การศึกษาการใช้คลอรีนฆ่าเชื้อโรคและคุณลักษณะของน้ำทิ้งของสะพานปลา : ตลาดปลาสหกรณ์ประมงแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม

Authors

  • นาฎอนงค์ เจริญสันติสุข
  • เกษม จันทร์แก้ว
  • อรอนงค์ ผิวนิล
  • ธนิศร์ ปัทมพิฑูร

Keywords:

สะพานปลา, ฆ่าเชื้อ, คลอรีน, น้ำเสีย, fish landing site, sanitizing, chlorine, wastewater

Abstract

บทคัดย่อ การค้าขายสัตว์น้ำบนสะพานปลาส่งผลให้เกิดน้ำเสียปริมาณมากในแต่ละวัน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้คลอรีนในการฆ่าเชื้อโรคและวิเคราะห์คุณลักษณะของน้ำเสียจากสะพานปลา “ตลาดปลาสหกรณ์ประมงแม่กลอง” จังหวัดสมุทรสงคราม โดยเก็บตัวอย่างน้ำด้วยวิธีแบบจ้วง (grab sampling) จาก 2 แหล่ง ในช่วงเดือนกันยายน–ตุลาคม พ.ศ.2558 คือ 1) น้ำใช้จากบ่อพักน้ำ และ 2) น้ำเสียจากรางระบายน้ำทิ้งก่อนและหลังฆ่าเชื้อโรคด้วยคลอรีนในสะพานปลา ผลการศึกษาพบว่าน้ำที่ใช้มีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคที่กำหนดให้ใช้ในสะพานปลาและพบการปนเปื้อน Total Coliform และ Fecal Coliform สำหรับการฆ่าเชื้อโรคในสะพานปลาจะใช้สารละลายคลอรีนประมาณ 13 m3/วัน และมีความเข้มข้นคลอรีนอิสระเฉลี่ย 4.43 mg/L ซึ่งต่ำกว่าค่าแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข (100 mg/L) เมื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะน้ำเสียก่อนและหลังฆ่าเชื้อโรคพบว่ามีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้ง คุณภาพน้ำเสียก่อนและหลังฆ่าเชื้อโรคด้วยคลอรีนมีค่า pH, EC, salinity, COD, BOD, TKN และ TDS แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และค่า BOD และ TKN ในน้ำเสียลดลงหลังจากฆ่าเชื้อโรคด้วยคลอรีนรวมทั้งไม่พบคลอรีนคงเหลืออยู่ในน้ำเสีย - - - The Study on Using Chlorine Sanitization and Wastewater Characteristics of Fish Landing Site: Maeklong Fishery Cooperative Fish Marketat Samut Songkhram Province ABSTRACT Everyday enormous amount of wastewater was discharged from fish landing site. The aim of this study was to investigate chlorine sanitization and wastewater characteristics at Maeklong Fishery Cooperative Fish Market at Samut Songkhram province. Samples were collected by grab sampling from 2 sources during September to October 2015: 1) water samples from pond and 2) wastewater samples from wastewater collection point of open channel sewer before and after chlorine sanitization at fish landing site. The results showed that the pond water quality in the fish landing site was lower than drinking water standard and contaminated with Total Coliform and Fecal Coliform. Quantity of chlorine solution was about 13 m3/day and the chlorine concentration for sanitizer was approximately 4.43 mg/L which lower than the recommendation from Ministry of Public Health (100 mg/L). The wastewater quality before and after sanitizing were lower than the standards for effluent drainage control. Including, the values of pH, EC, Salinity, COD, BOD, TKN and TDS of wastewater samples before and after chlorine sanitization were significantly different (p<0.05). Moreover, the values of BOD and TKN decreased after chlorine sanitization and the residual chlorine was not detected in wastewater.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

เจริญสันติสุข น., จันทร์แก้ว เ., ผิวนิล อ., & ปัทมพิฑูร ธ. (2017). การศึกษาการใช้คลอรีนฆ่าเชื้อโรคและคุณลักษณะของน้ำทิ้งของสะพานปลา : ตลาดปลาสหกรณ์ประมงแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม. Science Essence Journal, 33(1), 59–72. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/sej/article/view/8933