การสื่อสารจุดจับใจด้านความเพ้อฝันผ่านการออกแบบเรขศิลป์สำหรับวัยทวีน (COMMUNICATING THE FANTASY APPEAL THROUGH GRAPHIC DESIGN FOR TWEENS)

Authors

  • ยศไกร ไทรทอง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

Abstract

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลำดับการเลือกใช้องค์ประกอบเรขศิลป์ และหลักการออกแบบเรขศิลป์เพื่อหาแนวทางในการสื่อสารจุดจับใจด้านความเพ้อฝันผ่านการออกแบบเรขศิลป์สำหรับวัยทวีนผู้ชายและวัยทวีนผู้หญิง ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามโดยการทบทวนวรรณกรรมจากหนังสือการออกแบบเรขศิลป์ทั้งหนังสือภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จำนวน 7 เล่ม ผู้วิจัยเลือกเก็บข้อมูลจากหนังสือทุกเล่มที่มีการกล่าวถึงซ้ำๆ กันคิดเป็นร้อยละ 50 ขึ้นไป เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการเลือกองค์ประกอบและหลักการออกแบบเรขศิลป์ที่มีความสำคัญ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า (1) องค์ประกอบเรขศิลป์ที่มีการกล่าวซ้ำกันร้อยละ 50 ขึ้นไป ได้แก่ (1.1) สี ร้อยละ 100 (1.2) รูปร่าง ร้อยละ 100 (1.3) พื้นผิว ร้อยละ 100 และ (1.4) เส้น ร้อยละ 85.71 และ (2) หลักการออกแบบเรขศิลป์ที่มีการกล่าวซ้ำกันร้อยละ 50 ขึ้นไป ได้แก่ (2.1) ความสมดุล (2.2) จังหวะ (2.3) การเน้น และลำดับความสำคัญ และ (2.4) เอกภาพ โดยทุกหลักการคิดเป็นร้อยละ 57.14 จากนั้นได้นำแบบสอบถามเก็บข้อมูลจากวัยทวีนอายุระหว่าง 8-14 ปี ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร แยกเป็นวัยทวีนผู้ชาย 193 คน และวัยทวีนผู้หญิง 195 คน ผลการวิจัยพบว่า (1) แนวทางในการสื่อสารจุดจับใจด้านความเพ้อฝันผ่านการออกแบบเรขศิลป์สำหรับวัยทวีนผู้ชาย ได้แก่ แนะนำให้นำไปใช้เพื่อการออกแบบเป็นอย่างยิ่ง จำนวน 11 องค์ประกอบ และแนะนำให้นำไปใช้เพื่อการออกแบบ จำนวน 11 องค์ประกอบ (2) แนวทางในการสื่อสารจุดจับใจด้านความเพ้อฝันผ่านการออกแบบเรขศิลป์สำหรับวัยทวีนผู้หญิง ได้แก่ แนะนำให้นำไปใช้เพื่อการออกแบบเป็นอย่างยิ่ง จำนวน 12 องค์ประกอบ และแนะนำให้นำไปใช้เพื่อการออกแบบ จำนวน 10 องค์ประกอบคำสำคัญ: การออกแบบเรขศิลป์  วัยทวีน  จุดจับใจ  ความเพ้อฝันThe purpose of this research is to study the sequence selection of graphic design element and graphic design principle to communicate the fantasy appeal through the graphic design for tween boys and tween girls. Then, researcher develops questionnaires by referring to the literature review about graphic design from 7 books of Thai and English, researcher has collected data from those books which have been referred in the same field more than 50% to select the most important principles applying for the graphic design. The study states that those percentages of (1) graphic element; (1.1) Color 100% (1.2) Shape 100% (1.3) Texture 100% (1.4) Line 85.71% (2) graphic design principle which 57.14% is rated for (2.1) Balance, (2.2) Rhythm, (2.3) Emphasis and Hierarchy, and (2.4) Unity. Then researcher collects data from tweens with 8-14 years old in Bangkok area; 193 tween boys and 195 tween girls. Research result has been found ways of communicating fantasy appeal through graphic design as follows; (1) for tween boys, 11 elements are highly recommended to be applied for design and 11 elements are recommended to be applied for design and (2) for tween girls, 12 elements are highly recommended to be applied for design and 10 elements are recommended to be applied for design.Keywords: Graphic Design, Tween, Appeal, Fantasy

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

ยศไกร ไทรทอง, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

หลักสูตรผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒCreative Products Program, College of Creative Industry, Srinakharinwirot University.

Downloads

Published

2019-01-10

How to Cite

ไทรทอง ย. (2019). การสื่อสารจุดจับใจด้านความเพ้อฝันผ่านการออกแบบเรขศิลป์สำหรับวัยทวีน (COMMUNICATING THE FANTASY APPEAL THROUGH GRAPHIC DESIGN FOR TWEENS). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(20, July-December), 117–131. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/10847