ตัวแบบพยากรณ์ราคาปาล์มน้ำมัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี Forecasting Model for Oil Palm Prices in Suratthani Province

Authors

  • วรางคณา กีรติวิบูลย์
  • ปรีดาภรณ์ กาญจนสำราญวงศ์

Keywords:

ปาล์มน้ำมัน บอกซ์-เจนกินส์ การทำให้เรียบแบบเอกซ์โพเนนเชียล การพยากรณ์รวม เปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์, Box-Jenkins, exponential smoothing, combined forecasting, mean absolute percentage error, correlation coefficient

Abstract

จุดประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้คือ การสร้างตัวแบบพยากรณ์ที่เหมาะสมที่สุดของราคาปาล์มน้ำมัน(ปาล์มทะลายน้ำหนัก 15 กิโลกรัมขึ้นไป) โดยใช้ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 8 จังหวัดสุราษฎร์ธานีตั้งแต่เดือนมกราคม 2544 ถึงเดือนตุลาคม 2555 จำนวน 142 ค่า ผู้วิจัยได้แบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ชุด ข้อมูลชุดที่ 1 ตั้งแต่เดือนมกราคม 2544 ถึงเดือนพฤษภาคม 2555 จำนวน 137 ค่า สำหรับการสร้างตัวแบบพยากรณ์ด้วยวิธีบอกซ์-เจนกินส์ วิธีการทำให้เรียบแบบเอกซ์โพเนนเชียลด้วยวิธีของโฮลต์ วิธีการทำให้เรียบแบบเอกซ์โพเนนเชียลด้วยวิธีของบราวน์วิธีการทำให้เรียบแบบเอกซ์โพเนนเชียลที่มีแนวโน้มแบบ damped และวิธีการพยากรณ์รวมข้อมูลชุดที่ 2 ตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม 2555 จำนวน 5 ค่าสำหรับการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของตัวแบบพยากรณ์โดยใช้เกณฑ์เปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ยที่ต่ำที่สุดและเกณฑ์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลจริงกับค่าพยากรณ์ที่สูงที่สุด ผลการศึกษาพบว่าจากวิธีการพยากรณ์ทั้งหมดที่ได้ศึกษาวิธีการพยากรณ์รวมเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดThe purpose of this research is to construct the mostsuitable forecasting model for oil palm prices from palm bunch which is biggerthan 15 kilograms.The oil palm prices gathered from the 8th Regional Office ofAgricultural Economics, Suratthani province during January, 2001 to October, 2012 of 142 values are used and divided into 2categories. The first category has 137 values which are prices data during January, 2001 to May, 2012. For the methods that use to construct the forecastingmodel are Box-Jenkins, Holt’s exponential smoothing, Brown’s exponentialsmoothing, dempedtrend exponential smoothing, and combined forecasting. The second category has 5 values which are prices data during June to October,2012 for comparison the effective of forecasting models by the criteria of minimummean absolute percentage error and maximum correlation coefficient betweenexisting values and forecasted values. It found that for allforecasting methods that have been studied, the combinedforecasting is the most effective method.

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

วรางคณา กีรติวิบูลย์

ปรีดาภรณ์ กาญจนสำราญวงศ์

Downloads

Published

2013-11-09

How to Cite

กีรติวิบูลย์ ว., & กาญจนสำราญวงศ์ ป. (2013). ตัวแบบพยากรณ์ราคาปาล์มน้ำมัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี Forecasting Model for Oil Palm Prices in Suratthani Province. Science Essence Journal, 29(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/sej/article/view/3613