การวิเคราะห์อนุภาคซิลเวอร์นาโนปริมาณต่ำที่รวดเร็วในตัวกลางที่เป็นของเหลวโดยใช้สารเทียบสีที่มีความจำเพาะ
Keywords:
Silver nanoparticles (AgNPs), Dithizone, Complex, Colorimetric sensors, Aqueous mediaAbstract
บทคัดย่อ ปัจจุบันเทคนิคการเทียบสี (colorimetric sensors) ที่มีความง่าย รวดเร็ว และมีความไวสูงเป็นเทคนิคที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางสำหรับการตรวจวิเคราะห์โลหะไอออนในสิ่งแวดล้อมทางน้ำ อย่างไรก็ตามอนุภาคซิลเวอร์นาโน (AgNPs) มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภค เนื่องจากผลการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ดังนั้นความเสี่ยงของการได้รับพิษของอนุภาคซิลเวอร์นาโนที่เกิดจากการปลดปล่อยลงสู่สภาวะแวดล้อมทางน้ำเป็นสิ่งกังวลที่สำคัญ ไดไทโซนลิแกนด์เป็นสารประเภทคีเลต (chelating reagents) ที่สามารถทำปฏิกิริยากับโลหะไอออนเกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อนที่มีความเสถียร ดังนั้นในการศึกษานี้ได้เลือกใช้ไดไทโซโทนเพื่อตรวจวิเคราะห์อนุภาคซิลเวอร์นาโนในสารละลายที่เป็นของเหลว รวมทั้งการศึกษาความจำเพาะของอนุภาคซิลเวอร์นาโนเปรียบเทียบกับโลหะไอออนอื่นๆ (Na+,K+,Cu2+,Mg2+,Ba2+,Mn2+,Fe3+,Co2+,Ni2+,Cu2+,Ag+,Zn2+,Cd2+,Hg2+ และ Pb2+) ที่ความเข้มข้น 1.0 x 10-5 โมลาร์ จากผลการทดลองพบว่าเมื่อสารละลายไดไทโซนทำปฏิกิริยากับอนุภาคซิลเวอร์นาโนและโลหะไอออนจะเกิดการเปลี่ยนแปลงสีจากสีเขียวเป็นสีส้ม ในกรณีสารประกอบเชิงซ้อนอนุภาคซิลเวอร์นาโนกับไดไทโซนเท่านั้น โดยมีการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 477 นาโนเมตร และความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถตรวจวัดได้เท่ากับ 0.071 มิลลิกรัมต่อลิตร ดังนั้นวิธีนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการตรวจวิเคราะห์อนุภาคซิลเวอร์นาโนในตัวอย่างจริง - - - Rapid, low level determination of silver nanoparticles in liquid media using sensitive colorimetric reagents ABSTRACT Recently, a simplicity, rapidity, high sensitivity, and selectivity colorimetric sensors are widely investigating for heavy metal ions on the aquatic environment. However, silver nanoparticles (AgNPs) are increasing utilization in consumer products due to its antibacterial effect. Therefore, the potential risk related to their short- and long-term toxicity, that the release of AgNPs in the aquatic environment is of major concern. Dithizone is one of the most considered effective chelating reagents for metal ions with the stable complexes. In this study, the selective colorimetric sensor of dithizone was selected for AgNPs detection in aqueous media. The selectivity towards AgNPs compared with the other metal ions ( Na+, K+, Cu2+, Mg2+, Ba2+, Mn2+, Fe3+, Co2+, Ni2+, Cu2+, Ag+, Zn2+, Cd2+, Hg2+ and Pb2+) were investigated with the concentration of 1.0 x 10-5 M metal ions. The results showed that a distinct color change from green to orange was noticed only in the case of AgNPs-dithizone complexes formation, with a maximum wavelength of 477 nm. The detection limit of the present method for AgNPs is 0.071 mg/L. Therefore, a remarkable feature of this method can be applied to the determination of AgNPs in the real samples.Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2018-06-29
How to Cite
วะสุกัน น., มณีรัตนโชติ ร., กูโน ม., & ศรีสังข์ ส. (2018). การวิเคราะห์อนุภาคซิลเวอร์นาโนปริมาณต่ำที่รวดเร็วในตัวกลางที่เป็นของเหลวโดยใช้สารเทียบสีที่มีความจำเพาะ. Science Essence Journal, 34(1), 167–186. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/sej/article/view/9736
Issue
Section
Research Article