คุณสมบัติการวัดทางจิตวิทยาของแบบสอบถามการถูกปลูกฝังอุดมคติเกี่ยวกับความผอมในกลุ่มนักเรียนหญิงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (THE PSYCHOMETRIC PROPERTIES OF THE THAI THIN IDEAL INTERNALIZATION QUESTIONNAIRE IN FEMALE HIGH-SCHOOL STUDENTS)
Abstract
วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติการวัดทางจิตวิทยาของแบบสอบถามการถูกปลูกฝังอุดมคติเกี่ยวกับความผอมในกลุ่มนักเรียนหญิงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แบบสอบถามถูกพัฒนาขึ้นโดยทีมผู้วิจัย จำนวนทั้งหมด 21 ข้อ โดยประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การถูกปลูกฝังอุดมคติเกี่ยวกับความผอมจากครอบครัว กลุ่มเพื่อน และสื่อ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 1,372 คน ในการตรวจสอบความเที่ยงตรง แบบสอบถามได้รับการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 6 ท่าน จากนั้นจึงดำเนินการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ส่วนด้านความเชื่อมั่น (Reliability) ผู้วิจัยดำเนินการตรวจสอบสอดคล้องภายในด้วยการหาสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นด้วยวิธีสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach’s α) และค่าความเชื่อมั่นของตัวแปรแฝง (Construct Reliability) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพบว่า แบบจำลองการถูกปลูกฝังอุดมคติเกี่ยวกับความผอมซึ่งประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X = 1136.469; p < 0.01, RMSEA = 0.061, SRMR = 0.045, CFI = 0.917 และ TLI = 0.905) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแบบสอบถามรูปแบบการรับประทานอาหารมีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างที่ดี นอกจากนี้พบว่า แบบสอบถามมีความเชื่อมั่นสูง (Cronbach’s α = 0.841-0.937, Construct Reliability = 0.885 – 0.962) ผลการศึกษาสนับสนุนว่าแบบสอบถามการถูกปลูกฝังอุดมคติเกี่ยวกับความผอมเป็นแบบวัดที่มีคุณสมบัติการวัดทางจิตวิทยาที่เหมาะในการวัดการถูกปลูกฝังอุดมคติเกี่ยวกับความผอมสำหรับนักเรียนมัธยมปลายหญิง ซึ่งแบบสอบถามดังกล่าวจะเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการวิจัยและการปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับสุขภาวะทางจิตใจและพฤติกรรมวัยรุ่นหญิงต่อไปคำสำคัญ: นักเรียนหญิงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย วัยรุ่นหญิง แบบสอบถามการถูกปลูกฝังอุดมคติเกี่ยวกับความผอม ความเที่ยงตรง ความเชื่อมั่นThe objectives of the study were to develop and to evaluate the psychometric properties of the Thai Thin Ideal Internalization Questionnaire in female high-school students. The Thai Thin Ideal Internalization Questionnaire in (T-TIIQ), developed by the authors, total 21 items consists of 3 subscales; namely, Thin Ideal Internalization from family, peer, and media. The participants in this study were 1,372 female high-school students in Chiang Mai. For validity, the content validity was reviewed by 6 experts. Subsequently, confirmatory factor analysis was performed to examine construct validity. For reliability, Cronbach’s α reliability and construct reliability were conducted for evaluating the internal consistency. The confirmatory factor analysis revealed that the 3-factor model of the T-TIIQ had good fit with empirical data (X = 1136.469; p < 0.01, RMSEA = 0.061, SRMR = 0.045, CFI = 0.917 and TLI = 0.905), which demonstrated good construct validity. In addition, the T-TIIQ showed good reliability (Cronbach’s α = 0.841-0.937, and construct reliability = 0.885-0.962). These findings indicate the T-TIIQ as a psychometrically sound measure of eating for female high-school students. Thus, the T-TIIQ can be useful instrument for assessing Thin Ideal Internalization for mental health and female adolescent behavioral research and practice among female high school students.Keywords: Female High-School Students, Female Adolescent, The Thai Thin Ideal Internalization Questionnaire (T-TIIQ), Validity, ReliabilityDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2019-01-10
How to Cite
สกุลศรีประเสริฐ ส., อินตา ม., เมฆรา ม., & นุชประสพ ก. (2019). คุณสมบัติการวัดทางจิตวิทยาของแบบสอบถามการถูกปลูกฝังอุดมคติเกี่ยวกับความผอมในกลุ่มนักเรียนหญิงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (THE PSYCHOMETRIC PROPERTIES OF THE THAI THIN IDEAL INTERNALIZATION QUESTIONNAIRE IN FEMALE HIGH-SCHOOL STUDENTS). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(20, July-December), 176–190. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/10853
Issue
Section
บทความวิจัย