การปรับตัวของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)ศึกษาการปรับตัวของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก2) เปรียบเทียบการปรับตัวของนักศึกษาจำแนกตามเพศ คณะ และชั้นปี และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปรับตัวของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสำรวจการปรับตัววิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบค่าทีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และสัมประสิทธิ์สัมพันธ์เพียร์สัน ผลพบว่านักศึกษามีการปรับตัวโดยรวมระดับมาก โดยมีการปรับตัวด้านการเรียน ด้านสัมพันธภาพกับอาจารย์ และด้านสัมพันธภาพกับเพื่อน ระดับมาก ส่วนการปรับตัวด้านกิจกรรมของมหาวิทยาลัย และด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัยระดับปานกลาง นักศึกษาเพศชายและเพศหญิงมีการปรับตัวโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 นักศึกษาที่ศึกษาอยู่ในคณะแตกต่างกันมีการปรับตัวโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 นักศึกษาชั้นปีแตกต่างกันมีการปรับตัวโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปรับตัวโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 คำสำคัญ: การปรับตัว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก ABSTRACT The purpose of this research were 1) to study the adjustment of students in Rajamangala University of Technology Lanna Tak. 2) to compare the adjustment of students classified by genders, faculties and levels and 3) to study the relationship between academic achievement and adjustment of students. The samples consisted of 350 students during the first semester of the 2016academicyear.The research instrument was the adjustment questionnaire. Data analysis used t- test, One-way Analysis of Variance and Pearsonproduct moment correlation coefficient. The research results found that the adjustment of students in overall was at high level. When each aspect was considered, it was found that the adjustment of the students in the aspect of academic, teachers’ relationship and friends’ relationship were at high level but aspect of university’s activities and university’s environment were at moderate level. There were different adjustment between different genders and levels in overall at the significant level of .01.There was different adjustment between different faculties in overall at the significant level of .05.We also found that academic achievement was positively correlated with students’ adjustment at the significant level of .01. Keywords: Adjustment, Rajamangala University of Technology LannaTak
Article Details
How to Cite
นิยมธรรม อ., เทพมณี ม., & ทองไทย ว. (2017). การปรับตัวของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 12(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/9842
Section
บทความวิจัย (Research Articles)