การคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม : กรณีศึกษาพื้นที่การปลูกทุเรียน จังหวัดนนทบุรี (PROTECTION OF AGRICULTURAL LAND: A CASE STUDY OF DURIAN PLANTATION AREA OF NONTHABURI PROVINCE)

Authors

  • พอพันธ์ อุยยานนท์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช Sukhothai Thammathirat Open University.
  • ศิริพร สัจจานันท์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี Bangkok Thonburi University.
  • ฐิติมา โห้ลายอง มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ Rajapruk University.
  • อภิญญา วนเศรษฐ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช Sukhothai Thammathirat Open University.

Abstract

การศึกษาเรื่อง “การคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม : กรณีศึกษาพื้นที่การปลูกทุเรียน จังหวัดนนทบุรี” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์ความต้องการของเกษตรกร สถานการณ์และปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่ปลูกทุเรียนในจังหวัดนนทบุรีและแนวโน้ม 2) เพื่อศึกษานโยบายมาตรการของภาครัฐในการอนุรักษ์/ฟื้นฟู/คุ้มครองพื้นที่ปลูกทุเรียน 3) เพื่อวิเคราะห์แนวทางและมาตรการที่เหมาะสมในการคุ้มครอง/อนุรักษ์พื้นที่ปลูกทุเรียนการศึกษานี้ใช้การศึกษาเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา คือเกษตรกรชาวสวนทุเรียน จังหวัดนนทบุรี โดยเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ในทุกอำเภอ จำนวน 309 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งมีการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องกับการดูแลพื้นที่ทุเรียน ปราชญ์ชาวบ้าน นักวิชาการ และจัดสนทนากลุ่มย่อย รวมทั้งการศึกษาข้อมูลจากแหล่งทุติยภูมิ แล้วนำมาวิเคราะห์เชิงพรรณนา วิเคราะห์ภาพแนวโน้มในอนาคตผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงมีความต้องการในการอนุรักษ์การเพาะปลูกทุเรียนนนท์ แม้ว่าจะเห็นว่าการปลูกทุเรียนมิได้กำไร แต่ก็จะยังคงทำอาชีพนี้ต่อไป และยังมองว่าแนวโน้มในอนาคตของการปลูกทุเรียนมีแนวโน้มลดลง โดยปัจจัยสำคัญเกิดจาก 3 เหตุผลหลักตามลำดับ ได้แก่ เด็กรุ่นใหม่ไม่สนใจทำอาชีพนี้ ราคาที่ดินสูงจนไม่คุ้มค่าที่จะใช้ที่ดินในการปลูกทุเรียนต่อไป และขาดการส่งเสริมอย่างจริงจังจากภาครัฐมาตรการของภาครัฐในการส่งเสริมอนุรักษ์และฟื้นฟูการปลูกทุเรียนมีการดำเนินการมากขึ้นอย่างชัดเจน หลังสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อปี พ.ศ. 2554 ที่สำคัญคือ การดำเนินตามโครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ การดำเนินการตามภารกิจของทั้ง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ร่วมกับภาคประชาชนมีการตั้งชมรมอนุรักษ์ทุเรียน ในทุกอำเภอ เป็นเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นศูนย์กลางในการรับความช่วยเหลือและให้ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐทำให้การดำเนินการคุ้มครองพื้นที่ปลูกทุเรียนมีความเข้มแข็งมากขึ้นแนวทาง/มาตรการที่น่าจะเกิดผลในการคุ้มครองพื้นที่ปลูกทุเรียนอย่างเป็นรูปธรรม คือ ให้ท้องถิ่นจัดทำโครงการนำร่องจัดเขตพื้นที่ (Zoning) ในการคุ้มครองพื้นที่ปลูกทุเรียน โดยให้เกษตรกรเข้าร่วมโดยความสมัครใจ โดยในพื้นที่จะมีมาตรการจูงใจต่างๆ เช่น มาตรการภาษี มาตรการลดต้นทุนการผลิต เทคนิคทางวิชาการ เป็นต้น หากโครงการนี้ประสบความสำเร็จก็อาจจะขยายพื้นที่ในการคุ้มครองให้มากขึ้นอีกคำสำคัญ: คุ้มครองพื้นที่  ทุเรียนนนท์  จังหวัดนนทบุรีThe objectives of this research were to: 1) analyze the needs of durian farmer, situations and other related factors determining the change and the trend in the land usage for durian cultivation in Nonthaburi province; 2) study the government policy and measures in preservation, rehabilitation and protection for the land usage for durian cultivation and 3) study various appropriate policies and measures in protection and preservation for durian land usage.The research was based on qualitative analysis. The target group was focused on the durian growing farmers in Nonthaburi Province. The key-informant of 309 farmers were selected by stratified random sampling. Various research methodologies were employed including interviews from the field survey including government officials, and the village philosophers academicians, Focus group technique was also undertaken. Various secondary sources were also collected. These were to be mapping for various scenario analysis.Results of the study were shown that:Most farmers still have the need for conservation planting durian. Although it is less profitable to grow durian, they will continue to do this. The future prospects of planting durian was on decline. Three major reasons were as follows. (1) Younger generation tended not to be interested in engaging in this occupation. (2) The high price of land was not worth enough it to use the land to grow durian, and (3) the lack of serious support from the government.The government's measures to promote the conservation and restoration of the durian growers have taken more clearly after the heavy flood took place in 2011. It was operating under the initiative of HRH Princess Sirindhorn. The implementation of the mission were strengthened by the cooperation of various sectors including Ministry of Agriculture and Cooperatives, local authorities, representatives from NGO, These led to the establishments of various Durian Conservation groups in every districts of Nonthaburi Provinces, in order to expanding network of learning and acting as help center and receiving suggestion to government sector. These measures will be more strengthening durian preservation.Various concretes of policies and measures to durian land preservation should be implemented including pilot project by zoning initiated by local community by volunteer in the project, together with offering incentives for durian farmers such as tax measures, reducing cost of production, and the advice of efficient technique of production. If successful, the protection of agricultural land should be expanded.Keywords: Protection of Agricultural Land, Nonthaburi Durian, Nonthaburi Province, Raja Tani

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

พอพันธ์ อุยยานนท์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช Sukhothai Thammathirat Open University.

สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชSchool of Economics, Sukhothai Thammathirat Open University.

ศิริพร สัจจานันท์, มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี Bangkok Thonburi University.

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีFaculty of Business Administration, Bangkok Thonburi University.

ฐิติมา โห้ลายอง, มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ Rajapruk University.

ภาควิชารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์Department of Public Administration, Rajapruk University.

อภิญญา วนเศรษฐ, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช Sukhothai Thammathirat Open University.

สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชSchool of Economics, Sukhothai Thammathirat Open University.

Downloads

Published

2018-08-20

How to Cite

อุยยานนท์ พ., สัจจานันท์ ศ., โห้ลายอง ฐ., & วนเศรษฐ อ. (2018). การคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม : กรณีศึกษาพื้นที่การปลูกทุเรียน จังหวัดนนทบุรี (PROTECTION OF AGRICULTURAL LAND: A CASE STUDY OF DURIAN PLANTATION AREA OF NONTHABURI PROVINCE). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(19, January-June), 88–101. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/10518