ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลผลิตข้าวของเกษตรกรชานเมือง: กรณีศึกษาบริเวณคลองหกวา (FACTOR AFFECTING RICE YIELD OF SUBURB FARMER: CASE STUDY OF KLONG HOK WAH REGION)

Authors

  • วรรณา ประยุกต์วงศ์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ Mahidol University, Nakhonsawan Campus.

Abstract

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของเกษตรกรชานเมืองบริเวณคลองหกวา แบบแผนการผลิตข้าวของเกษตรกรชานเมือง และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลผลิตข้าวของเกษตรกรชานเมือง ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรที่จดทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และอยู่ในปริมณฑลกรุงเทพมหานคร เชื่อมต่ออำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ในทุกแขวงของชานเมืองกรุงเทพฯ และทุกหมู่บ้านในพื้นที่เชื่อมต่อในอำเภอลำลูกกา จำนวน 40 คน ทำการวิเคราะหข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย และร้อยละ ในแต่ละกลุ่มเกษตรกร ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุมากกว่า 60 ปี จบประถมศึกษา โดยเป็นนาเช่า มีเนื้อที่ถือครองเฉลี่ย 34 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นเจ้าของเงินทุนที่ใช้ในการปลูกข้าว แบบแผนการผลิตในการทำนา คือ ปลูกข้าวโดยซื้อเมล็ดพันธุ์ กข 47 และ กข 31 ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เป็นผู้จ้างแรงงานในการเพาะปลูกทุกขั้นตอน มีผลผลิตข้าวนาปรัง ในปีการผลิตปี 2557 อยู่ที่ 741 กิโลกรัมต่อไร ขายข้าวเปลือกได้ราคา 6,000-7,000 บาทต่อตัน โดยขายข้าวเปลือกให้พ่อค้าคนกลางในพื้นที่ และการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลผลิตข้าวต่อไร่ของเกษตรกรชานเมือง พบว่ากรรมสิทธิ์ที่ดินและจำนวนแรงงานในครัวเรือนส่งผลโดยตรงต่อผลผลิตต่อไร่ แสดงให้เห็นว่า แม้เกษตรกรชานเมืองเป็นเกษตรกรผู้จัดการคือจ้างเหมาแรงงานในการผลิตขั้นตอนต่างๆ แต่บทบาทของการจัดการแปลงนาก็ยังมีความสำคัญ หากเกษตรกรมีสมาชิกในครอบครัวเข้ามาช่วยดูแลย่อมทำให้ผลิตภาพข้าวเพิ่มสูงขึ้นคำสำคัญ: ผลผลิตข้าว  เกษตรกรชานเมือง  คลองหกวาThe objectives of this research were to study the general information of suburb farmer in Klong Hok Wah Region, to describe a production pattern of suburb farmer in Klong Hok Wah Region and to analyze factors affecting rice yield of suburb farmer. The population of this research was suburb farmer were registered by Agricultural Ministry in in Klong Hok Wah Region. The purposive sampling was applied in each village to cover whole region. 40 suburb farmers were selected as the sample size by purposive sampling methodology. Statistical methodologies were arithmetic mean, standard deviation as well as the average of rice product per rai in each category of suburb farmer. The research found that the majority of suburb farmers were men which were 50 years old average with the educational level of Pathomsuksa. The majority of production land was rented by suburb farmer which average land holding was 34 rai. The major capital of rice production was suburb farmer’s owner. The study of rice production pattern were to grow rice by buying a rice seed of RD 47 and RD 31, using chemical fertilizer and pesticide and having sub-contractors in every step of production process. The outputs of off-season rice production in the 2014 year were 741 kilogram per rai and were sold to a middleman at a price about 6,000-7,000 Baht per ton. The study of factor affecting rice product per rai of suburb farmers was land holding type and number of family member to help in farm. Although suburb farmers were a manager who hired sub-contractors to work on farm completely, there still was necessary for an extra family member, except himself to take care with their farm which made a rice product increased.Keywords: Rice Yield, Suburb Farmer, Klong Hok Wah

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

วรรณา ประยุกต์วงศ์, มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ Mahidol University, Nakhonsawan Campus.

มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์Mahidol University, Nakhonsawan Campus.

Downloads

Published

2018-08-21

How to Cite

ประยุกต์วงศ์ ว. (2018). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลผลิตข้าวของเกษตรกรชานเมือง: กรณีศึกษาบริเวณคลองหกวา (FACTOR AFFECTING RICE YIELD OF SUBURB FARMER: CASE STUDY OF KLONG HOK WAH REGION). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(19, January-June), 156–170. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/10524