การพัฒนาทักษะการตั้งคำถามทางวิทยาศาสตร์ของนิสิตครูวิทยาศาสตร์โดยใช้กิจกรรมสืบเสาะลูกโป่งน้ำแข็งและการโค้ชเพื่อการรู้คิดในรายวิชาทักษะการจัดการเรียนรู้เฉพาะสาขาวิชา

Authors

  • อาทิตยา จิตร์เอื้อเฟื้อ General Science Program, Faculty of Education, Suratthani Rajabat University, Muang, Suratthani 84100, Thailand

Keywords:

Ice Balloon Activity, Inquiry-Based Learning, Cognitive Coaching, Formulating Scientific Question, Science Student Teacher

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการตั้งคำถามทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังเรียนของนิสิตครูวิทยาศาสตร์ด้วยกิจกรรมการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (กิจกรรมลูกโป่งน้ำแข็ง:  Ice Balloon Activity) และการโค้ชเพื่อการรู้คิดในรายวิชาทักษะการจัดการเรียนรู้เฉพาะสาขาวิชา ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน โดยเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ กลุ่มที่ศึกษาได้แก่ นิสิตครูวิทยาศาสตร์ชั้นปีที่ 4 จำนวน 32 คน ของมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่งในภาคใต้ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ แบบบันทึกข้อคำถามทางวิทยาศาสตร์สำหรับนิสิตครู และแบบวิเคราะห์คำถามทางวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้ผู้วิจัยให้นิสิตครูเขียนคำถามวิทยาศาสตร์ที่สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ทั้ง 7 สาระ เป็นรายบุคคลในช่วงสุดท้ายหลังฝึกทักษะปฏิบัติการสอนวิทยาศาสตร์เสร็จสิ้นแต่ละสาระ คำถามทั้งหมดถูกรวบรวมและวิเคราะห์เนื้อหาความเป็นไปได้ในการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์โดยการจัดกลุ่มด้วยวิธีการแบบอุปนัยตามรูปแบบของคำถาม ผู้วิจัยเก็บข้อมูลเป็นเวลา 9 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 6 ชั่วโมง รวม 54 ชั่วโมง ผลการวิจัยพบว่า นิสิตครูวิทยาศาสตร์มีความสามารถในการตั้งคำถามที่นำไปสู่การสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนเรียน (45.02% ของคำถามทั้งหมดเป็นคำถามที่นำไปสู่การสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์จากเดิมมีเพียง 17.14% เท่านั้น) โดยคำถามส่วนใหญ่จัดเป็นคำถามเกี่ยวกับการสำรวจ และคำถามเกี่ยวกับเหตุและผลตามลำดับ - - - Developing Questioning Skills of Science Student Teachers Using Ice Balloon Inquiry Activity and Cognitive Coaching in the Class of Learning Management Skills for a Subject-Specific AreaABSTRACTThis research aimed to study the ability to formulating scientific questions of science student teachers before and after scientific inquiry activity (The Ice Balloon Activity) and cognitive coaching in learning management skills for a subject-specific area class. The researcher employed classroom action research by collecting both quantitative and qualitative data. The participants were 32 fourth year science student teachers from a teacher preparation institution in Southern part of Thailand. The research instruments consisted of scientific questions recording form for science student teachers and scientific question analysis form. The science student teachers were asked to individually write down their scientific questions that related to each of seven science strands in the final stages of class after microteaching and practicing science teaching skills. All questions were collected, analyzed and grouped through inductive process of scientific inquiry questions. Collecting data took fifty four hours over nine weeks (six hours per week).The results showed that the percentage of scientific investigable questions written by science student teachers increased after scientific inquiry activity and cognitive coaching (17.14% in the before lessons and 45.02% in the after lesson). Moreover, most questions were survey questions and cause and effect questions.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2018-04-11

How to Cite

จิตร์เอื้อเฟื้อ อ. (2018). การพัฒนาทักษะการตั้งคำถามทางวิทยาศาสตร์ของนิสิตครูวิทยาศาสตร์โดยใช้กิจกรรมสืบเสาะลูกโป่งน้ำแข็งและการโค้ชเพื่อการรู้คิดในรายวิชาทักษะการจัดการเรียนรู้เฉพาะสาขาวิชา. Science Essence Journal, 34(1), 187–206. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/sej/article/view/8882