การเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมตามแนวคิดของ CASEL ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Authors

  • มนตรี อินตา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ Chiang Mai Rajabhat University.
  • สุพัตรา สกุลศรีประเสริฐ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ Chiang Mai Rajabhat University.

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมตามแนวคิดของ CASEL ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ศึกษาอิทธิพลของตัวแปรที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมตามแนวคิดของ CASEL ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นปีที่ 1-3 จำนวน 420 คน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเชียงใหม่ ที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบวัดการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคม เป็นลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 92 ข้อ มีองค์ประกอบครอบคลุม 5 ด้าน ได้แก่ 1) การตระหนักรู้ในตนเอง 2) การจัดการตนเอง 3) การตระหนักรู้ทางสังคม 4) ทักษะด้านสัมพันธภาพ 5) การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างข้อคำถามตั้งแต่ 0.218 ถึง 0.725 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.948 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) การเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมตามแนวคิด CASEL ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานคณะการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X = 3.67) โดยด้านการตระหนักรู้ทางสังคม มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด (X = 3.80) รองลงมาด้านการรับผิดชอบต่อการตัดสินใจ (X = 3.77) ด้านการตระหนักรู้ในตนเอง (X = 3.66) ด้านการจัดการตนเอง (X = 3.57) และด้านทักษะสัมพันธภาพ (X = 3.57) ตามลำดับ 2) อิทธิพลของตัวแปรที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมตามแนวคิดของ CASEL ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่า มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 5 ตัวแปร ได้แก่ โรงเรียนขนาดใหญ่ ผลการเรียน 1.00-1.50 ผลการเรียน 3.51-4.00 ผลการเรียน 3.01-3.50 และบิดามารดาอยู่ด้วยกัน ส่งผลต่อการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.359 มีค่าอำนาจการพยากรณ์ได้ร้อยละ 12.9 มีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ 0.41223 สามารถสร้างเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ            = 3.609 +.145 -.505 +.279 +.172 -.111 สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน     = .165Z -.167Z +.208Z +.167Z -.123Z คำสำคัญ: การเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคม  แนวคิด CASEL  นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นThe purposes of this study are to 1) study the social and emotional learning based on CASEL concept of the secondary school students under the office of the basic education commission and 2) study the influence of variables toward social and emotional learning based on CASEL concept of the secondary school students under the office of the basic education commission. The sample consisted of 420 students in grades 7-9 under the office of the basic education commission in Chiang Mai province and sampling technique was multi-stage sampling. The social and emotional learning scale has a rating scale of 5 levels. It has 92 items and consisted 5 components 1) Self-awareness 2) Self-management 3) Social-awareness 4) Relationship skill and 5) Responsible decision making. The item-total correlation coefficient ranged from 0.218 to 0.725 and reliability coefficient of the total scale was 0.948. Statistics employed for analyses of the data included Percentage, Mean, Standard deviation, Correlation coefficient and Stepwise Multiple Regression Analysis. The results of the research were as follows: 1) Social and emotional learning based on CASEL concept of the secondary school students under the office of the basic education commission was at high level in overall (X = 3.67). The Social-awareness in the highest level (X = 3.80) Responsible decision making (X = 3.77) Self-awareness (X = 3.66) Self-management (X = 3.57) and Relationship skills (X = 3.57) respectively. 2) The influence of variables toward social and emotional learning based on CASEL concept of the secondary school students under the office of the basic education commission by using Stepwise multiple regression analysis was found that 3 predictive variables were statistically significance at the 0.01 level, namely large school size grade-point-average GPA 1.00-1.50 GPA 3.51-4.00 GPA 3.01-3.50 and status of parents affecting on social and emotional learning of secondary school students. The Multiple correlation coefficients (R) was 0.359, the predictive power was 12.9 percent and standard error of the estimate was 0.41223. There were of the prediction equation in terms of raw scores predict equation and Standardized scores predict equation as follows. Raw scores predict equation               = 3.609 +.145 -.505 +.279 +.172 -.111 Standardized scores predict equation  = .165Z -.167Z +.208Z +.167Z -.123ZKeywords: Social and Emotional Learning, CASEL Concept, Secondary School Students

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

มนตรี อินตา, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ Chiang Mai Rajabhat University.

ภาควิชาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่Department of Psychology, Faculty of Education, Chiang Mai Rajabhat University.

สุพัตรา สกุลศรีประเสริฐ, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ Chiang Mai Rajabhat University.

ภาควิชาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่Department of Psychology, Faculty of Education, Chiang Mai Rajabhat University.

Downloads

Published

2019-01-10

How to Cite

อินตา ม., & สกุลศรีประเสริฐ ส. (2019). การเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมตามแนวคิดของ CASEL ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(20, July-December), 98–116. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/10846