหลักธรรมนั้นได้ นอกจากนั้นวรรณกรรมเรื่องนี้ยังแทรกคติความเชื่อด้านต่างๆ เช่น คติความเชื่อทางพระพุทธศาสนา คติความเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติ ตลอดจนถึงสภาพสังคมในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นอีกด้วยคำสำคัญ: วรรณกรรมลายลักษณ์  ท้าวชมพู  ภาคใต้This dissertation entitled ‘An Analysis of the Buddhist Literary Works Entitled ‘Jambupati’ Southern Thailand Version’ has three objectives: 1) to study the history and development of the southern literary work entitled Jambupati, 2) to analyze the southern literary work entitled Jambupati, and 3) to analyze Dharma doctrines as appeared in the southern literary work entitled “Jambupati.” This is a Qualitative research done by Studying documentaries including in-depth interview. In the research, it was found that the literary work is regarded as another kind of the Buddhist literature called ‘But’ which is alphabetically written by Thai ancient scripts of early Rattanakosindra period (King Rama the second) wherein the name ‘Thai Yor’ was used. This literary work was originally developed from the Sutta called ‘Jambupatisutta’ or ‘Jambupatisut’. It is believed that it was brought into Thai by a Tibetan Buddhist monk and from there it was also brought into Sri Lanka in the reign of the king called “Paramakosa” approximately 2298-2299 B.E., and after that it spread across all the regions of Thailand. In this work, various Thai styles of composition, such as psalm of ‘Yãnĩ, Chabang, Surãnganãnga etc. were used and this became popular in the southern region. As regards the Buddhist doctrines, the Unwholesome Roots of Action, Three Common Characteristics and Supramundane etc., were used while composing it through evil or protagonist character called ‘Jambupati’. The readers of this literary work can appreciate the essence of the story without having no direct explanation on those virtues. Besides this, many ideas on local beliefs, Buddhist doctrines, supernaturalism, for instance, were purposely and suitably added including social scenes in the early Rattanakossindra period.Keywords: Literary Work, Thaw Jambu, Southern

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

พระมหาขนบ สหายปญฺโญ, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยBuddhist Studies Programe, Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

พระมหาสุขสันติ์ สุขวฑฺฒโน, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยFaculty of Buddhism, Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

พระราช ปริยัติมุนี, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยFaculty of Buddhism, Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

สมิทธิพล เนตรนิมิตร, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยGraduate, Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Downloads

Published

2019-06-21

How to Cite

สหายปญฺโญ พ., สุขวฑฺฒโน พ., ปริยัติมุนี พ., & เนตรนิมิตร ส. (2019). การวิเคราะห์วรรณกรรมลายลักษณ์ เรื่อง ท้าวชมพูฉบับภาคใต้(AN ANALYSIS OF THE BUDDHIST LITERARY WORK ENTITLED ‘THAW JAMBU’ SOUTHERN VERSION). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(21, January-June), 88–101. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/11391