ความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีการสอนตามแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะของนักศึกษาครูเคมีก่อนและหลังการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

Authors

  • ทรงพล ผดุงพัฒนากูล Srinakharinwirot University
  • วันเพ็ญ ประทุมทอง
  • จรรยา ดาสา

Keywords:

PCK, Pedagogical inquiry/Content Knowledge, PICK, Pre-Service Chemistry Teachers.

Abstract

บทคัดย่อ การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะเป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศว่าสามารถพัฒนาการรู้วิทยาศาสตร์ให้กับพลเมืองได้ ซึ่งการที่ครูจะสามารถจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นจะต้องมีความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีการสอนตามแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะอย่างเพียงพอ ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีการสอนตามแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะของนักศึกษาครู สาขาการสอนเคมี ในรายวิชาการสอนเคมีก่อนและหลังการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 1 ภาคเรียน โดยใช้วิธีวิจัยแบบกรณีศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ สาขาการสอนเคมี ชั้นปีที่ 5 ของสถาบันผลิตครูแห่งหนึ่งในกรุงเทพ จำนวน 4 คนโดยใช้แบบบันทึกการสังเกตการปฏิบัติการสอนแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และเอกสารที่นักศึกษาครูสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลของนักศึกษา ในรายวิชาการสอนเคมี และขณะที่กำลังฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในภาคเรียนที่ 2 ของชั้นปีที่ 5 ในช่วงสัปดาห์ที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการตีความจากข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ สาขาการสอนเคมี ทั้ง 4 คน มีความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีการสอนตามแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะอย่างจำกัดในทุกๆ องค์ประกอบ ทั้งก่อนและหลังการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ซึ่งผลการวิจัยนี้สะท้อนว่าการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 1 ภาคเรียน ไม่สามารถพัฒนาความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีการสอนตามแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะให้กับนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ สาขาการสอนเคมีทั้ง 4 คนได้ พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าว - - -Pre-service chemistry teacher’s Pedagogical inquiry/Content Knowledge before and after the field experience ABSTRACT Inquiry-based instruction was suggested from many countries which can develop the citizen’s scientific literacy. In order to create and implement inquiry lessons effectively, science teachers should have sufficient Pedagogical inquiry/Content Knowledge for Inquiry-based instruction (PICK). Thus, the purpose of this research was to study the development of pre-service chemistry teacher’s PICK before and after the field experience. This study was a case study of 4 pre-service chemistry teachers who studying in the 5th year of a university situated in Bangkok. Data were collected during chemistry instruction course before the field experience and during the field experience in the second semester using field note for classroom observation, semi-structured interview, and documentary analysis of learning material provided by pre-service teachers. The research method was an interpretive research design. The results indicated that the four pre-service chemistry teachers had limited PICK in every component, both before and after a semester field experience. The results suggested that a semester of field experiences could not develop pre-service chemistry teachers’ PICK, and provided suggestions to solve the problem.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2018-06-29

How to Cite

ผดุงพัฒนากูล ท., ประทุมทอง ว., & ดาสา จ. (2018). ความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีการสอนตามแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะของนักศึกษาครูเคมีก่อนและหลังการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. Science Essence Journal, 34(1), 225–246. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/sej/article/view/9789