การพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มที่มุ่งเน้นการกระทำเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมเอื้อสังคมของนิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร

Authors

  • ณัชวดี จันทร์ฟอง มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต Kasem Bundit University.
  • ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต Kasem Bundit University.
  • ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต Kasem Bundit University.

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมเอื้อสังคมของนิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยของรัฐ ในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มที่มุ่งเน้นการกระทำเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมเอื้อสังคมของนิสิตนักศึกษา และ 3) เพื่อประเมินผลของการใช้รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มที่มุ่งเน้นการกระทำ เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมเอื้อสังคมของนิสิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาพฤติกรรมเอื้อสังคม เป็นนิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ที่ได้จากการสุ่มหลายขั้นตอนจากประชากร และกลุ่มที่ 2 เป็นนิสิตชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจง จากนิสิตของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒที่อยู่ในกลุ่มที่ 1 ที่มีคะแนนพฤติกรรมเอื้อสังคมตั้งแต่เปอร์เซนไทล์ที่ 50 ลงมา และสมัครใจเข้าร่วมการทดลอง จำนวน 24 คน แล้วสุ่มอย่างง่ายเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบวัดพฤติกรรมเอื้อสังคมที่มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .25 – .69 และมีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ .95 และ 2) รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มที่มุ่งเน้นการกระทำเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมเอื้อสังคมของนิสิตนักศึกษา มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ดังนี้ 1) พฤติกรรมเอื้อสังคมโดยรวมอยู่ในระดับมาก (X = 3.68, S.D. = .47) และพฤติกรรมเอื้อสังคมรายด้านที่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ พฤติกรรมการช่วยเหลือผู้อื่น พฤติกรรมการเห็นใจผู้อื่น พฤติกรรมการให้ความร่วมมือ ส่วนพฤติกรรมการแบ่งปัน และพฤติกรรมการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม อยู่ในระดับปานกลาง 2) รูปแบบการปรึกษากลุ่มที่มุ่งเน้นการกระทำเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมเอื้อสังคมของนิสิตนักศึกษา พัฒนาจากการประยุกต์แนวคิดและเทคนิคของทฤษฎีต่างๆ ของการให้การปรึกษากลุ่มที่มุ่งเน้นการกระทำ ประกอบด้วย ทฤษฎีการให้คำปรึกษากลุ่มพฤติกรรมนิยม ทฤษฎีการให้คำปรึกษากลุ่มความคิดและพฤติกรรม และทฤษฎีการให้คำปรึกษาการเผชิญความจริง โดยมีขั้นตอนในการให้การปรึกษา 4 ขั้นตอน คือ ขั้นเริ่มต้น ขั้นดำเนินการ ขั้นยุติ และขั้นประเมินการให้การปรึกษากลุ่ม 3) การประเมินผลการใช้รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มที่มุ่งเน้นการกระทำเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมเอื้อสังคมของนิสิต พบว่า (1) พฤติกรรมเอื้อสังคมของนิสิตกลุ่มทดลองที่ได้รับการให้การปรึกษากลุ่มที่มุ่งเน้นการกระทำหลังการทดลองและก่อนการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อสิ้นสุดการติดตามผล และก่อนการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนเมื่อสิ้นสุดการติดตามผลและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 โดยค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมเอื้อสังคม หลังการทดลอง และเมื่อสิ้นสุดการติดตามผล โดยรวมอยู่ในระดับมากขึ้นกว่าก่อนทดลอง (2) ก่อนการทดลอง พฤติกรรมเอื้อสังคมของนิสิตกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน ส่วนพฤติกรรมเอื้อสังคมโดยรวมและรายด้านของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ระหว่างหลังการทดลอง และเมื่อสิ้นสุดการติดตามผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมเอื้อสังคมโดยรวมหลังการทดลอง และเมื่อสิ้นสุดการติดตามผล สูงกว่าพฤติกรรมเอื้อสังคมของกลุ่มควบคุม (3) ผลการสนทนากลุ่มเฉพาะ ภายหลังการทดลองนิสิตมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มที่มุ่งเน้นการกระทำ นิสิตสามารถแสดงความคิด ความรู้สึก และเกิดพฤติกรรมแห่งความเป็นมิตร กล้ายอมรับและเปิดเผยตนเอง เกิดมุมมองและแนวคิดใหม่ที่หลากหลาย เป็นประโยชน์ต่อกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ เป็นเหตุเป็นผล ปรับเปลี่ยนทัศนคติความเชื่อที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาตนเอง เสริมสร้างพฤติกรรมเอื้อสังคมให้เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมคำสำคัญ: พฤติกรรมเอื้อสังคม  การให้การปรึกษากลุ่มที่มุ่งเน้นการกระทำ  การให้การปรึกษากลุ่มThe purposes of this research were 1) to study the pro–social behavior of the faculty of public universities in Bangkok., 2) to develop an action group counseling