การกำหนดพื้นที่ลาดตระเวนโดยทำนายจากการกระจายตัวของชะนีมงกุฎ ในลุ่มน้ำตาหริ่ว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว ประเทศไทย

Authors

  • อินทนนท์ กลศาสตร์เสนี

Keywords:

ชะนีมงกุฎ เขาสอยดาว การทำนายแผนที่การกระจายตัว Pileated Gibbon, Khao Soi Dao, Distribution map prediction

Abstract

บทคัดย่อ การกำหนดพื้นที่ที่มีการล่าสัตว์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเพิ่มความแม่นยำของการลาดตระเวนซึ่งทำได้ยากในพื้นที่ที่มีการลาดตระเวนจำกัด ในขณะที่การสำรวจประชากรชะนีสามารถทำได้ในงบประมาณและกำลังคนที่จำกัด ดังนั้นการประยุกต์ใช้การกระจายตัวของชะนีในการทำนายพื้นที่ดังกล่าวน่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของพื้นที่อนุรักษ์ให้มากขึ้น การกระจายตัวของชะนีมงกุฎในลุ่มน้ำตาหริ่วเหนือและใต้ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาวได้ถูกสำรวจโดยวิธีการฟังเสียง ตำแหน่งที่พบชะนีมงกุฎได้ถูกนำไปอนุมานถึงพื้นที่อาศัยของชะนีมงกุฎและสร้างแผนที่ที่ทำนายถึงโอกาสที่น่าจะมีชะนีมงกุฎอาศัยอยู่ในแต่ละลุ่มน้ำโดยทำนายจากความสูงและความชันของพื้นที่ ผลการวิเคราะห์พบพื้นที่ที่น่าจะมีการล่าสัตว์ 2 พื้นที่ และพื้นที่ที่น่าจะมีการฟื้นตัวของประชากร 1 พื้นที่ในลุ่มน้ำตาหริ่วเหนือ สำหรับลุ่มน้ำตาหริ่วใต้ พื้นที่บริเวณหุบเขาถูกจัดเป็นพื้นที่ที่มีการล่าสัตว์และได้พบพื้นที่ที่น่าจะมีการฟื้นตัวของประชากรอีก 2 พื้นที่ พื้นที่ที่ทำนายส่วนใหญ่มักตรงกับการล่าและการฟื้นตัวของประชากรที่เกิดขึ้นจริง จึงมีแนวโน้มว่าวิธีการทำนายนี้น่าจะสามารถนำไปใช้ได้จริงโดยเฉพาะกับพื้นที่ที่มีการลาดตระเวนน้อยและขาดแคลนข้อมูลเกี่ยวกับการล่าสัตว์ ABSTRACT Hunting area determination is necessary for increasing the precision of patrol which is difficult to be conducted if the patrol is limited. While survey on gibbon population can be conducted under the limited budget and man power, applying distribution of gibbon for predicting on hunting area should be explored. Pileated Gibbon (Hylobates pileatus) distributions in North and South Ta-riu watershed, Khao Soi Dao wildlife sanctuary were surveyed using Triangulation method by listening to the duet calls. Center of the occupied plots were used to estimate the occupied area and simulate the prediction map that predicted probability of occupation based on elevation and slope of the watershed. Two possible hunting areas and one possible re-colonizing area were found in North Ta-riu watershed. The valley of South Ta-riu watershed was the hunting area. Two possible re-colonizing areas were found in the watershed. Most predictions from this method were relevant to the real situations. This method should be able to use in the area with limited patrol and information on hunting pressure.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

กลศาสตร์เสนี อ. (2016). การกำหนดพื้นที่ลาดตระเวนโดยทำนายจากการกระจายตัวของชะนีมงกุฎ ในลุ่มน้ำตาหริ่ว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว ประเทศไทย. Science Essence Journal, 32(2), 151–160. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/sej/article/view/8285