การพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ของครูตามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาในสังกัดเทศบาลนครตรัง

Authors

  • ศิลา สงอาจินต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช Nakhon Si Thammarat Rajabhat University.
  • นพรัตน์ ชัยเรือง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช Nakhon Si Thammarat Rajabhat University.
  • จำเริญ ชูช่วยสุวรรณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย Rajamangala University of Technology Srivijay.

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและความต้องการของผู้บริหารสถานศึกษาและครู เพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ของครูตามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 2) เพื่อสร้างรูปแบบการนิเทศการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ของครูตามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาในสังกัดเทศบาลนครตรัง 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการนิเทศการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ของครูตามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาในสังกัดเทศบาลนครตรัง 4) เพื่อประเมินผลการทดลองและปรับปรุงรูปแบบการนิเทศการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ของครูตามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาในสังกัดเทศบาลนครตรัง กลุ่มเป้าหมายเป็นครูผู้นิเทศ จำนวน 21 คน ครูผู้รับนิเทศ จำนวน 136 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t – test (Dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า การศึกษาข้อมูลพื้นฐานจากแหล่งข้อมูลเอกสาร ประกอบด้วยวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเชิงนโยบาย ข้อมูลพื้นฐานและความต้องการของผู้บริหารสถานศึกษาและครู พบว่าควรมุ่งพัฒนาโรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความสามารถทางด้านการจัดการศึกษา เพื่อนำผลการพัฒนาลงสู่ผู้เรียนมุ่งสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ แนวทางการจัดการเรียนการสอน โดยให้ผู้เรียนได้พัฒนาการศึกษา ค้นคว้าความรู้ต่างๆ ด้วยตนเอง โดยมีครูช่วยแนะนำและช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนแต่ละคนประเมินความก้าวหน้าของตนเอง โดยส่งเสริมเนื้อหาวิชาหลักสอดแทรกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เข้าไปในทุกวิชาแกนหลัก อีกทั้งควรส่งเสริมพัฒนาความรู้ของครู โดยใช้การนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน รูปแบบการนิเทศการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ของครูตามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาในสังกัดเทศบาลนครตรัง ใช้รูปแบบ "APPIE Model" ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน 1) ประเมินความต้องการ 2) การวางแผนการนิเทศ 3) การให้ความรู้ก่อนการนิเทศ 4) การดำเนินการนิเทศ และ 5) การประเมินผลการนิเทศ โดยจัดการอบรมเทคนิคการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ให้กับครูผู้นิเทศและครูผู้รับการนิเทศ ส่วนผลการประเมินการใช้รูปแบบการนิเทศการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ของครูตามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาในสังกัดเทศบาลนครตรัง อยู่ในระดับมาก ผลการประเมินสมรรถภาพการนิเทศของครูผู้นิเทศในการจัดการเรียนรู้ของครูตามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูผู้นิเทศ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูผู้นิเทศ อยู่ในระดับมาก ผลการประเมินสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูผู้รับการนิเทศ อยู่ในระดับมาก ผลการประเมินความพึงพอใจของครูผู้นิเทศและครูผู้รับการนิเทศที่มีต่อรูปแบบการนิเทศการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ของครูตามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในระดับมากคำสำคัญ: การนิเทศ  การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21The objectives of this research were 1) to study and analyze the basic information and the requirement of school’s administrator and teacher in order to increase the teacher’s efficiency in creating the learning activity according to the learning skills in the 21st century, 2) to create the Model of the class observing to increase the teacher’s efficiency in creating the learning activity according to the learning skills in the 21st century of schools under Trang municipality, 3) to test the pattern of the class observing to increase the teacher’s efficiency in creating the learning activity according to the learning skills in the 21st century of schools under Trang municipality, and 4) to evaluate the result and to improve the pattern of the class observing to increase the teacher’s efficiency in creating the learning activity according to the learning skills in the 21st century of schools under Trang municipality. The target group included 21 supervising teachers and 136 supervised teachers. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test (dependent) statistic and content analysis.This research’s result according to the study of information from document resource, consisting of basic policy information, basic information and requirement of school’s administrators and teachers revealed that schools, teachers and educational personnel had more knowledge and ability in education to pass on to the student’s academic excellence and learning activity method. The students could develop the self-study and knowledge searching with teacher to give them advice and create the activity that allowed the students to evaluate their own development. The content of the main subjects should be intensified and enhanced with the learning skills in the 21st century. Moreover, the ability of teachers under Trang municipality should be developed, using the class observing to improve the learning activity. The class observing pattern to increase the teacher’s efficiency in creating the learning activity according to the learning skills in the 21st century of schools under Trang municipality were applied in “APPIE Model” which consists of 5 steps; 1) estimate the requirement 2) plan the class observing 3) educate before observing 4) process the observing and 5) evaluate the observing’s result. The implementation of the model was attend training supervising teachers and supervised teachers on 21st century learning management techniques. The evaluation of the model found to be in the high level. The evaluation of the ability to supervise of the supervising teacher to the teacher’s efficiency in creating the learning activity according to the learning skills in the 21st century’s result was in the high level in average. The evaluation of the supervised teacher’s knowledge and understanding in learning activity in the 21st century’s result was in the high level. The evaluation of the supervised teacher’s efficiency to create the learning activity in the 21st century’s result is in the high level. The evaluation of the supervising teachers and supervised teachers’ satisfaction to the class observing pattern to increase the teachers’ efficiency in creating the learning activity according to the learning skills in the 21st century’s result was in the high level.Keywords: Teaching Supervision, Teachers’ Learning Management Abilities. 21st Century Learning Skills

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

ศิลา สงอาจินต์, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช Nakhon Si Thammarat Rajabhat University.

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชProgram of Educational Administration, Faculty of Education, Nakhon Si Thammarat Rajabhat University.

นพรัตน์ ชัยเรือง, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช Nakhon Si Thammarat Rajabhat University.

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชProgram of Educational Administration, Faculty of Education, Nakhon Si Thammarat Rajabhat University.

จำเริญ ชูช่วยสุวรรณ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย Rajamangala University of Technology Srivijay.

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยProgram of Science, Faculty of Science and Technology, Rajamangala University of Technology Srivijay.

Downloads

Published

2019-01-10

How to Cite

สงอาจินต์ ศ., ชัยเรือง น., & ชูช่วยสุวรรณ จ. (2019). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ของครูตามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาในสังกัดเทศบาลนครตรัง. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(20, July-December), 160–175. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/10852