การพัฒนาหลักสูตรสำหรับเด็กเร่ร่อนจังหวัดเชียงราย (CURRICULUM DEVELOPMENT FOR HOMELESS CHILDREN IN CHIANGRAI PROVINCE)

Authors

  • พัชรี ศรีสังข์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.
  • อรุณประเสริฐ ศรีวิชัยมูล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

Abstract

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย ได้แก่ พัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรสำหรับเด็กเร่ร่อนจังหวัดเชียงราย กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย 1) เด็กเร่ร่อนที่รวมกลุ่มพักอาศัยที่บ้านห้วยปลากั้ง และบ้านไทยสมุทร ซึ่งหารายได้เลี้ยงชีพบริเวณตลาดไนท์บาร์ซ่า อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย รอบที่ 1 จำนวน 23 คน และรอบที่ 2 จำนวน 24 คน และ 2) ครูประจำกลุ่มเด็กเร่ร่อน 6 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการพัฒนา ได้แก่ 1) หลักสูตรเด็กเร่ร่อน 2) คู่มือการใช้หลักสูตร 3) แผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบสะท้อนผลการใช้หลักสูตรสำหรับเด็กเร่ร่อนของครูประจำกลุ่ม 5) แบบสะท้อนผลความสามารถในการเรียนรู้หลักสูตรของเด็กเร่ร่อน และ 6) แบบบันทึกการสะท้อนผลของเด็กเร่ร่อนและครูประจำกลุ่ม และเครื่องมือที่ช่วยหาประสิทธิผลของหลักสูตร ได้แก่ 1) แบบสอบถามความสามารถในการเรียนรู้หลักสูตรของเด็กเร่ร่อน และ 2) แบบสอบถามการใช้หลักสูตรสำหรับเด็กเร่ร่อนจังหวัดเชียงรายของครูประจำกลุ่มที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ ด้านเทคโนโลยี ด้านหลักสูตรการสอน และด้านการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรการเก็บรวบรวมข้อมูลมีทั้งเก็บด้วยตนเองและให้ครูประจำกลุ่มช่วยเก็บ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบความแตกต่างของค่าคะแนนเฉลี่ยสถิติที (t-dependent test) และข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรสำหรับเด็กเร่ร่อนจังหวัดเชียงราย มีจำนวน 100 ชั่วโมง ประกอบด้วย (1) ผังมโนทัศน์ (2) ความเป็นมาและความสำคัญ (3) หลักการและจุดหมาย (4) กลุ่มเป้าหมาย (5) โครงสร้างหลักสูตร (6) เนื้อหาหลักสูตร (7) การจัดการเรียนรู้ (8) สื่อการเรียนรู้ และ (9) การวัดและประเมินผล และ 2) ประสิทธิผลของหลักสูตรหลังใช้หลักสูตร ค่าคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการเรียนรู้หลักสูตรของเด็กเร่ร่อนภาพรวมและทุกด้านอยู่ในระดับดียกเว้นทักษะความรู้พื้นฐานในการดำเนินชีวิตอยู่ในระดับพอใช้สูงกว่าก่อนใช้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าคะแนนเฉลี่ยความคิดเห็นของครูประจำกลุ่มในการใช้หลักสูตร จำแนกรายข้อทุกข้อและภาพรวมอยู่ในระดับดีและดีมาก ยกเว้นข้อผลการเรียนรู้ของเด็กเร่ร่อนด้านทักษะความรู้พื้นฐานในการดำเนินชีวิตอยู่ในระดับพอใช้คำสำคัญ: การพัฒนาหลักสูตร  เด็กเร่ร่อนThis research was aimed at developing and studying the effectiveness for homeless children curriculum in Chiangrai province. The target group of the research included 1) 23 and 24 homeless children in the first round and in the second round staying together at Huayplakung and Thaisamut Villages and earning their incomes at Night Baazar, Muang Chiangrai District, Chiangrai Province and 2) 6 teachers of the homeless children group in each round. The experiment tools were 1) a homeless children curriculum, 2) a curriculum handbook, 3) learning plan, 4) a reflective form of using the homeless children curriculum of the teachers, 5) a reflective form of studying the learning ability of the homeless children, and 6) a recording form of the reflective outputs of the children and group teachers. The measuring tools of the effectiveness for studying the curriculum were 1) a questionnaire on the learning ability of the homeless children and 2) a questionnaire of using the homeless children curriculum in Chiangrai Province of the teachers, which were validated by the experts in technological teaching curriculum and research and curriculum development.The data was collected by the researchers and the group teachers. The quantitative analysis included frequency, percentage, means, standard deviations, and t-dependent test. The qualitative analysis was content analysis.The research results found that 1) the curriculum had 100 hours, which was consisted of (1) mind map, (2) background and significance, (3) principals and objectives, (4) target, (5) curriculum structure, (6) curriculum contents, (7) knowledge management, and (8) learning media, and (9) assessment and evaluation, and 2) the effective of using the curriculum. After employing the curriculum, the overall means of the homeless children’s learning capacity was at the good level, except the means of the basic living skill of the homeless children was at the moderate level. The means of before and after employing the curriculum were different at the significant level of .05. The each and overall means of the teachers’ opinions and the learning outcomes of the homeless children were at the good level and excellent levels, except the means of the basic living skill of the learning outcome of the homeless children was at the moderate level.Keywords: Curriculum Development, Homeless Children

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

พัชรี ศรีสังข์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒFaculty of Social Sciences, Srinakharinwiroth University.

อรุณประเสริฐ ศรีวิชัยมูล, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒFaculty of Social Sciences, Srinakharinwiroth University.

Downloads

Published

2018-08-20

How to Cite

ศรีสังข์ พ., & ศรีวิชัยมูล อ. (2018). การพัฒนาหลักสูตรสำหรับเด็กเร่ร่อนจังหวัดเชียงราย (CURRICULUM DEVELOPMENT FOR HOMELESS CHILDREN IN CHIANGRAI PROVINCE). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(19, January-June), 102–115. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/10519