การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่มร่วมกับการเรียนด้วยตนเองเพื่อพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุและสมบัติของธาตุ สำหรับนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 1
Keywords:
Group process, Self-directed leaning, Electron configuration, Properties of elementsAbstract
บทคัดย่อการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนิสิตที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่มร่วมกับการเรียนด้วยตนเองโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปเรื่องการจัดเรียงอิเล็กตรอนและสมบัติของธาตุ และศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการจัดเรียงอิเล็กตรอนและสมบัติของธาตุเปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา คือ นิสิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 36 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. แผนการจัดการเรียนรู้ 2. บทเรียนสำเร็จรูปเรื่องการจัดเรียงอิเล็กตรอนและสมบัติของธาตุ และ 3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองโดยมีแบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียวมีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และ การทดสอบค่าทีแบบตัวอย่างไม่อิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีคะแนนเฉลี่ยของการสอบหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 80.25 และคะแนนเฉลี่ยการสอบก่อนเรียนเท่ากับ 42.09 ซึ่งคะแนนเฉลี่ยของการสอบหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่ตั้งไว้ - - - Learning Management Using Group Process and Self-directed Learning to Develop Learning Achievements on Electron Configuration and Properties of Elements for First-Year Undergraduate Students ABSTARCT The purposes of this study were to compare student’s learning achievements on electron configuration and properties of elements before and after the instruction through group process learning and self-directed learning using the programmed lesson, and to examine the students’ learning achievements to meet the criteria of 70%. The sample group was one classroom (36 students) of the first-year undergraduate science students, major of general science by purposive sampling. The research tools consisted of 1) the lesson plans, 2) the programmed lesson on electron configuration and properties of elements, and 3) the achievement test. A quasi-experimental research of one group pre-test post-test design was used in this study. The statistics used to analyze the data were mean, standard deviation, percentage, and dependent samples t-test. The result indicated that the mean scores of the learning achievement of posttest were higher than those of pretest at the statistically significant .01 level. The posttest mean score was 80.25%, and pretest mean score was 42.09%, in which the posttest scores were higher than specified criterion at 70%.Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2018-04-11
How to Cite
คูเจริญไพศาล น. (2018). การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่มร่วมกับการเรียนด้วยตนเองเพื่อพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุและสมบัติของธาตุ สำหรับนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 1. Science Essence Journal, 34(1), 207–224. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/sej/article/view/9177
Issue
Section
Research Article