ปัจจัยการธำรงรักษาที่มีผลต่อการคงอยู่ของคนเก่งใน บจก. วิทยุการบินแห่งประเทศไทย (RETENTION FACTORS INFLUENCING INTENTION OF TALENTS TO STAY IN AEROTHAI)

Authors

  • ปฏิมา สุคันธนาค มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด Stamford International University.

Abstract

การวิจัยแบบผสมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเปรียบเทียบการคงอยู่ในองค์การของคนเก่งที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน 2) ศึกษาเปรียบเทียบความเห็นของผู้บริหารและพนักงานที่มีต่อการคงอยู่ในองค์การของคนเก่ง 3) ศึกษาเปรียบเทียบความเห็นของคนเก่งที่มีต่อปัจจัยการธำรงรักษา 4) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยการธำรงรักษาที่มีต่อการคงอยู่ในองค์การของคนเก่งในบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด โดยผู้วิจัยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นผู้บริหารและพนักงานที่ได้รับผลการประเมินสูงสุด 3 ลำดับแรกในระยะ 3 ปีที่ผ่านมาของแต่ละสังกัด มีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 136 คน และผู้ให้สัมภาษณ์ จำนวน 14 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการ LSD (Least Significant Difference) การทดสอบค่า t-test และการวิเคราะห์โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคุณ ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ภาพรวมของการคงอยู่ในองค์การของคนเก่งอยู่ในระดับมาก (X = 3.98) โดยการคงอยู่ด้านจิตใจมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (X = 4.09) การเปรียบเทียบคนเก่งที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันมีผลต่อการคงอยู่ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า เพศชายมีการคงอยู่ด้านจิตใจมากกว่าเพศหญิง คนเก่งที่มีอายุน้อย รายได้ต่อเดือน และตำแหน่งงานต่ำกว่า จะมีการคงอยู่ด้านจิตใจน้อยกว่าคนเก่งที่มีอายุมาก รายได้และตำแหน่งงานสูงกว่า ผู้บริหารมีความเห็นต่อการคงอยู่ในองค์การด้านจิตใจสูงกว่าพนักงาน แต่มีความเห็นต่อการคงอยู่ต่อเนื่องต่ำกว่าพนักงานการเปรียบเทียบความเห็นของคนเก่งที่มีต่อปัจจัยการธำรงรักษา พบว่า ปัจจัยด้านรางวัลและผลตอบแทนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (X = 3.89) อยู่ในระดับมาก ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในองค์การของคนเก่งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ปัจจัยด้านรางวัลและผลตอบแทนมีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในองค์การของคนเก่งในภาพรวม ในขณะที่ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานมีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในองค์การของคนเก่งด้านการคงอยู่ต่อเนื่อง และปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การมีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในองค์การของคนเก่งด้านบรรทัดฐานทางสังคมสอดคล้องกับผลการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งพบว่า สิ่งจูงใจที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างตั้งใจคงอยู่ในองค์การ ได้แก่ 1) ความสมดุลในชีวิตการทำงานและชีวิตด้านอื่นๆ 2) งานที่ท้าทายเพื่อความก้าวหน้า ความสำเร็จ และการได้รับการยอมรับ 3) รางวัลและค่าตอบแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรม 4) สัมพันธภาพที่ดีจากหัวหน้างานและเพื่อนร่วมงาน 5) การเรียนรู้และพัฒนาในส่วนที่สอดคล้องกับงานในสายอาชีพคำสำคัญ: การธำรงรักษาคนเก่ง  การตั้งใจคงอยู่  การบริหารจัดการคนเก่งThe objectives of this mixed method research were 1) to compare the level of organizational commitment of talents who have different personal factors 2) to compare the executive’s and employee’s opinions towards intention to stay 3) to compare talents’ opinions towards retention factors; and 4) to study influence of retention factors on retaining talented people in AEROTHAI. The questionnaires and in-depth interview questions were used for data collection from the samplesthat consisted of executives and employees who were the top three ranking in performance appraisal for the last three years. There were 136 respondents who filled in questionnaires, and 14 in-depth interview respondents. Statistical techniques used for data analysis are Frequency, Mean, Percentage, Standard Deviation, One-way ANOVA, Least-Significant Different, t-test, and Multiple Regression. The quantitative research findings showed that the overall of intention to stay of talented people fell in high level (X = 3.98) and the affective commitment had the highest average (X = 4.09). Based on comparison of talents who had different personal factors, there was no significant different opinion towards intention to stay holistically. Each aspect was found that men had higher levels of affective commitment than women. The talents with older ages, higher salaries and positions had higher levels of affective commitment. In addition, the executives’ opinions towards affective commitment were higher than the employees’ while the executives’ opinions towards the continuance commitment were less than the employees’. The comparison of Talent’s opinions towards retention factors was found that reward and remuneration factor had the highest average (X = 3.89), which was considered as high level. With respect to a statistically significant influence of retention factors, the result also revealed that the reward and remuneration had influence on holistic intention of talents to stay in AEROTHAI. Furthermore, the work environment factor had influence on the continuance commitment and organizational culture factor had influence on the normative commitment. It was consistent with the qualitative research findings, which found retention factors influencing intention of talents to stay in five aspects: 1) work-life balance 2) challenging work, success and recognition 3) fair and reasonable remuneration 4) relationships between supervisors and employees 5) learning and development in line with their roles and responsibilities.Keywords: Talent Retention, Intention to Stay, Talent Management

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

ปฏิมา สุคันธนาค, มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด Stamford International University.

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ดMaster of Public Administration, Stamford International University.

Downloads

Published

2018-08-20

How to Cite

สุคันธนาค ป. (2018). ปัจจัยการธำรงรักษาที่มีผลต่อการคงอยู่ของคนเก่งใน บจก. วิทยุการบินแห่งประเทศไทย (RETENTION FACTORS INFLUENCING INTENTION OF TALENTS TO STAY IN AEROTHAI). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(19, January-June), 71–87. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/10517