การพัฒนาออนโทโลยีนิทานพื้นบ้านอีสานเพื่อการสืบค้นและเข้าถึง (THE DEVELOPMENT OF ISAN FOLKTALE ONTOLOGY FOR INFORMATION ACCESS AND RETRIEVAL)
Abstract
บทความนี้เป็นการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาออนโทโลยีนิทานพื้นบ้านอีสานโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ขอบเขตและโครงสร้างความรู้นิทานพื้นบ้านอีสาน และพัฒนาออนโทโลยีนิทานพื้นบ้านอีสานเพื่อการสืบค้นและการเข้าถึง ในการศึกษาในครั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development Approach: R&D) โดยการวิเคราะห์เอกสาร (Document Analysis) เพื่อวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) คำศัพท์ แนวคิด ที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านอีสาน สังเคราะห์เนื้อหาเพื่อหาขอบเขตโครงสร้างความรู้เกี่ยวกับนิทานพื้นบ้านอีสาน โดยใช้แนวทางการจัดหมวดหมู่ (Library Classification) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวิเคราะห์เนื้อหานิทานพื้นบ้าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ นิทานพื้นบ้านอีสานที่ได้รับการปริวรรตแล้ว จำนวน 77 เรื่อง ส่วนการพัฒนาออนโทโลยีใช้แนวทางฟาเซ็ท (Facet Approach) ของ Prieto-Diaz [1] ผลการศึกษาพบว่า ขอบเขตและโครงสร้างเนื้อหาความรู้นิทานพื้นบ้าน สามารถจัดกลุ่มความรู้ได้ 8 กลุ่มความรู้ คือ ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหานิทาน ความเชื่อ ประเพณี ค่านิยม พิธีกรรม สถานที่ ตัวละคร วัตถุสิ่งของวิเศษ การพัฒนาออนโทโลยีนิทานพื้นบ้านอีสาน ประกอบด้วยกระบวนการ 1) กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อการอธิบายความรู้เกี่ยวกับนิทานพื้นบ้านอีสานให้เข้าใจอย่างชัดแจ้งสำหรับใช้เป็นเครื่องมือเข้าถึงความรู้ในนิทานพื้นบ้านอีสาน 2) การสร้างแบบจำลองแนวคิดการออกแบบและพัฒนาโดเมนออนโทโลยี 3) การสร้างออนโทโลยีสำหรับนิทานพื้นบ้านอีสาน ประกอบด้วย คลาสหลัก (Classes) 8 คลาส คือ (1) เนื้อหานิทานพื้นบ้าน (2) ความเชื่อ (3) ประเพณี (4) ค่านิยม (5) พิธีกรรม (6) สถานที่ (7) ตัวละคร (8) วัตถุสิ่งของวิเศษ คลาสย่อย (Subclass) จำนวน 48 คลาส และคุณสมบัติที่เป็นตัวกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างคลาส (Object Properties) จำนวน 58 รายการ ผลการประเมินออนโทโลยีนิทานพื้นบ้านอีสานโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า การจัดกลุ่มของคลาสภายในออนโทโลยีมีความเหมาะสมในระดับมาก มีค่า X = 3.00 คลาสในออนโทโลยีมีความครอบคลุมในการจัดเก็บความรู้เพียงพอมีความเหมะสมในระดับมาก มีค่า X = 3.00 ชื่อของคลาสภายในออนโทโลยีมีความเหมาะสมและสามารถสื่อความหมายได้เข้าใจ มีความเหมะสมในระดับมากที่สุดมีค่า X = 3.33 การจัดลำดับของคลาสภายในออนโทโลยีมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด มีค่า X = 3.00 คุณสมบัติหรือคุณลักษณะของคลาสสามารถอธิบายลักษณะของคลาสได้มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด มีค่า X = 3.67 ออนโทโลยีมีความสัมพันธ์ระหว่างคลาสมีความเหมาะสมในระดับมาก มีค่า X = 3.00 ชื่อความสัมพันธ์ระหว่างคลาสภายในออนโทโลยีมีความเหมาะสมและสามารถสื่อความหมายได้เข้าใจมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด มีค่า X = 3.33 ชื่อคุณสมบัติของชนิดข้อมูล (Data Type Properties) และรายละเอียดของชนิดข้อมูลมีความสอดคล้องกันมีความเหมาะสมในระดับมาก มีค่า X = 3.00 ภาพรวมของออนโทโลยีมีการออกแบบเหมาะสมสำหรับการนำไปใช้งานมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด มีค่า X = 3.33คำสำคัญ: ออนโทโลยี นิทานพื้นบ้านอีสาน การสังเคราะห์เนื้อหาThis research focusing on the development of Isan folktale ontology aimed to 1) analyze the knowledge of Isan folktale’s scopes and structures and 2) develop Isan folktale ontology for access and retrieval. The research and development (R&D) approach, including document analysis (analysis of contents, vocabulary and notions found in Isan folktales) was used in conducting the study. The library classification method was used for content synthesis to find the structure of knowledge about Isan folktales. The research instruments were folktale analysis forms. The population of the the study was 77 transformed Isan folktales. The ontological development was based on the facet approach by Prieto-Diaz [1].The study revealed that scopes and structures of Isan folktales can be categorized into 8 knowledge groups; knowledge about the contents of stories, beliefs, traditions, values, rituals, places, characters, and magical objects. The Isan folktale ontology developing process consists of 1) setting clear purposes for Isan folktale knowledge explanation to be used as a tool for Isan folktale knowledge access; 2) setting a concept model for ontology domain design and development; and 3) developing ontology for Isan folktales, which compiles of 8 main classes (contents of folktales, beliefs, traditions, values, rituals, places, characters, magical objects), 48 subclasses, and 58 object properties. The results of Isan folktale ontology evaluation by experts showed that the classification within the ontology are highly appropriate (X = 3.00). The classification within the ontology can adequately collect knowledge at a very high level (X = 3.00). The names of classes within the ontology are appropriate and can be understood at the highest level (X = 3.33). The classification of classes within the ontology is highly appropriate (X = 3.00). The class’s properties or the features can describe the class itself appropriately at the highest level (X = 3.67). Ontology has a very high level of relationship between classes at a high level (X = 3.00). The relationship names between classes within the ontology are appropriate and can be interpreted at the highest level (X = 3.33). The data type properties and data type details are consistent at a high level (X = 3.00). The ontology is well-designed and suitable for application at the highest level (X = 3.33).Keywords: Ontology, Isan Folktales, Content AnalysisDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2019-01-10
How to Cite
จันทะเดช อ., & กาบมาลา ม. (2019). การพัฒนาออนโทโลยีนิทานพื้นบ้านอีสานเพื่อการสืบค้นและเข้าถึง (THE DEVELOPMENT OF ISAN FOLKTALE ONTOLOGY FOR INFORMATION ACCESS AND RETRIEVAL). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(20, July-December), 191–206. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/10855
Issue
Section
บทความวิจัย