ปัจจัยที่มีผลต่อการป่วยด้วยโรคเรื้อรัง (FACTORS RELATED TO CHRONIC ILLNESS)

Authors

  • พัทธนันท์ คงทอง กระทรวงสาธารณสุข Ministry of Public Health.

Abstract

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการป่วยด้วยโรคเรื้อรังของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลดอนช้าง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 20 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลดอนช้าง ตัวอย่างจากการสุ่มแบบเป็นระบบครั้งนี้มี 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มศึกษา คือ กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และกลุ่มเปรียบเทียบ คือ ประชาชนทั่วไป เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ด้วย Multiple Logistic regression และนำเสนอค่าความสัมพันธ์ด้วย Odds Ratio และช่วงเชื่อมั่น 95%ผลการวิเคราะห์พบว่า ปัจจัยต่างๆ กับการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน พบว่า เพศอายุ การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การออกแรงเคลื่อนไหวร่างกาย เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ส่วนดัชนีมวลกาย และการสูบบุหรี่ เป็นปัจจัยที่ไม่มีมีผลต่อการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value>0.05) เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน พบกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเพศหญิงมีโอกาสเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเป็น 1.63 เท่าของเพศชาย (95% CI : 1.21 – 2.19) การบริโภคอาหารที่ถูกต้องในระดับต่ำมีโอกาสเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเป็น 1.54 เท่าของการบริโภคอาหารที่ถูกต้องในระดับสูง (95% CI : 1.15 – 2.06)คำสำคัญ: โรคเรื้อรัง  ปัจจัยที่ส่งผลต่อการป่วยด้วยโรคเรื้อรัง  โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานThis is a retrospective research aiming to examine the factors related to chronic sickness of the residents in Donchang Subdistrict, Muang District, Khon Kaen Province. The research subjects included the residents whose ages were over 20 years old, living in Don Chang Subdistrict. The subjects systematic random sampling were divided into two groups which were the study group, including chronically ill patients and the comparison group, other residents. The data was collected using an interview form. The relation between different factors and getting high blood pressure and diabetes was analyzed using multiple logistic regressions. Also, odd ratio and 95% confidence interval were used to present the relation value.The results of the study on different factors and getting high blood pressure and diabetes showed that the variables including gender, age, diet consumption, exercising, and physical movement could result in getting diabetes and high blood pressure with statistical significance (p-value<0.05). However, body mass index and smoking were not statistically-significant variables to getting high blood pressure and diabetes (p-value<0.05). The analysis of the relation between different factors and getting high blood pressure and diabetes showed that female subjects had 1.6 times more risk in getting high blood pressure and diabetes than male subjects (95% CI : 1.21 – 2.19). Moreover, the low level of proper diet consumption had 1.54 times more risk in getting high blood pressure and diabetes than the high level of proper diet consumption (95% CI : 1.15 – 2.06).Keywords: Chronic Diseases, Factors Related to Chronic Sickness, High Blood Pressure and Diabetes

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

พัทธนันท์ คงทอง, กระทรวงสาธารณสุข Ministry of Public Health.

เขตสุขภาพที่ 7 สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุขRegional Provider Health Department 7, Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health.

Downloads

Published

2018-08-21

How to Cite

คงทอง พ. (2018). ปัจจัยที่มีผลต่อการป่วยด้วยโรคเรื้อรัง (FACTORS RELATED TO CHRONIC ILLNESS). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(19, January-June), 116–126. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/10521