ผลของการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila ต่อค่าทางโลหิตวิทยาในปลาดุกลูกผสม (Clarias macrocephalus × C. gariepinus) และการทดสอบความไวของเชื้อต่อยาปฏิชีวนะ

Authors

  • เอกพล วังคะฮาต Mahasarakham University

Keywords:

Aermonas hydrophila, hybrid catfish, hematology, antibiotic drugs, ปลาดุกลูกผสม, โลหิตวิทยา, ยาปฏิชีวนะ

Abstract

บทคัดย่อการศึกษาผลของการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila ในปลาดุกลูกผสมโดยการประเมินค่าโลหิตวิทยาและการทดสอบความไวของเชื้อต่อยาปฏิชีวนะ พบว่าปลาดุกลูกผสมที่ฉีดเชื้อเข้าช่องท้องที่ระดับความเข้มข้น 1x108 และ 1x109 cfu/ml มีจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวรวม (TWBC) เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปลาดุกลูกผสมที่ถูกฉีดด้วยน้ำเกลือ 0.5% (กลุ่มควบคุม) แต่ปริมาณเซลล์เม็ดเลือดแดงรวม (TRBC) ไม่มีความแตกต่างกันในปลาทั้ง 3 กลุ่มทดลอง นอกจากนี้พบว่าค่าเปอร์เซ็นต์เซลล์เม็ดเลือดแดงอัดแน่น (PCV) ค่าความเข้มข้นของฮีโมโกลบิน (Hb) ปริมาตรของเม็ดเลือดแดงเฉลี่ย (MCV) ค่าปริมาณเฉลี่ยของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง (MCH) และค่าความเข้มข้นเฉลี่ยของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง (MCHC) ในกลุ่มปลาที่ได้รับเชื้อทั้ง 2 ระดับมีค่าลดลง และผลจากการทดสอบฤทธิ์ของยาปฎิชีวนะต่อการยับยั้งเชื้อพบว่ายาปฏิชีวนะที่มีความไวและสามารถยับยั้งเชื้อ A. hydrophila ได้ดี ได้แก่ Ceftriaxone, Norfloxacin, Ampicillin, Cloxacillin และ Meticillin  - - -  Effect of Aeromonas hydrophila Infection on Hematological Value in Hybrid Catfish (Clarias macrocephalus × C. gariepinus) and Sensitivity Test to Antibiotic Drugs  ABSTRACT Effect of Aeromonas hydrophila infection on hematological value in hybrid catfish and the sensitivity to antibiotic drugs were studied. Fish infected with A. hydrophila (1x108 and 1x109 cfu/ml) via intraperitoneal injection were compared with control fish injected with 0.5% NaCl. The results found that total white blood cell (TWBC) of both infected groups were increased, while total red blood cell (TRBC) was not different between groups. Pack cell volume (PCV) and the hemoglobin concentration (Hb) of infected fish were decreased. Furthermore, mean corpuscular volume (MCV), mean corpuscular hemoglobin (MCH) and mean corpuscular hemoglobin concentration (MCHC) of both infected fish were also decreased. This study showed that antibiotic drugs including Ceftriaxone, Norfloxacin, Ampicillin, Cloxacillin and Meticillin could potentially inhibit A. hydrophila.

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

เอกพล วังคะฮาต, Mahasarakham University

Division of Fisheries, Department of Agricultural Technology, Faculty of Technology,

Downloads

Published

2018-06-29

How to Cite

วังคะฮาต เ. (2018). ผลของการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila ต่อค่าทางโลหิตวิทยาในปลาดุกลูกผสม (Clarias macrocephalus × C. gariepinus) และการทดสอบความไวของเชื้อต่อยาปฏิชีวนะ. Science Essence Journal, 34(1), 151–166. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/sej/article/view/10083