กิจกรรมและเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชน ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (SYSTEM AND COMMUNITY ECONOMIC NETWORK FOLLOWING THE SUFFICIENCY ECONOMY PHILOSOPHY)
Abstract
บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้อย่างเป็นรูปธรรมผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของกลุ่มชุมชน และเพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของชุมชน โดยใช้พื้นที่ชุมชนบ้านปง 3 ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ศึกษา และใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) ผลการศึกษาพบว่าชุมชนบ้านปง 3 มีทั้งทุนวัตถุ ทุนมนุษย์ ทุนสังคม และทุนสิ่งแวดล้อม ซึ่งจัดได้ว่าเป็นปัจจัยหลักของการพัฒนาอย่างยั่งยืน สำหรับกลุ่มในชุมชนได้มีการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นไปตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้าที่เน้นความพอเพียงในระดับกลุ่มหรือองค์กร ซึ่งในการพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมการสร้างเครือข่าย ทางชุมชน นักพัฒนาในพื้นที่ และคณะนักวิจัยได้กำหนดเป้าหมายให้เกิดเครือข่ายในด้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการผลิตและการตลาดสินค้า OTOP และด้านสถาบันการเงินชุมชน ด้วยการจัดกิจกรรมศึกษาดูงาน และดำเนินกระบวนการฝึกวิเคราะห์และจัดทำแผนธุรกิจเสนอคณะวิจัยเพื่อจัดอบรมพัฒนาอาชีพหรือโครงการกิจกรรมพัฒนาชุมชน ภายหลังการฝึกอบรมได้มีการจัดทำแผนธุรกิจเพื่อการดำเนินการทดลองการผลิต และทดลองตลาดภายในชุมชน จนเป็นที่น่าพอใจ จึงได้จัดจำหน่ายส่งให้ชุมชนเครือข่าย ดังนั้นผลการทดสอบเพื่อยกระดับเบื้องต้น พบว่า การยกระดับเศรษฐกิจพอเพียงสู่ระดับที่สามเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ที่เน้นความพอเพียงในระดับเครือข่ายมีความเป็นไปได้สูงคำสำคัญ: เศรษฐกิจชุมชน เศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมและเครือข่ายThis study was a part of a research that aimed to promote concrete implementation of sufficiency economy through participatory learning process of community groups. Moreover, this paper also developed and increased competency. The study was conducted in Ban Pong 3, Intakhin Sub-District, Mae Tang District, Chiang Mai Province by using participatory action research. The results indicated that Ban Pong 3 had physical capital, human capital social capital and environment capital which were main factors of sustainable development.Besides, the economic activities of different community groups were concordant with the progressive sufficiency economy that emphasized the sufficiency at group or organization level. According to the potential development and network promotion, there was a cooperation between community, local developers and researchers to define targets and establish networks of sufficiency economy in various aspects such as production, marketing of OTOP products and community financial institutions. Observation visit was held to practice analysis process and prepare the business plan to the researchers to further vocational training or community development project. After that, the business plan was determined for production trial and market testing in the community until achieving satisfactory results.Then, the products were distributed to other community networks. Regarding the primary test results, therefore, it was highly feasible to shift the sufficiency economy to the third level as the progressive sufficiency economy which focused on the sufficiency at network level.Keywords: Community Economy, Sufficiency Economy, Activities and NetworkDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2018-08-21
How to Cite
บุญยะเสนา พ., & หิมะกลัส ว. (2018). กิจกรรมและเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชน ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (SYSTEM AND COMMUNITY ECONOMIC NETWORK FOLLOWING THE SUFFICIENCY ECONOMY PHILOSOPHY). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(19, January-June), 127–139. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/10522
Issue
Section
บทความวิจัย