model for enhancing pro–social behavior of public universities in Bangkok., and 3) to study the effect of the action group counseling model for enhancing pro–social behavior of the first year students of Srinakarinwirot university. The samples of the study included 2 group. The first group of the pro- social study consisted of 400 students. Those were selected by multi-stage random sampling from the population. The second group of the study was purposively selected from the first group. This second group consisted of 24 students whose pro – social behavior scores were lower than 50th percentile. They were then randomly selected into 2 groups, classified as an experimental group and a control group. Each group consisted of 12 students. The research instruments were 1) pro – social behavior scale with Item discrimination ranged from .25 – .69, and with reliability coefficient (alpha) of .95. and 2) an action group counseling model for enhancing pro – social behavior with Item Objective Congruence (IOC) of 1.00.The research results were as follows: are 1) The total mean score of pro–social behavior of 400 first year students of public universities in Bangkok were high (X = 3.68, S.D. = .47) The pro-social behavior factors were high of helping, emphatic concern and cooperating, and the pro-social behavior factors were average of sharing and give information. 2) The action group counseling model for enhancing pro–social behavior of the students included concepts and techniques of the behavioral group counseling, cognitive behavior group counseling, and reality group counseling. This model included initial stages, working stage, final stage, and evaluation stage. 3) The effectiveness evaluation result of action group counseling model for enhancing the pro–social behavior of the faculty of public universities in Bangkok Metropolis are (1) Between posttest and pretest, the difference was statistically significant at the .01 level. Follow- up and pretest significantly differed at the .05 level. And posttest and follow-up significantly differed at the .01 level. The mean scores of the pro–social behavior after the experiment group and Follow-up were higher than before the experiment (2) Statistically significant differences in pro–social behavior scores between the experimental group and control group were found after the experiment and Follow-up at .01 level. The mean scores of the pro–social behavior of the experimental group after the experiment and after the follow- up were higher than of the control group. (3) Focus group report of the experimental group showed that they were satisfied with the action group counseling model. They have learnt the process of group counseling encouraging feeling, behaviors, and empathy toward each other. It also promoted friendly and trusted atmosphere which encourage each students to express themselves to exchange experiences to the group. Students also were more willing and able to accept, identify and adjust their previous attitudes and behaviors that could potentially be obstacles to their self-development. Students could effectively adapt and utilize these skills in any real world situations.Keywords: Pro-Social Behavior, Action Group Counseling, Group Counseling

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

ณัชวดี จันทร์ฟอง, มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต Kasem Bundit University.

สาขาวิชาจิตวิทยา กลุ่มวิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตCounseling Psychology Program, Psychology, Kasem Bundit University.

ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์, มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต Kasem Bundit University.

สาขาวิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตPsychology, Kasem Bundit University.

ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา, มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต Kasem Bundit University.

สาขาวิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตPsychology, Kasem Bundit University.

Downloads

Published

2019-01-10

How to Cite

จันทร์ฟอง ณ., เกิดพิทักษ์ ผ., & ณ อยุธยา ป. ม. (2019). การพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มที่มุ่งเน้นการกระทำเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมเอื้อสังคมของนิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(20, July-December), 43–57. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/10842